1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

1.1 จัดหลักสูตรเทียบเคียงมาตรฐานสากล และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

1.2 ใช้หนังสือ สื่อที่มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล

1.3 ใช้ห้องเรียนในการจัดการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนคุณภาพ (Quality Classroom System)

1.4 ใช้ระบบการวัดและประเมินผลแบบมาตรฐานสากล และสามารถเทียบโอนผลการเรียนกับสถานศึกษาระดับต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

1.5 บูรณาการการสอนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. ศักยภาพครูและบุคลากรทางศึกษา

2.1 พัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิชาการผ่านการประเมินในระดับชาติ

2.2 พัฒนาครูให้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร

2.3 พัฒนาครูให้ใช้สื่อ ตำราเรียนเป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนการสอนและใช้อิเล็กทรอนิกส์(ICT) ในการจัดการเรียนการสอน การวัด และ ประเมินผล และการเผยแพร่ผลงาน ทั้งระบบออนไลน์ และออฟไลน์

2.4 พัฒนาครูให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในการจัดการเรียนการสอนกับนานาชาติ

2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนครูให้ใช้การวิจัย สื่อ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

2.6 ส่งเสริมความรู้และบุคลากรทางการศึกษาให้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพ

3.1 พัฒนาประสิทธิภาพการบริการจัดการด้วยระบบคุณภาพที่ได้รับการรับรองจากองค์กรมาตรฐานสากลระดับโลก

3.2 นำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) มาใช้ในการบริหารจัดการ

3.3 ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา

3.4 พัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบความเร็วสูงเชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่ของโรงเรียน

3.5 พัฒนาห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการเน้นความเป็นเลิศของนักเรียน

3.6 พัฒนาเครือข่ายร่วมพัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทรัพยากรระหว่างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา

3.7 ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่น ๆ

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก

4.1 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นเลิศทางด้านวิชาการ

4.2 พัฒนาผู้เรียนให้สามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา

4.3 พัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ตนเอง สังคมและประเทศชาติ

4.4 พัฒนาผู้เรียนให้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ออกแบบสร้างสรรค์งาน สื่อสาร นำเสนอ เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนผลงานได้ระดับนานาชาติ

4.5 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพลเมืองดี มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย

4.6 พัฒนาผู้เรียนให้มีความคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

4.7 บูรณาการหลักสูตรเพื่อส่งเสริมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

1. ด้านงบประมาณ

1.1 ด้านบริหาร

1.1.1 พัฒนาระบบบริหาร โดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจการบริหารไปสู่ ฝ่าย กลุ่มสาระ และงานต่าง ๆ ภายใต้นโยบายและแผนงานหลัก โดยมีการนิเทศกำกับดูแลติดตามการประเมินคุณภาพ และการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

1.1.2 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ทันเหตุการณ์ ทันสมัย และทันโลกอยู่เสมอ

1.1.3 พัฒนาบรรยากาศและสภาพแวดล้อมด้านกายภาพพื้นฐานให้มีสภาพดี มีความสะอาด สดชื่น สวยงาม

1.1.4 เสริมสร้างความพร้อมด้านการบริการให้มีคุณภาพ มาตรฐาน ทันสมัย ทันโลก ในทุก ๆ ด้าน

1.2 ด้านอำนวยการ

บริหารงานทุกงานโดยนำหลักธรรมาภิบาล และหลักเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่คุณธรรม มาใช้ในการบริหารจัดการตามมาตรฐาน และเป็นแบบอย่างได้

2. ด้านวิชาการ

2.1 สร้างและพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ครบถ้วน ตามเกณฑ์มาตรฐาน

2.2 พัฒนาศูนย์วิชาการให้มีความพร้อม ตามเกณฑ์มาตรฐาน

2.3 สนับสนุนให้มีความพร้อม ด้านอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

2.4 สนับสนุนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา ให้มีความทันสมัย ทันโลก

2.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อม สมบูรณ์ตามมาตรฐาน และมีความทันสมัย

2.6 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

2.7 สนับสนุนให้ครูจัดทำสื่อ/นวัตกรรม/แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้สอน

2.8 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน”

2.9 สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และต่อเนื่อง

3. ด้านบริหารงานบุคคล

3.1 ใช้หลักเมตตาธรรม เป็นหลักนำในการปกครอง

3.2 มีการกำหนดนโยบายการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3 D

3.3 บริหารในรูปแบบระดับชั้น/ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน

3.4 มุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สร้างสำนึกความเป็นไทย และเสริมแรงด้วยการสรรเสริญผู้กระทำความดี

3.5 มุ่งเน้นบริหารตามวิถีประชาธิปไตย สร้างภูมิคุ้มกันจากยาเสพติด ตามนโยบายต้นสังกัด

3.6 มุ่งเน้นการกำกับ ดูแล รายงานผลการติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

3.7 ร้างระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างสมบูรณ์ และมีมาตรฐานเพื่อพัฒนางาน

4. ด้านบริหารงานทั่วไป

4.1 ด้านบริการ

บริหารงานทุกงานของฝ่ายบริหารงานทั่วไป เช่น งานบริการน้ำดื่ม งานโภชนาการ งานปฏิคม งานโสตทัศนูปกรณ์ งานประชาสัมพันธ์ และงานมอบหมายอื่น ๆ ให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน สมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน

4.2 ด้านชุมชน

4.2.1 สร้างเสริมให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลและความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน

4.2.2 สร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน

4.2.3 เผยแพร่เกียรติประวัติและผลงานดีเด่นของโรงเรียนให้ปรากฏอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

4.2.4 ร่วมมือกับชุมชนในการสรรสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ทั้งในเรื่องการศึกษาและการให้บริการ