ผลงาน

ขั้นตอนที่ 1 ทำการวิเคราะห์งาน ปัญหาหรือความต้องการของผู้ใช้งาน

การจัดทำแอพพลิเคชั่นต้องทราบถึงปัญหาหรือความต้องการของผู้ใช้งานก่อน และนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์แอพพลิเคชั่น    ต้องมีการคิดให้รอบครอบและครอบคลุมต่อการใช้งาน ผู้ใช้งานต้องใช้งานได้ง่ายและสะดวก ผู้พัฒนาต้องได้ข้อมูลที่ตัวเองต้องการตามวัตถุประสงค์ ความสำคัญและระดับการปลอดภัยของข้อมูลความเห็นของผู้เกี่ยวข้อง สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากผู้ใช้งานแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะต้องเห็นชอบด้วย จะต้องเข้าใจการทำงาน เข้าใจข้อมูล เพื่อให้การใช้งานแอพพลิเคชั่นเกิดขึ้นจริง และช่วยให้เกิดการทดลองใช้งาน ทำให้แอพพลิเคชั่นมีการทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็คือต้องการสร้างเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เพื่อสะดวกต่อการซื้อขายอุปกรณ์การเรียน โดยไม่ต้องเสียเวลามาซื้อสินค้าด้วยตัวเอง

ขั้นตอนที่ 2 ทำการออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชั่นในการใช้งาน

การออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชั่นมุ่งเน้นให้มีการใช้งานเข้าใจง่าย ไม่มีความซ้ำซ้อนในการใช้งานมากจนเกินไป โดยแบ่งแถบเมนูหลักด้วยกัน 8 เมนู ดังนี้

1.หน้าหลัก ต้องการให้แสดงหน้านี้เป็นหน้าหลักในการใช้งาน

2.เมนูเข้าสู่ระบบ สำหรับผู้ที่มีสมาชิก

3.เมนูลงทะเบียน ต้องการให้แสดงข้อมูลการลงทะเบียนเข้าใช้งานในระบบ โดยมีการเก็บรายละเอียดของสมาชิก เช่น ชื่อ-สกุล สถานะ วิทยาเขต คณะ สาขา ID-line เบอร์โทร

4.เมนูคลังสินค้า ต้องการให้แสดงอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขาย แสดงรหัส ชื่อสินค้า จำนวน ราคา และภาพสินค้า

5.เมนูสั่งซื้อสินค้า จัดทำเพื่อให้ได้เลือกซื้อสินค้าได้สะดวก โดยสามารถเดินเข้ามาซื้อได้เลย

6.เมนูร้านค้าออนไลน์ จัดทำเพื่อให้สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบแอพพลิเคชั่นที่จัดเตรียมให้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลามาซื้อสินค้าด้วยตัวเอง

7.เมนูประเมินความพึงพอใจ

8.เมนูประวัติผู้จัดทำ

ขั้นตอนที่ 3 ทำการออกแบบตารางฐานข้อมูล

3.1 การสร้างบัญชีจัดเก็บฐานข้อมูลบน Google Drive

ภายใต้การออกแบบระบบดทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบฐานข้อมูลเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ประกอบด้วยการศึกษาฐานข้อมูลองค์ประกอบเบื้องต้น (Database initial study), การออกแบบฐานข้อมูล (Database design), การสร้างฐานข้อมูลและการโหลดข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล (implementation and loading), การทดสอบและประเมินการทำงานของฐานข้อมูล (testing and evaluation), การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล (operation), และการดูแลรักษาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (maintenance and evolution) ตามลำดับ

3.2 การออกแบบตารางฐานข้อมูล

กำหนดตารางฐานข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล หรือแสดงคุณสมบัติของข้อมูลนั้นๆ เพื่อเรียกใช้งานแก้ไขข้อมูล แสดงผลข้อมูลการทำงานเป็นไปตามชุดคำสั่งที่ได้เขียนไว้ในแอพพลิเคชั่น โดยข้อมูลในตารางต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยกำหนดโครงสร้างของตาราง (Table) จากกลุ่มข้อมูลหรือเอนทิตี้ (Entity) เป็นวัตถุหรือสิ่งของหรือข้อมูลในระบบงานนั้นๆ ที่รวบรวมได้จากเอกสารต่างๆ ซึ่งนำมากำหนดแอททริบิว (Attribute) เป็นคุณสมบัติของวัตถุของข้อมูลที่มากำหนดรายละเอียดให้เอนทิตี้ (Entity) เพื่อจะได้ทราบว่าในเอนทิตี้ (Entity) นั้น จะนำข้อมูลอะไรมาใช้บ้าง หลังจากนั้นให้นำแอททริบิวต์ (Attribute) มากำหนดโครงสร้างเบื้องต้นของตาราง (Table) โดยแปลงแอตทริบิวต์ (Attribute) เป็นฟิลด์ (Field) คือหน่วยของข้อมูล พร้อมกำหนดชนิดและขนาดข้อมูลในแต่ละข้อมูลแต่ละฟิลด์ (Field) 

ขั้นตอนที่ 6 สร้างแอพพลิเคชั่นใน Appsheet

6.1 ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรม Appsheet ก็คือไม่ต้องลงโปรแกรมใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเรียกใช้งานผ่านเว็บบราวเซอร์ได้จากทุกที่ โดยเข้าไปที่ URL ตามที่อยู่ https://www.appsheet.com/

หน้า Login

หน้าเข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก

หน้าลงทะเบียน

หน้าคลังสินค้า

หน้าร้านค้าออนไลน์

หน้าสั่งซื้อสินค้า

หน้าประเมินความพึงพอใจ

หน้าผู้จัดทำ