ตราสัญลักษณ์ 

โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง 

ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง


 ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2499 โดยความร่วมมือของผู้ใหญ่บ้านและราษฎรบ้านคลองไม้แดงมีนายหมู พรมปิก นางอยู่  นาวา และนายหลอด เพชรแจ้ง  เป็นผู้บริจาคที่ดินให้จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา โดยเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ใช้เสาไม้เต็งรังเครื่องบนเป็นไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคาเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ. ศ. 2499 มีนักเรียนทั้งหมด 45 คน ครู 1 คน นายมี อินอยู่ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  สังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

ปี พ.ศ. 2500 นายหลอด เพชรแจ้ง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้นได้ชักชวนราษฎรบ้านคลองไม้แดงก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร 1 หลังขนาด 2 ห้องเรียน ใช้เสาไม้เต็งรังเครื่องบนไม้เนื้อแข็งมุง  กระเบื้องเทพื้นคอนกรีตราคา 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และทางราชการได้บรรจุข้าราชการครูอีก 3 คน   รวมมีครู 4 คน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านคลองไม้แดงเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนจำนวน 55 คน ชาย 29 คน หญิง 26 คน ครูประจำการหญิง 4 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้างงบวิกฤต 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ภารโรง 1คน


เอกลักษณ์

จิตอาสา

อัตลักษณ์

ไปลา  มาไหว้

คำขวัญของโรงเรียน

ทำดีมีสุข

คติพจน์

“จงทำความดีเพื่อส่วนรวม”

อักษรย่อ   

ค.ม.ด.

สีประจำโรงเรียน

เหลือง  -  แดง




ปรัชญา

การศึกษา คือ  การพัฒนาตน  พัฒนาคน  พัฒนาสังคม

วิสัยทัศน์

โรงเรียนดี บุคลากรดี มีมาตรฐาน ยึดมั่นในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดการเรียนรู้สู่สังคมอาเซียนและสังคมโลกอย่างรู้เท่าทัน บนพื้นฐานของค่านิยม 12 ประการ

พันธกิจ

1.พัฒนาโรงเรียนให้สะอาดน่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

2.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาให้เพียงพอต่อการเรียนการสอน

3.จัดหาสื่อ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพียงพอ

4.ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

5.จัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย เน้นคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนและสังคมอย่างรู้เท่าทันบนพื้นฐานของค่านิยม 12 ประการ

เป้าหมาย

1.ด้านสถานศึกษา

   1) พัฒนาสภาพแวดล้อมและจัดสร้างบรรยากาศในโรงเรียน

   2) เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภคในโรงเรียนให้เพียงพอเหมาะสมเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน

   3) ส่งเสริมพัฒนาห้องเรียนอาคารเรียน อาคารประกอบให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการเรียนการสอน

   4) ส่งเสริมพัฒนาห้องสมุดและห้องคอมพิวเตอร์ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และค้นคว้า

   5) ส่งเสริมปรับปรุงห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ จัดหาวิทยากร สื่อเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน

2.ด้านบุคลากร

   1) ส่งเสริมให้ครูมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอน

   2) สนับสนุนครูจัดทำผลงานทางวิชาการ

   3) ส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนทุกคน ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม ประชุมสัมมนา เป็นวิทยากร และศึกษาต่อ เพื่อพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

   4) ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ ทางด้านร่างกายและจิตใจ

   5) ส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรมและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 3.ด้านหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 

   1) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

   2) ส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอน

    3) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม

    4) ส่งเสริมให้มีการใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนในการจัดเนื้อหาหลักสูตรมาใช้ในการเรียนการสอน

    5) ส่งเสริมคุณค่าและความเจริญงอกงามทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีและถูกต้องตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากสารเสพติดละโรคเอดส์

    6) ส่งเสริมความเป็นไทยและการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

    7) พัฒนาวิธีการรูปแบบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

4.ด้านการบริหารและจัดการ

    1) ปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารการทำงานของงานทั้ง  4  งาน ให้เกิดความชัดเจนและคล่องตั

    2) ส่งเสริมการวางแผน การจัดเก็บข้อมูล การนิเทศภายในและการติดตามรายงานผล

   3) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการประชาสัมพันธ์โรงเรียน

    4) พัฒนาระบบสารสนเทศ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

   5) ด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ตามสิทธิและโอกาสอย่างทั่วถึง

    6) ด้านการพัฒนาการจัดการและคุณภาพการเรียนรู้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาตรงตามศักยภาพและคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    7) ด้านความสามารถในการแข่งขัน ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี กีฬา ศิลปะและเทคโนโลยีและการงานอาชีพเพื่อเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถพึ่งตนเองได้และเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันทุกระดับ

ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์

1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ                          

4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

   

    5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน