การสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล

อาจารย์ผู้สอน นายกิตติพงษ์ ขรรค์ศร 

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานของธุรกิจดิจิทัล


หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานของธุรกิจดิจิทัล

ความหมายของธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) เป็นเหมือนการทำธุรกิจผ่านสื่อออนไลน์ การรู้จักกลไกทางการตลาด การวิเคราะห์ระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้มีความพร้อม ใช้ง่าน ธุรกิจดิจิทัลนั้นโยงไปถึงการออกแบบเว็บไซต์ให้มีคุณภาพทำให้ธุรกิจมีคน ติดตามรู้จักมากขึ้นกว่าปัจจุบัน การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องในเฟซบุ๊ก (Facebook) การเก็บสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ธุรกิจดิจิทัลช่วยให้ธุรกิจเจริญไปในทิศทางที่ดีกว่า ปัจจุบัน

ความหมายของธุรกิจดิจิทัล ความหมายของธุรกิจดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อมาพัฒนาธุรกิจ เพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าหรือ บริการต่าง ๆ แต่จุดประสงค์หลัก คือ การหาทางเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ เช่น การนำแอปพลิเคชัน (Application) มาช่วยในการเข้าถึงผู้บริโภคแบบใหม่ที่ชอบ ใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) การสร้างช่องทางขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ต่าง ๆ และการทำโฆษณา รวมไปถึงการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้า ในแบบออนไลน์ (Online) เป็นต้น

ความหมายของแบรนด์ แบรนด์ คือ ความประทับใจโดยรวมของสินค้าและการบริการ แบรนด์เป็นสิ่งที่จับ ต้องไม่ได้แต่อธิบายได้ ให้ความความรู้สึกและความหมายที่ดี ทำให้ผู้บริโภคยอมจ่าย แพง เพื่อให้ตัวเองได้แบรนด์ที่ตัวเองพึงใจ คำพูดของ Steve Job ,CEO APPLE ตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า “Brands are built around emotion .Product are built around function” แบรนด์ ถูกสร้างบนความรู้สึก สินค้าถูกสร้างบน เหตุผล ตัวอย่างเช่น ยาสีฟันคอลเกต คือสินค้าที่เป็นยาสีฟัน ป้องกันฟันผุ ราคา ประหยัด หาซื้อได้ง่าย หากจะนึกถึงในแง่ของแบรนด์ ก็คือรู้สึกเกิดความคุ้นเคย มั่นใจ ในสุขภาพ ทำให้ฟันแข็งแรง

ความหมายของแบรนด์ องค์ประกอบของแบรนด์ ชื่อสินค้า สโลแกน โลโก้ การออกแบบ แพ็คเกจจิ้ง เพลง หรือจิงเกิ้ล ทุกอย่าง แค่ได้ยิน หรือเห็นสัญลักษณ์ หรือแค่รูปคลำ ก็สามารถสะท้อนไปยังแบรนด์นั้นได้ เช่น ขวดโค้กที่ดีไซน์ได้แตกต่างแม้เอาเพียงมือคลำส่วนโค้งของมันก็ทำให้มั่นใจว่าใช่

แบรนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ 1.Brand Attributes หมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ และ ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ บรรจุ ภัณฑ์ หีบห่อ เอกสารประชาสัมพันธ์ รูปลักษณ์ภายนอก พูดง่ายๆ คือ ลักษณะทางกายภาพที่จะสะท้อนให้เห็นถึง แบรนด์นั้นๆ นั่นเอง

แบรนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ 2.Brand Benefits คุณประโยชน์ของแบรนด์ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ Functional Benefit คือ คุณค่าหรือประโยชน์ทางด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่ วัดและจับต้องได้ เป็นการตอบสนองความต้องการ (Needs) ของผู้บริโภค โดยเน้นที่เหตุผลเป็นหลักในขณะที่ Emotional Benefit คือ คุณค่าทาง ด้านอารมณ์ ความรู้สึก การตลาดแบบนี้มีความพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการ (Needs) ของผู้บริโภคด้าน จิตใจ ด้านอารมณ์ ไม่ใช่ด้าน เหตุผล เช่นซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพราะใช้แล้วสนุก ใช้แล้วเกิดความ ภูมิใจ ใช้แล้วรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ใช้แล้วรู้สึกตนเองมี คุณค่า เป็นต้น

แบรนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ 3.Brand Value คือ คุณค่าของตราสินค้า เป็นคุณค่าที่เกิดจากความอิ่มเอิบหรือภูมิใจของผู้ บริโภค ในการได้ใช้สินค้าและบริการของแบรนด์นั้น ๆ ความสำเร็จประการ หนึ่งในการสร้างแบรนด์คือการทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่าของสินค้าหรือ บริการ ในบางครั้งเมื่อผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่า ก็จะเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อ สินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงราคา มักจะเกิดกับแบรนด์ที่ได้รับ ความนิยมหรือสินค้าประเภทแบรนด์เนม และนี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องสร้าง แบรนด์ และสร้างคุณค่าให้แบรนด์ เพราะการสร้างคุณค่า จะช่วยทำให้ สินค้ามีมูลค่านั่นเอง

แบรนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ 4.Brand Personality คือ บุคลิกของสินค้า วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาบุคลิกของสินค้า คือ เอาสินค้าไปเทียบ กับคนและให้นึกว่าคน ๆ นั้นต้องมีหน้าตาท่าทางแบบไหน บุคลิกแบบไหน นิสัยแบบ ไหน ใช้ชีวิตอย่างไร ชอบคิดชอบทำอะไร นี่คือหลักการที่บริษัทใช้ในการหา พรีเซ็นเตอร์สินค้า คือการเอาบุคลิกของสินค้าไปจับกับบุคลิกของคน ตัวอย่างง่าย ที่สุดคือรถยนต์โตโยต้ารุ่นต่าง ๆ ที่ใช้พรีเซ็นเตอร์ต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น โตโยต้าวีออสเลือกใช้ดารา เจมส์ จิรายุ เป็นพรีเซนเตอร์ เพราะกลุ่มเป้าหมายที่ใช้รถ เป็นกลุ่มนักศึกษาปีท้าย ๆ หรือผู้ที่เริ่มต้นทำงาน บุคลิกของพรีเซนเตอร์จึงเปรียบ ได้กับบุคลิกของสินค้าที่มีความเป็นวัยรุ่น ชอบความตื่นเต้นท้าทาย ใช้ชีวิตแบบมีสีสัน รถยนต์ขนาดเล็กจึงมักออกแบบมาให้มีสีสันมากกว่ารถยนต์สำหรับคนวัยทำงาน หรือวัยกลางคน เป็นต้น

ความหมายของแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล การสร้างแบรนด์ดิจิทัล (Digital Business Branding) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการ สร้างแบรนด์และเรื่องราวในพื้นที่ดิจิทัล การสร้างแบรนด์ดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญใน การสร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมายกับกลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการใช้ข้อเสนอที่เป็น เอกลักษณ์เพื่อสร้างความแตกต่าง และข้อเสนอจากการแข่งขันแยกองค์ประกอบ แต่ละส่วนออกเป็นเงื่อนไขทางการตลาดที่คุ้นเคย

ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ 1. สร้างให้เกิดการมองเห็นของแบรนด์ (ฺBrand visibility) ต่อตัวธุรกิจ การสร้างแบรนด์ผ่านการ ทำโฆษณา งานประชาสัมพันธ์ (พีอาร์) หรือแคมเปญทางการตลาดต่าง ๆ จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มเป้า หมายมองเห็นแบรนด์ และทำให้แบรนด์ยิ่งเป็นที่รู้จักโดดเด่นกว่าคู่แข่งที่ทำน้อยกว่า หรือไม่ได้ทำ 2. เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร สินค้า และบริการ การมีกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์และการทำการ ตลาดที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างให้แบรนด์นั้น ๆ เป็นแบรนด์ที่มีคุณค่า (Brand equity) ทำให้ ลูกค้าและผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีและความจงรักภักดีต่อแบรนด์ และในหลายกรณียังช่วยทำให้แบรนด์ นั้น ๆ มีมูลค่าแบรนด์และมาร์จิ้นที่สูงกว่าแบรนด์อื่น ๆ ที่มีสินค้าและบริการเหมือนกันแต่มีแบรนด์ที่ ด้อยกว่า

ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ 3. ผนวกคุณค่าของแบรนด์เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างแบรนด์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และการทำการตลาดจะต้องทำควบคู่กันไป โดยองค์กรจะต้องใช้คอนเซ็ปต์ของแบรนด์มากำหนด กลยุทธ์ทางการตลาดและต้องผูกไปกับเป้าหมายทางธุรกิจ ก่อนนำไปปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่องและ สร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ 4. สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด การสร้างแบรนด์เชิงรุกผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลจะ ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและรวดเร็วขึ้น 5. ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แน่นอนว่าองค์กรไหนที่มีการสื่อสาร ภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ย่อมสามารถดึงดูดและสร้างความน่าสนใจจากนักลงทุนและ แหล่งเงินทุนต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวสินค้าและบริการได้ทางอ้อม

ความสำคัญของแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล 1. สามารถสร้างความแตกต่างที่มีคุณภาพให้ชัดเจน ทำให้ตราสินค้ามีคุณค่า 2. สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภค 3. สามารถสร้างคุณลักษณะของตราสินค้าใหม่ 4. สามารถสร้างการจดจำสินค้า ดังนั้น ความสำคัญของตราสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่นักการตลาดต้องทำการ ศึกษา เพราะความสำคัญของตราสินค้านั้นทำให้นักการตลาดสามารถบริหารตราสินค้าให้มี ประสิทธิภาพได้ การบริหารความสำคัญของตราสินค้าให้มีประสิทธิภาพได้ คือ การทำให้ผู้ บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายปัจจุบันหรือผู้ที่ว่าเป็นเป้าหมายในอนาคต สามารถจดจำตราสินค้า ว่ามีคุณสมบัติแตกต่างกับคู่แข่งขันอยู่ความแตกต่างนั้นตรงกับความต้องการกับผู้บริโภคได้ เป็นอย่างดี

การใช้สีในการออกแบบโลโก้เพื่อเพิ่มการรับรู้และจดจำ

การใช้สีในการออกแบบโลโก้เพื่อเพิ่มการรับรู้และจดจำ สีที่นำมาใช้ในการออกแบบแต่ละสีก็สื่อความหมาย และความรู้สึกต่อผู้บริโภคได้แตกต่างกันไปตัวอย่างเช่น

พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ แนวทางการพัฒนาแบรนด์ ปัจจุบันมีแนวทางการพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและตลาดที่หลาก หลายด้วยรูปแบบ แนวทางการพัฒนาที่มีการกล่าวถึงในปัจจุบัน เช่น 1.Corporate Branding คือ การพัฒนาแบรนด์ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดไม่ แตกต่างกันมาก นักการตลาดจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้องค์กรเป็นแบรนด์ที่ ควรจดจำ เช่น ไมโครซอฟท์ ธนาคารกสิกรไทย แอร์เอเชีย ซีพี เป็นต้น 2. CEO Branding คือ การพัฒนาแบรนด์หรือตราสินค้าควบคู่ไปกับบทบาท ทางการตลาดของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหาร องค์กร แบรนด์และผลิตภัณฑ์

พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ แนวทางการพัฒนาแบรนด์ 3. Live Branding คือ การพัฒนาแบรนด์ควบคู่กับการสร้างความจดจำใน คุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ด้วยกิจกรรม การตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก 4. Emotional Branding คือ การพัฒนาแบรนด์ด้วยหลักการด้านอารมณ์และ ความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่น เครื่องประดับระดับแบ รนด์เนม (Brand Name) รูปแบบการพัฒนาแบรนด์ คือ การรวมแบรนด์ (Co-Branding) และการสร้างภาพ ลักษณ์ใหม่ (Re-Branding) นักการตลาดหรือผู้ประกอบการจะเลือกใช้ตามความ เหมาะสม แต่เหนืออื่นใดการพัฒนาแบรนด์ต้องสามารถสร้างส่วนครองใจผู้บริโภคให้ เกิดขึ้นให้ได้ เช่น หากคิดถึงเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพและสมองย่อมต้องนึกถึง ผลิตภัณฑ์ซุปไก่สกัดยี่ห้อแบรนด์ (Brand) เป็นต้น