การปักลายเสื้อ

(แส่วเสื้อ)





*แส่ว หรือ แซว เป็นภาษากูย แปลว่า ปัก เย็บ

กูย หรือ ส่วย หนึ่งในชนเผ่าของ จังหวัดศรีสะเกษ

ผ้าแส่วมือ ถือเป็น หัตถกรรมพื้นบ้าน ของจังหวัดศรีสะเกษ มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตาทวด

ในอดีต หลังการทำเกษตรกรรม ชาวบ้านจะเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้า เป็นงานเสริม ผ้าที่ได้จะนำมาย้อมด้วยพืชต่างๆ เช่น ใบคราม (น้ำเงิน) หรือ มะเกลือ (ดำ)

จากนั้น จึงนำไปหมักโคลน และอบด้วยสมุนไพรหอม กว่า 20 ชนิด เพื่อความเหนียวแน่นของผ้า

เรียกกันว่า ผ้าไหมเก็บ

การทอผ้า ในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ เป็นผ้าไหม

บ้านไหนมีลูกสาว ก็จะนำผ้าไหมที่ได้ มาแส่ว(ปัก)

ลวดลายต่างๆ บนเสื้อ เพื่อสวมใส่ในงานมงคล

หรืองานบุญต่างๆ

ดังนั้น *ผ้าแส่วมือ จึงถือเป็นผ้ามงคล

ที่เหมาะกับการให้เป็นของขวัญ หรือไหว้ผู้ใหญ่

ซึ่ง หมายถึง ความเป็นสิริมงคล นั่นเอง ค่ะ