ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ (ว 32222) เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

หลังจากที่ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบวิชาฟิสิกส์ ปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ตอนที่ 2 แบบอัตนัย ครูผู้สอนทำการตรวจวิเคราะห์ว่า นักเรียนมีข้อบกพร่องในการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ประการใดบ้าง โดยครูผู้สอนตรวจกระดาษคำตอบแบบอัตนัยของผู้เรียนแต่ละคน การเขียนตอบผิดแต่ละที่นับเป็นจำนวน 1 ครั้ง ดังนั้นในการแสดงวิธีคิดคำนวณของผู้เรียน 1 คน 1 ข้อ อาจจะมีความผิดซ้ำ ๆ กันได้ และอาจจะมีความผิดประเด็นต่าง ๆ กันออกไป การตรวจข้อสอบอัตนัยครั้งนี้ครูผู้สอนได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนน คือ เขียนบอกตัวแปรตามที่โจทย์ปัญหากำหนดมาให้ เลือกใช้สูตรได้สอดคล้อง กับโจทย์ปัญหา นำตัวแปรแทนค่าลงในสูตร และคิดคำนวณตามกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จนได้ผลลัพธ์ คือ ข้อสรุปหรือคำตอบ พร้อมระบุหน่วยให้สอดคล้องกับคำตอบ ให้คะแนนเต็ม ถ้าไม่ได้ตามนี้คะแนนจะลดลงตามส่วน การให้คะแนนตามเกณฑ์นี้ได้แจ้งให้ผู้เรียนทุกคนทราบและผู้เรียนทุกคนยอมรับ ครูผู้สอนได้ตรวจสอบคำตอบอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงในการตรวจและลดข้อผิดพลาดในการตรวจคำตอบให้เหลือน้อยที่สุด ความถี่ที่เกิดจากข้อบกพร่องในแต่ละด้านจะถูกบันทึกไว้ในตาราง หลังจากนั้น จึงนับรวมความถี่และวิเคราะห์เป็นร้อยละ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้เรียนมีข้อบกพร่องทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ดังนี้

1)การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ร้อยละ 53

2)การคำนวณตามวิธีทางคณิตศาสตร์ร้อยละ 34

3)การแทนค่าตัวแปรในสูตรฟิสิกส์ร้อยละ ุ6

4)การเลือกใช้สูตรฟิสิกส์ให้สอดคล้องกับโจทย์ปัญหาร้อยละ 4

5)การเปลี่ยนหน่วยและการระบุหน่วยร้อยละ 3

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ออกแบบและสร้างนวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

3. ผลลัพการพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1,2,5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1ึ71 คน ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์ ว 32222 ได้ใช้สื่อจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ (ว 32222) เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ ร้อยละ 100

3.2 เชิงคุณภาพ

ได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์


ลงชื่อ..............................................................

(นางชบาไพร สืบสำราญ.)

ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

วันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564

ความเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา

( ) เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

( ) ไม่เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปแก้ไข และเสนอ

เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้

.......................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.........................................................................

(นางธราภรณ์ พรหมคช)

ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

1 ตุลาคม 2564



ชื่องานวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ (ว 32222) เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

ชื่อผู้วิจัย : นางชบาไพร สืบสำราญ

ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2ุุ564


บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ (ว 32222) เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ (ว 32222) เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 = 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ 4. เพื่อประเมินทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ประชากรเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 171 คน และกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์โดยใช้กระบวนการวิจัย เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ จำนวน 4 แผน แต่ละแผนประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.35-0.65 และค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง0.20 – 0.60 3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ 4. แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบค่าที ( t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16 / 92.72 เป็นไปตามเเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจเท่ากับ 4.62 และ 4) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับดีมากทุกรายการ เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยรวม 4 ด้าน มีค่า 14.27 เทียบกับเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

ดังนั้นชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงฟิสิกส์ เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับคุณภาพดีมาก