ข้อมูลพื้นฐาน ตำบลโนนสัง

1. สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลโนนสัง

สภาพทั่วไป

1. ประวัติความเป็นมาของตำบลโนนสัง

ตำบลโนนสัง เดิมชาวบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำมูล ต่อมาได้ถูกชาวไทยฮ่องรุกรานจึงได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหมู่บ้านโนนสังในปัจจุบัน และได้สังเกตว่าที่ตั้งหมู่บ้านนั้นมีต้นสัง ซึ่งเป็นไม้ป่าขึ้นอยู่บนเนินดิน (ชาวบ้านเรียกโนน,โพน) เป็นจำนวนมาก จึงเรียกกันว่า โนนสัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของตำบลโนนสังมาจนปัจจุบัน

ประวัติหมู่บ้าน

บ้านโนนผึ้ง

หมู่ที่ 1,10 ตำบลโนนสัง ความหมายของชื่อหมู่บ้าน พื้นที่เป็นเนินสูงมีผึ้งอาศัยอยู่มาก

มีประวัติของชื่อหมู่บ้านดังนี้

ชาวบ้านโนนผึ้งย้ายมาจากบ้านหนองไฮหย่อง ทิศตะวันออกของหมู่บ้านโนนสัง ปัจจุบันประมาณ 180 ปีมาแล้ว โดยมีนายใหญ่ เป็นผู้นำมาก่อตั้งหมู่บ้าน ลักษณะของหมู่บ้านแรกตั้งเป็นเนินสูงมีผึ้งป่าอาศัยอยู่มาก มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์มากเพราะมีหนองน้ำ 3 ที่ แต่ปัจจุบันนี้ชาวบ้านทำเป็นไร่นาหมดแล้ว หมู่บ้านนี้ตั้งมา ประมาณ 200 ปี โดยชาวเยอบ้าน โนนแกดหนีแล้งไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านโพนงัว บ้านโนนอีปัง และบ้านโนนดั่ง แต่การหากินฝืดเคืองเลยไปที่บ้านไฮหย่องตรงเส้นทางเดินทัพในสมัยรัชกาลที่ 1 ไปตีเวียงจันทร์ มีการเกณฑ์คน แบกสัมภาระจับวัว ควาย เป็ด ไก่ กินตามอำเภอใจ พ.ศ 2360 เลยย้ายมาที่หนองเหี้ย เรียกว่าหนองผึ้ง เพราะผึ้งมาก จน พ.ศ.2545 แยกจากตำบลโนนสังมาเป็นตำบลโนนผึ้ง มีตาแสงและนายบ้าน เป็นผู้ปกครอง พ.ศ. 2443

มีผีบ้าผีบุญมาหลอกลวงประชาชน ตั้งวัดและโรงเรียน พ.ศ. 2478

บ้านหนองบัวไชยวาน

หมู่ที่ 3,8,13 ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้านเป็นที่เกิดของบ้านแดงควบกับบ้านหนองบัวไชยวาน มีประวัติของชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

ตั้งมาประมาณ 120 ปี อพยพมาจากบ้านทุ่งโค่น เพราะว่าบ้านทุ่งโคนเกิดโรคระบาดมีคน

ล้มตายเป็นจำนวนมาก คนที่ย้ายออกมาเป็นคนแรกคือ นายอ่อน คันทรง โรงเรียนบ้านหนองบัว

ไชยวานตั้งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2467 ผู้ก่อตั้งคือ นายเลียน สุตาวงศ์

บ้านโนนสัง

หมู่ที่ 2,9,11,14 ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้าน ที่ราบสูงที่ขาวสะอาดหรือขาวบริสุทธิ์ (บาลี จาก สัง-ขะ) และจากลักษณะภายนอกของเปลือกหอยสังข์ที่พบ

ในอดีต มีประวัติของชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

บริเวณพื้นที่ตั้งหมู่บ้านเดิมทีเป็นป่าไม้ที่รกมีสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมามีชาวบ้านอพยพมาจากแหล่งต่าง ๆ มาอาศัยอยู่รวมกัน และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านโนนสังจนปัจจุบัน โรงเรียนบ้าน

โนนสังตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2460

บ้านหนองหวาย

หมู่ที่ 4 ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้าน เพราะมีหนองน้ำแห่งหนึ่งที่มีทรายจำนวนมากเลยตั้งชื่อตามนั้น มีประวัติของชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

ตำนานกล่าวว่า ชาวบ้านท่าเมืองใหม่ได้เกิดโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำวนมาก

ก็พากันย้ายที่อยู่เคลื่อนมาทางทิศตะวันออก มาตามลุ่มแม่น้ำมูลมาตั้งถิ่นฐานใกล้กับหนองหวาย

ต่อมาเลยตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านหนองหวาย และมีคนอีกจำนวนหนึ่งย้ายมาจากบ้านท่าโพธิ์ ก็ย้าย

ถิ่นฐานเข้ามารวมกันและอาศัยอยู่บ้านเดียวกันรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านหนองหวาย โรงเรียนบ้าน

หนองหวายตั้งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2480

บ้านหนองโอง

หมู่ที่ 5 ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้านแต่ก่อนหนองโอง

ได้มีสัตว์พวกละองละมั่งเนื้อสมันเป็นจำนวนมาก มีประวัติของชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

ประมาณปี พ.ศ. 2310 ได้มีอันญาบุตร (เชื้อพระวงษ์จากประจันตะคาม) ได้มาก่อตั้งหมู่บ้านซึ่งมีหนองโองที่มีละองละมั่งเลยเรียกชื่อว่าหนององมาเป็นหนองโอง ซึ่งเป็นหนองน้ำ

ติดหมู่บ้านทางทิศใต้ เมื่อมีอัญญาเจ้าบุตรมาก่อตั้งขึ้น เดิมนั้นได้แยกจากบ้านผักแว่น (ปัจจุบัน คือ

บ้านหนองแก้ว) อยู่คนละฝั่งแม่น้ำมูล แต่ก่อนนั้นหนองน้ำนี้ได้มีสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งเรียกว่า ละอง

ได้มาชุมนุมดื่มน้ำกันมากมายจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านนั่นเอง โรงเรียนบ้านหนองโอง ตั้งเมื่อ

1 มิถุนายน 2482

บ้านขี้เหล็ก

หมู่ที่ 7 ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้าน ไม่มีประวัติของชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านไฮหย่อง (โนนหนองไฮ) ในปัจจุบันได้อพยพอยู่ที่โนนขี้เหล็ก ซึ่งมี

เศษเหล็กมากมาย อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านในปัจจุบัน เมื่ออยู่ได้ไม่นานหมู่บ้านเกิดไฟไหม้

จึงต้องทำให้ราษฎรย้ายกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่นหมด คงเหลือเพียง 10 กว่าหลังคาเรือน หมู่บ้าน

ขี้เหล็กนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 มีพ่อเฒ่าหลวงเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก การอพยพ หนีจากบ้านหนองไฮหย่อง เนื่องจากว่าบ้านหนองไฮหย่องตรงเส้นทางเดินทัพจากขุขันธ์ไปเวียงจันทร์ ทหารที่เดินผ่านจะจับเป็ด ไก่ วัว ควาย ของชาวบ้านไปกินเสมอจึงต้องอพยพไปอู่ที่อื่น โรงเรียนบ้านขี้เหล็กตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500

ที่ตั้ง ตำบลโนนสัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอกันทรารมย์ ห่างจากอำเภอ

กันทรารมย์ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

คำขวัญของตำบล

โนนสังเมืองพัฒนา ชาวประชาสามัคคี รวมผ้าไหมมัดหมี่ ผลผลิตข้าวนาปรัง

2. การปกครอง

ตำบลโนนสัง แบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสัง

หมู่ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อบ้าน ตำแหน่ง

1 นายวิจิตร เยือกล้ำ บ้านโนนผึ้ง ผู้ใหญ่บ้าน

2 นายประมูล วงค์ใหญ่ บ้านโนนสัง กำนัน

3 นายสงัด คำศิริ บ้านหนองบัวไชยวาน ผู้ใหญ่บ้าน

4 นายเต็ม ยุภา บ้านหนองหวาย ผู้ใหญ่บ้าน

5 นายไชยา บุตรตรี บ้านหนองโอง ผู้ใหญ่บ้าน

6 นายนิวัฒน์ ถิ่นกำแพง บ้านหัวสะพาน ผู้ใหญ่บ้าน

7 นายบรรหาญ แสงศิลา บ้านขี้เหล็ก ผู้ใหญ่บ้าน

8 นางสาวอำนวย บัวแย้ม บ้านหนองบัวไชยวาน ผู้ใหญ่บ้าน

9 นายทองอวน ตุนา บ้านโนนสัง ผู้ใหญ่บ้าน

10 นายไชยยา ศรีหาบุตร บ้านโนนผึ้ง ผู้ใหญ่บ้าน

11 นางสาวลักษณ์ยิ่ง ศรีภุมมา บ้านโนนสัง ผู้ใหญ่บ้าน

12 นายอำนวย เสียงใส บ้านหนองหวาย ผู้ใหญ่บ้าน

13 นายบุญศรี ประสาน บ้านหนองบัวไชยวาน ผู้ใหญ่บ้าน

14 นายวัฒนา วงค์ชา บ้านโนนสัง ผู้ใหญ่บ้าน

3. สภาพทางภูมิศาสตร์

3.1 อาณาเขตของตำบล

ทิศเหนือ จดตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธาน

ทิศใต้ จดตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

3.2 จำนวนพื้นที่ของตำบลโนนสัง

มีพื้นที่ประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,750 ไร่ จำนวนครัวเรือน 1,240 ครัวเรือน

ใช้ทำการเกษตร จำนวน 20,619 ไร่

ใช้เป็นที่อยู่อาศัย จำนวน 11,945 ไร่

ที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน 1,186 ไร่

3.3 ลักษณะภูมิประเทศของตำบล

สภาพทั่วไป ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดต่ำไปทางทิศเหนือ ประกอบกับแนวทางทิศเหนือสุดของตำบลมีแม่น้ำมูลไหลผ่านตลอดแนว ความสูงระดับน้ำทะเล

ตั้งแต่ 100 – 150 เมตร เป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีลักษณะเป็นที่ราบเหมาะสำหรับทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์

4. สภาพทางเศรษฐกิจ

4.1 อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และ ค้าขาย

4.2 หน่วยธุรกิจในชุมชน

- โรงน้ำแข็ง 1 แห่ง

- ปั้มน้ำมัน 1 แห่ง

- โรงสี 37 แห่ง

- ร้านอาหาร 6 แห่ง

- ตลาดนัด 5 แห่ง

- ร้านค้าชุมชน 1 แห่ง

5. สภาพทางสังคม

5.1 การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง

- โรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 3 แห่ง

5.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง

- โบสถ์ 7 แห่ง

5.3 สาธารณสุข

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง

- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ 100 %

5.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

- ที่ทำการตำรวจชุมชนประจำตำบล 1 แห่ง

- ถังเคมีดับเพลิงประจำหมู่บ้าน จำนวน 14 ถัง

6. การบริการพื้นฐาน

6.1 การคมนาคม

- ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟผ่านเป็นเส้นทางระหว่างอุบลราชธานี - กรุงเทพมหานคร และมีสถานีหยุดรถที่บ้านโนนผึ้ง

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ตัดผ่านตำบลโนนสัง จากอุบลราชธานี - ศรีสะเกษ

- ถนนลาดยางแยกจากทางหลวงหมายเลข 226 จากบ้านโนนผึ้ง – บ้านขี้เหล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร

- ถนนลาดยางแยกจากทางหลวงหมายเลข 226 จากบ้านโนนผึ้ง – บ้านโนนสัง ระยะทาง 3 กิโลเมตร

- ถนน คสล. แยกจากทางหลวงหมายเลข 226 ถึงบ้านหนองบัวไชยวาน ระยะทาง 1 กิโลเมตร

- ถนนลูกรังแยกจากทางหลวงหมายเลข 226 ถึงบ้านหนองหวาย ระยะทาง 4 กิโลเมตร

- ถนนลาดยางจากบ้านหนองบัวไชยวาน – บ้านหนองโอง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร

6.2 การโทรคมนาคม

- ตู้โทรศัพท์สาธารณะสัญญาณดาวเทียม 3 แห่ง

6.3 การไฟฟ้า

- หมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ทั้ง 14 หมู่บ้าน ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 1,240 ครัวเรือน

6.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ

- ลำห้วย 6 สาย

- บึง , หนองน้ำ 18 แห่ง

6.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- ฝาย 5 แห่ง

- บ่อน้ำตื้น 120 แห่ง

- ประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง

- ตำบลโนนสัง มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ในบาง

หมู่บ้านมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง

ข้อมูลด้านสารสนเทศ

จำนวนประชากรตำบลโนนสัง ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ แยกตามช่วงอายุ ดังนี้

ช่วงอายุประชากร จำนวนเพศชาย (คน) จำนวนเพศหญิง(คน) จำนวนรวม(คน)

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 16 14 30

1 ปีเต็ม – 2 ปี 51 35 86

3 ปีเต็ม – 5 ปี 101 86 187

6 ปีเต็ม – 11 ปี 249 213 462

12 ปีเต็ม – 14 ปี 145 114 259

15 ปีเต็ม – 17 ปี 87 90 177

18 ปีเต็ม – 25 ปี 183 159 342

26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม 713 749 1,462

50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม 285 321 606

มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป 171 269 440

รวมทั้งหมด 2,001 2,050 4,051

หมายเหตุ จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากการสำรวจนี้อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในทะเบียนบ้าน สำรวจ ณ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564