ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

กิจกรรมเคารพธงชาติ

ชาติคือสิ่งที่ทุกคนต้องรักและเทิดทูน   เพราะเป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกราช เป็นอิสระและความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนจึงรักและหวงแหนชาติของตน     คนไทยรับรู้เรื่องชาติของเราได้จากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี สัญลักษณ์อีกอย่างที่สำคัญของชาติ คือ  ธงชาติ ธงชาติเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของชาติในการติดต่อกับประเทศอื่น ๆการร้องเพลงชาติก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยึดมั่น ความผูกพัน ความภาคภูมิใจที่มีต่อประเทศชาติของตน

กิจกรรมทางศาสนา

1. ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดี และเมื่อศาสนิกชนเป็นคนดีแล้วสังคมก็ย่อมจะปราศจากความเดือดร้อน

  2. ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งจรรยาธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และหากบุคคลในสังคม

  3. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะศาสนิกชนสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามแบบอย่างของพระศาสดา หรือปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา

  4. ศาสนาจะช่วยให้มนุษย์ทราบว่าสิ่งใดดีชั่ว ถูกผิด ตามมาตรฐานของศาสนานั้น ๆ และทราบถึงผลแห่งการกระทำนั้น ๆ เช่น คำสอนเรื่องหลักกรมในพระพุทธศาสนา ว่าทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

  5. ศาสนาเป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ และถ่ายทอดวิทยาการ เนื่องจากจะเป็นแหล่งความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ และถ่ายทอดศาสตร์เหล่านั้นไปสู่มนุษย์ในสังคม ความรู้ทางการแพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การช่าง การดนตรี และหัตถกรรม เป็นต้น

  6. ศาสนาเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงในการปกครองประเทศ เช่น พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและดำเนินนโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ

  7. ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อปุถุชนเกิดความทุกข์ร้อนใจ กล่าวคือ เมื่อคนเราเกิดความทุกข์กายและใจก็ย่อมจะหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาคือการนำหลักธรรมทางศาสนาที่คนเคารพนับถือมาเป็นที่พึ่งทาใจ  และนำหลักธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา 

พระมหากษัตริย์ไทย

        ตามอนุสัญญามอนเตวิเดโอว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของรัฐ (The Montevideo Convention on the Rights and Duties of State) ค.ศ. 1393 มาตรา 1 ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของรัฐเพื่อวัตถุประสงค์ในกฎหมายระหว่างประเทศว่า รัฐประกอบด้วย[1] ประชากรที่อยู่รวมกันอย่างถาวร ดินแดนที่กำหนดได้อย่างแน่ชัด ความสามารถที่สถาปนาความสัมพันธ์กับต่างรัฐได้ (อำนาจอธิปไตย) และมีรัฐบาล ซึ่งในการปกครองประเทศไม่ว่าจะเป็นระบอบใดก็ตาม เพื่อให้การปกครองเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย จะต้องมีผู้นำเป็นผู้บริหารปกครองประเทศ โดยที่ผู้นำหรือประมุขสูงสุดในการปกครองประเทศของนานาอารยประเทศนั้นจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับระบบการปกครอง ประเพณีนิยมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา หรือบางประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการปกครองของประเทศนั้น ๆ เช่น มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด หรือมีประธานาธิบดีเป็นผู้ปกครองประเทศหรือรัฐ สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขสูงสุดในการปกครองประเทศมาตั้งแต่อดีตกาล