รางวัลและความภาคภูมิใจ

ความภาคภูมิใจ

ข้าพเจ้าได้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ตามความถนัด ผ่านการแข่งขันทักษะวิชาการ การแข่งขันโครงงาน การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนในทุกปีจนได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณดังนี้ CLICK>>


ข้าพเจ้าเป็นแบบอย่างที่ดีของครูและเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งลูกศิษย์ มีการวางตัวอย่างเหมาะสม ทั้ง 3 ด้าน ทั้งด้านการครองตน ด้านการครองคน และด้านการครองงาน ดังนี้

แสดงให้เห็นว่าข้าพเจ้ามีคุณสมบัติ และเป็นที่ยอมรับในการทำงาน ข้าพเจ้ามีการประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนและองค์กรภายนอก ให้นำคณะกรรมการสภานักเรียนบริการชุมชน เช่น การฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา บริการด้านปฏิคมงานฌาปนกิจศพ การจัดสถานที่ การเป็นพิธีกรจิตอาสา การระดมทุนช่วยเหลือผู้สบภัย อาทิ เช่น ช่วยเหลือนักเรียนที่บ้านไฟไหม้ ระดมทุนสร้างบ้านให้นักเรียนยากจน ระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นต้น

ข้าพเจ้าได้จัดทำนวัตกรรมการสอน “พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทางภูมิปัญญาไทยโดยการจัดกิจกรรมชุมนุม” ภายใต้ชื่อ “ชุมนุมสมุนไพรสู่สากล” โดยการจัดกิจกรรมชุมนุมแบบการบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา มีหลักการที่สำคัญคือ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจทางด้านภูมิปัญญาทางสมุนไพรไทยที่นักเรียนสนใจ รู้จักการสืบค้นจากชุมชน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถอธิบาย วิเคราะห์และสังเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหาความรู้ที่สืบค้นมา บอกเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการคิด ปฏิบัติ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เกิดวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน  

กิจกรรมชุมนุมสมุนไพรสู่สากล เกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ ให้แก่นักเรียนคิดนวัตกรรมสมุนไพรที่เป็นของตัวเอง โดยใช้ STEM Education แนวทางการจัดการเรียนรู้เริ่มจาก STEM Education คือแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและมีการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายทั่วโลก STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (Interdisciplinary Integration) ระหว่างศาสตร์สาขาต่าง ๆ ได้แก่วิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์(Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขาร่วมมือกันเพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น STEM Education จึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่าง ๆ การรวมศิลปะ (Art) รวมเข้าไปใน STEM Education เป็น STEAM จึงเป็นแนวทางการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการสืบเสาะหาความรู้ ทักษะการอภิปรายถกเถียง และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือนักเรียนที่มีทักษะการคิด มีส่วนร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ ตลอดจนการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันและการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในนักประดิษฐ์สร้างสรรค์นวัตกรรม นักการศึกษา ผู้นำและผู้เรียนในศตวรรษที่ 21