▌ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ตราสัญลักษณ์

พระขรรค์สามง่าม สวมด้วยห่วงมงคล

           พระขรรค์ หมายถึง อาวุธของพระนารายณ์ แสดงถึงความเฉียบแหลมทางปัญญา

           ห่วงมงคลสามห่วง หมายถึง พัฒนา สามัคคี มีวินัย

           เส้นวงกลมนอก 3 เส้น  หมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนแห่งนี้มีพื้นที่ 63 ไร่ 2 งาน 62 ตารางวา โดยตั้งอยู่ในที่ลุ่มซึ่งมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีอาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดชุมชนบ้านโดดวิทยา ทิศตะวันตกติดโรงเรียนอนุบาลสำโรงทาบ (บริคุตต์วิทยาคุณ) ทิศเหนือติดที่นาชาวบ้านและชุมชน และทิศใต้ติดที่นาชาวบ้าน

โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ หน่วยงานราชการต่าง ๆ และชุมชนตลาดอำเภอสำโรงทาบประมาณ 2 กิโลเมตร โดยชุมชนให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี

ข้อมูลด้านการบริหาร 

● ผู้อำนวยการโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม

นายสรรค์นิธิ เผ่าพันธ์ วุฒิการศึกษา ค.บ. (โสตทัศนูปกรณ์), กศ.ม. (บริหารการศึกษา) 

ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม 15 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2564

รองผู้อำนวยการ จำนวน 3 คน 

1. นางสาวศิรินยา สิงห์คำ     ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป

2. นางสาวเกณิกา ชัยชาญ     ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ

3. นางสาวจันทร์เพ็ญ สันทาลุนัย     ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล

4. นางวริษฐา นิ้วทอง     ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ

วิสัยทัศน์โรงเรียน ปีการศึกษา 2565 - 2569

  "พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

พันธกิจ

  1. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

       2. ส่งเสริม และพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาตนเองเพื่อให้มีสมรรถนะตรงตามสายงานและมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์อย่างมืออาชีพ

       3. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ปลูกฝังจิตสำนึกรักความเป็นไทยและยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

       4. บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Digital)

       5. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

       6. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา พัฒนา สถานศึกษาให้มี ความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ

เป้าประสงค์หลัก

1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะและสมรรถนะตามหลักสูตร มีคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพลเมืองและเป็นพลโลกที่ดี (Global Citizen)

2. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ และมีความต้องการพิเศษได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และพัฒนาความสามารถสู่ความเป็นเลิศอย่างเต็มตามศักยภาพ

3. ผู้เรียนรักและศรัทธาในสถาบันหลักของชาติ มีคุณลักษณะรักความเป็นไทย และยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์

4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตรงตามสายงาน มีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ใช้เทคโนโลยี และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้

5. ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางการบริหาร ยึดหลักธรรมาภิบาล และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ

6. สถานศึกษาจัดการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นกลยุทธ์/กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะอาชีพ และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและมีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และพัฒนาความสามารถสู่ความเป็นเลิศอย่างเต็มตามศักยภาพ

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างรากฐานความคิด ความรัก ความศรัทธาในความเป็นไทย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์ และสถาบันหลักของชาติ

กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมให้ครูออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

กลยุทธ์ที่ 5 สร้างเสริมขวัญกำลังใจ และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ

 กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมการบูรณาการหลักคิด หลักปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน

พระพุทธเทพนวมงคล

คติพจน์ ปรัชญา และคำขวัญ

● คติพจน์ สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ 

● ปรัชญา ความรู้ดี มีจรรยา พลานามัยสมบูรณ์ 

● คำขวัญ เรียนดี มีวินัย ห่างไกลสิ่งเสพติด ใกล้ชิดชุมชน 

สีประจำโรงเรียน 

สีแสด หมายถึง ความแกร่งกล้า ความเข้มแข็ง ความสง่า 

สีเขียว หมายถึง ความสดชื่น ความอดทน ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความเจริญงอกงาม 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 

2. ซื่อสัตย์ สุจริต 

3. มีวินัย

4. ใฝ่เรียนรู้

5. อยู่อย่างพอเพียง

6. มุ่งมั่นในการทำงาน

7. รักความเป็นไทย

8. มีจิตสาธารณะ

อัตลักษณ์ (ยิ้ม ไหว้ ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง)

ยิ้ม หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี แจ่มใส มั่นใจในตนเอง มีสเน่ห์ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี

ไหว้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นบุคคลที่มีมารยาท มีไมตรีที่ดีมีสัมมาคารวะ

ใฝ่เรียนรู้  หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

อยู่อย่างพอเพียง  หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่อยู่รอดในสังคมได้อย่างมีความสุข

เอกลักษณ์ (พอเพียง)

  พอเพียง หมายถึง การน้อมนำหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขการมีความรู้และคุณธรรม มาเป็นหลักคิดและวิธีปฏิบัติของตนของบุคลากร และถ่ายทอดสู่ตัวผู้เรียนให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ค่านิยมขององค์กร

"SRK" ย่อมาจาก Samrongthapwittayakom school

           S-Sufficiency หมายถึง ความพอเพียง ในที่นี้หมายถึง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           R-Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ

           K-Knowledge หมายถึง ความรู้


SRK การใช้ความรู้ พร้อมกับน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและแนวปฏิบัติร่วมกันขององค์กร โดยอาศัยการร่วมมือร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพลงมาร์ชโรงเรียน

คำร้อง (เดิม:นางสาวสุวคนธ์ ทองแม้น)

คำร้อง (ปรับปรุง:นางอมร พันชนะ, นายกรวีย์ คงตน)

 

พวกเราชาว ส.ร.ค.งามเลิศหนอในด้านการศึกษา

โรงเรียนดีมีวินัยใฝ่ค้นคว้าขุมพลังทางปัญญาของชุมชน

โรงเรียนพร้อมเทคโนฯ การศึกษาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ดูมากล้น

บูรณาการการเรียนรู้สู่ชุมชนพัฒนาคนให้รุ่งเรืองสืบไป

 

เราอนุรักษ์ความเป็นไทยเชิดชูไว้ชาติศาสนา

เรารู้รักสามัคคีมีจรรยาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติดไม่คิดลอง

เราจะหลอมรวมดวงใจให้เป็นหนึ่งให้ซาบซึ้งสมญานามลูกแสดเขียว

มีความรักยึดดวงใจใฝ่กลมเกลียวที่ยึดเหนี่ยวพระพุทธเทพนวมงคล

 

จะสัญญาเป็นคนดีไม่มีเปลี่ยนจะพากเพียรเร่งศึกษาพาฝึกฝน

จรรยาดีมีปัญญาน่าชื่นชมคนนิยมงามเลิศล้ำชาว ส.ร.ค.

คนนิยมสำโรงทาบวิทยาคม

https://youtu.be/4Dapc25aJlg?si=x8vSyoZJoRjoNU8P