วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์

การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี

Title

การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี

Title Alternative

The problems of budget management within administrative decentralization and education management in basic educational institution under the office of Chanthaburi Educational Service Area


Creator

Name: พิชญ์ษินี โฉมอัมฤทธิ์

Subject

ThaSH: งบประมาณการศึกษา

ThaSH: งบประมาณการศึกษา -- การบริหาร

Description

Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้ การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา และเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหาร งบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามข้อมูลด้านการปฏิบัติงานโดยการเก็บข้อมูล จากผู้บริหารสถานศึกษา วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งตามชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบ ตัวแปรอิสระโดยใช้สถิติที (t-test) และ F-test (oneway ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจ การบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต ด้านการ จัดระบบการจัดหาพัสดุ/ทุน ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ ด้านการ รายงานการเงินและผลการดำเนินงาน ด้านการบริหารสินทรัพย์ และด้านการตรวจสอบภายใน 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี ผลการศึกษา พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา กลุ่มระดับการสอนของสถานศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณและระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษามีสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณ ภายใต้การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Abstract: The purposes of this research were to study and compare the problems of budget management within administrative decentralization and education management in basic educational institutions under the office of Chanthaburi Educational Service Area. The samples used in this research consisted of 145 administrators by stratified random sampling. The data collection was accomplished by a rating scale questionnaire. The statistic procedures used for descriptive analysis were average mean, standard deviation and percentage, while the t-test and the F-test (oneway ANOVA) were used in hypothesis testing. The results of the study were as follow ; 1) The problems of budget management within administrative decentralization and education management in Basic Educational Institutions under The office of Chanthaburi Educational Service Area were at the medium level towards 6 aspects: budget planning, calculating product cost, inventory management, financial management and budget control, financial report, asset management and internal audit. 2) The comparison the problems of budget management within administrative decentralization and education management in Basic Educational Instuition under The office of Chanthaburi Educational Service Area classified by gender, age, marital status, educational level, teaching level, the experience working of budget management and time of positions were not difference statistic significant.

Publisher

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Address: จันทบุรี

Email: library@rbru.ac.th

Contributor

Name: ปวริศา จรดล

Role: ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


Name: มาโนช กล้องเจริญ

Role: กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Date

Created: 2553

Modified: 2554-08-22

Issued: 2554-08-22

Type

วิทยานิพนธ์/Thesis

Format

application/pdf

Language

tha

Thesis

DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Level: ปริญญาโท


Descipline: การบริหารการศึกษา


Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Rights

©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

RightsAccess:


พิชญ์ษินี โฉมอัมฤทธิ์ (2553) การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

ชุติมา พวงทอง. (2563). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา ในสังกัด

สำนักงานเขต ตพื้นที่การศึกษามัชยมศึกษา เขต 5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คร.พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา และ2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ! สร้างและตรวจสอบแนวทาง

การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา โดยการศึกษ าเอกสารและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญค้นการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าตัชนีความสอดคล้อง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้างานงบประมาณ หรือหัวหน้างานการเงิน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกยา เขต 5 ชำนวน 98 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการชุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นด้าน ความหมาะสมเท่ากับ 0.94 และค้านความเป็นไปได้เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเกราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาประกอบด้วย 4 ค้าน มีรายการปฏิบัติรวม 40 รายการ ดังนี้ ด้านที่ 1 การวางแผนงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลจำนวน 10 รายการ ด้านที่ 2 การใช้งบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 10 รายการ านที่ 3 การควบคุมงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาภ จำนวน 10 รายการ และต้นที่ 4 การรายงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล

จำนวน 40 รายการ และ2) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีรายการปฏิบัติรวม 40 รายการ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติได้จริงสูงกว่าเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ที่ 4.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ชุติมา พวงทอง. (2563). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัชยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หัวข้อวิทยานิพนธ์ แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้วิจัย : เพ็ญพรรณ บางอร

สาขาวิชา : การบริหารการศึกษา

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

อาจารย์ดร. จักรปรุพห์ วิชาอัครวิทย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คร.หนูมั่วน ร่มแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม และสร้างแนวทางการบริหารจัดการระบบบริทารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยแบบประสานวิธีครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มจากประชากร จำนวน 37 คนวิเคราะห์ข้อมูลชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ฉลี่ย ค่ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูล

เชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปบรรยายแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ

ปานกลาง ซึ่งงานที่มีค่าเฉลี่ยของปัญหามากที่สุด คือ งานแผนและควบคุมภายใน มีค่าเฉลี่ย 3.32 รองลงมาคืองานบัญชี ค่าเฉตี๋ย 3.22 และงานการเงิน ค่าเฉลี่ย 3.09 งานที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพปัญหาอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ งานสารสนทศ รองลงมาคืองานพัสดุและสินทรัพย์ 2. แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประ มาณ ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้งจรคุณภาพ PDCA แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (P) เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกันทั้งกลุ่มงานเป็นหน้ำที่ห ลักของงานแผนงานในการจัดทำเอกสาร การติดตาม และตรวจสอบ ขั้นการดำเนินงาน (D) เป็นการขอใช้งบประมาณที่ต้องมีความความถูกต้อง แม่นขำ รวดเร็วตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เป็นหน้าที่หลักของงานการพัสดุและสินทรัพย์งานการเงินและงานบัญชี ขั้นการตรจสอบการดำเนินงาน (C) เป็นการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้งการเงิน บัญชี พัสดุและสินทรัพย์ ทั้งจากผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกข้นั ปรับปรุงแกไ้ข(A) เป็ นการสรุปผลโครงการโดยระบุปัญหา วิธีการ ข้อเสนอและ การบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อน าข้อมูลมาจัดท าเป็ นแผนปฏิบัติการในปี งบประมาณถัดไป 


เพ็ญพรรณ บางอร (2562)  แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทความ

การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา: แนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา

ตุลยภาค ตุยาสัย

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

พัชรีวรรณ กิจมี

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาและเพื่อศึกษาแนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลี้และตำบลวังดินอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่การเงินและบุคลากรที่ทำหน้าที่ทางการเงินของโรงเรียน ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) ด้านสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนประถมศึกษาได้ปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการวางแผนงบประมาณมีการจัดสรรงบประมาณโครงการ พร้อมจัดประชุมชี้แจงแผนงบประมาณให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.2) ด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต ได้มีการคำนวณต้นทุนของโครงการต่างๆ ในกระบวนการดำเนินงาน  1.3) ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างโรงเรียนได้ดำเนินขั้นตอนตามระเบียบพัสดุ พ.ศ. 2535 1.4) ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อบริหารงานบัญชี 1.5) ด้านการบริหารสินทรัพย์โรงเรียนได้ตรวจสอบความต้องการสินทรัพย์ มีการควบคุม ตรวจสอบพัสดุ ครุภัณฑ์ตามระบบ 1.6) ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานจะมีการรายงานผลการดำเนินงานเป็นวาระให้กับหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ และ 1.7)ด้านการตรวจสอบภายในโรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบภายในพร้อมทั้งให้รับการตรวจสอบภายในจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแสดงถึงการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส 2) การศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แสดงให้เห็นถึงปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการบุคลากรด้านการเงินภายในโรงเรียนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบและวิธีการบริหารงบประมาณที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังบกพร่องในกระบวนการคำนวณต้นทุนผลผลิต ขาดความชำนาญในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และขาดการเชื่อมโยงของขั้นตอนในการบริหารงบประมาณภายในโรงเรียน3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ต้องเชื่อมโยงการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานทั้ง 7 ด้านเข้าด้วยกันเพื่อให้การบริหารงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ  อาจต้องจำกัดจำนวนโครงการให้เหลือเฉพาะโครงการสำคัญซึ่งจะช่วยให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการส่งเสริมเด็กนักเรียนให้สามารถนำวิชาความรู้ไปปฏิบัติเพื่อหารายได้โดยครูจะช่วยส่งเสริมหรือจัดตั้งเป็นชมรม และการบริหารงบประมาณไม่ได้มีวิธีการเฉพาะเจาะจง ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่การเงิน และบุคลกรที่ทำหน้าที่ด้านการเงินจะต้องมีการสื่อสารกับบุคลากรอื่นภายในโรงเรียน เพื่อช่วยออกแบบวิธีการบริหารงบประมาณให้ไปในทิศทางเดียวกัน


ตุลยภาค ตุยาสัย และ พัชรีวรรณ กิจมี (2561) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา: แนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 12 ฉบับ Supplement(2561) หน้า 98 - 112

การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

คำสำคัญ: งบประมาณ, การบริหารงบประมาณ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe

       ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารบัญชี และด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีการบริหาร อยู่ในระดับมาก และ 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และด้านระดมทรัพยากรและการลงทุน และในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการบริหารบัญชี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 10 ปี  มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ในด้านการบริหารบัญชี สูงกว่าข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณที่มีประสบการณ์ในการทำงาน น้อยกว่า 5 ปี

ขวัญเรือน มุ่งผลกลาง แลุะปทุมพร เปียถนอม (2563) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา: แนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2020): กรกฎาคม - ธันวาคม 2563 หน้า 1-13 


การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35

คำสำคัญ: การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา, สภาพการบริหารงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์, the management of strategic performance based budgeting, the state of budgeting management

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ตามมาตรฐานการเงิน 7 ด้าน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า แบบสอบถามปลายเปิด และการสนทนากลุ่ม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานงบประมาณของสถานศึกษา จำนวน 153 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหา               

ผลการวิจัยพบว่า 

สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  โดยรวมมี
การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย  คือ  การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การวางแผนงบประมาณ  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน และการตรวจสอบภายใน การบริหารสินทรัพย์และการคำนวณต้นทุนผลผลิต                     

ปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา คือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจความชำนาญด้านงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์  การดำเนินงานไม่เป็นระบบ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศไม่เป็นปัจจุบัน และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา สถานศึกษามีการหารายได้และให้บริการจากสินทรัพย์น้อย  ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา  คือ ประชุมชี้แจงหรืออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับตามมาตรฐานการเงินทั้ง 7 ด้าน จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ และระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน

             แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  คือ กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างและพัฒนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนัก ให้เห็นความสำคัญของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ปาริตา ศุภการกำจร  อัมเรศ เนตาสิทธิ์ และสุรพล บัวพิมพ์ (2558) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2015): ตุลาคม 2557 - มีนาคม 2558 หน้าที่ 38 - 53