ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”

อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี “เพื่อสมทบทุนก่อสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ”

ณ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 045 - 612601 โทรสาร 045 - 615951

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารึ" คือห้องสมุดประชาชนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งกรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดตั้งขึ้นในเขตอำเภอที่ไม่ใช่อำเภอเมืองและยังไม่มีห้องสมุดประชาชนเลย

ประวัติความเป็นมา

การจัดตั้งห้องสมุดประชาชนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่พุทธศักราช 2459 คือเริ่มมีแผนกห้องสมุดขึ้นในกรมราชบัณฑิต กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) และได้จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในพระนครขึ้น 3 แห่งแรก คือ ที่วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) และวัดประยุรวงศาวาส จนถึงปี 2533 (โกศล ชูช่วย : 5) มีห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ 507 แห่ง เป็นห้องสมุดประชาชนจังหวัด 72 แห่ง ห้องสมุดประชาชน อำเภอ 403 แห่ง และเป็นห้องสมุดระดับตำบล 32 แห่ง (ดูเรื่อง "ห้องสมุดประชาชน" โดยฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน ในสารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 6มกราคม - มิถุนายน 2530 ประกอบ)

ส่วนโครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ได้เริ่มตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2534 ซึ่งเป็นปีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 3 รอบ กรมการศึกษานอกโรงเรียน

กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ เป็นอธิบดี ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนตามแนวพระราชดำริฯ ขึ้น โดยจัดตั้งในเขตอำเภอที่ไม่ใช่อำเภอเมืองและยังไม่มีห้องสมุดประชาชน เพราะในเขตอำเภอเมืองจะมีห้องสมุดประชาชนจังหวัดตั้งอยู่แล้ว และได้บอพระราชทานนามห้องสมุดที่จะดำเนินการตามโครงการจากพระองค์ท่านซึ่ง ก็ได้รับพระราชทานนามมาว่า "ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี" จำนวนที่จะจัดสร้างครั้งแรกที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ 37 แห่ง เมื่อมีการแจ้งแนวคิดนี้ไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อให้แจ้งความต้องการไปยังกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยที่จังหวัดที่พร้อมจะร่วมโครงการนั้น ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 1 ไร่ อยู่ในสถานที่ชุมชนมีเงินสนับสนุนการก่อสร้างร่วมกับกรมฯ คนละครึ่งซึ่งงบก่อสร้างตามแบบที่ประมาณการไว้ในขณะนั้น เป็นค่าก่อสร้างประมาณหลังละ 2.5 ล้านบาท งบดำเนินการประมาณ 5 แสนบาท ดังนั้นจังหวัดต้องมีเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านบาท ต่อการสร้างห้องสมุด 1 แห่ง ปรากฏว่ามีจังหวัดที่พร้อมจะดำเนินการได้แจ้งความประสงค์ไปยังกรมฯ จำนวน 44 จังหวัด 51 อำเภอ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างมาก

นอกจากนี้ในช่วงปี 2534 - 2543 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น "ทศวรรษแห่งการหนังสือ" จึงมีการรณรงค์ให้ประชากรของโลกรู้หนังสืออ่านออกเสียงได้ให้มากที่สุด ห้องสมุดประชาชนจะเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่จะทำให้ความคิดดังกล่าวประสบผล กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้วางแนวทางการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีไว้ว่า ในช่วงทศวรรษดังกล่าวจะพยายามตั้งห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีให้ได้ 270 แห่ง ในอำเภอที่ขังไม่มีห้องสมุดประชาชน ถ้าเป็นผลสำเร็จ ประเทศไทยก็จะมีห้องสมุดประชาชนครบทุกอำเภอ

รูปแบบลักษณะของห้องสมุด

ลักษณะห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีมีดังนี้

1. พื้นที่ก่อสร้าง บริเวณที่ก่อสร้างห้องสมุดต้องมีพื้นที่ 2 งาน ถึง 1 ไร่ หรือมากกว่า

2. ลักษณะอาคาร เป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 320 ตารางเมตร แผนผังอาคารเป็นแบบเดียวกันหมด แต่รูปด้านหน้าอาคารให้จัดสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นนั้นๆ เช่นทางภาคเหนือจั่วมีกาแล ทางภาคใต้มีลักษณะเป็นรูปพระอาทิตย์ ทางภาคอีสานอาจใช้กระเบื้องดินเผาด่านเกวียนมาประดับผนังด้านนอก นอกจากนี้ให้มีครุภัณฑ์ห้องสมุดที่จำเป็น เช่น ชั้นหนังสือแบบเปิด ชั้นวางวารสาร โต๊ะบริการยืมคืน โต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งอ่านหนังสือ และให้มีส่วนประกอบเหมือนกันดังนี้

2.1 พื้นที่หน้าจั่วของห้องสมุดมีป้ายสี่เหลี่ยมขนาด 5 ตารางเมตร ภายในป้ายมีนามาภิไธยย่อ และ

ข้อความดังนี้

(พระนามาภิไธยย่อ สธ)

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"

เฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2 เมษายน 2534

2.2 ป้ายชื่อห้องสมุดอาจตั้งอยู่นอกอาคารหรือติดกับตัวอาคาร มีข้อความดังนี้


ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"

อำเภอ ........................ จังหวัด .........................

2.3 มีแท่นประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาๆ สยามบรมราชกุมารี ตั้งไว้

ที่ห้องโถงชั้นล่างของอาคาร ประกอบด้วย

2.3.1 ด้านหน้าติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ มีแผ่นป้ายติดอยู่ด้านล่างมีข้อความว่า


ร่วมกันทำให้ชาวโลกอ่านออกเขียนได้

Let's join in making a literate world

2.3.2 ด้านหลังติดตั้งแผ่นศิลาฤกษ์ และรายนามผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างห้องสมุด

การใช้พื้นที่ห้องสมุด

พื้นที่ทั้งสองชั้นของห้องสมุดส่วนใหญ่มีการแบ่งประโยชน์ใช้สอย ดังนี้

พื้นที่ชั้นล่าง

1) ใช้เป็นห้องอ่านหนังสือทั่วไป เป็นห้องที่มีพื้นที่ประมาณ 75 ตารางเมตร เป็นที่วางชั้นหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสารและหนังสือพิมพ์ และอาจมีมุมต่างๆ ด้วย เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

2) มีมุมเด็ก จัดเป็นมุมสำหรับเด็ก มีเก้าอี้ตัวเล็กๆ มีเสื่อหรือเสื่อน้ำมันปู มีหมอนอิง ให้เด็กได้นั่งอ่าน นอนอ่านตามสบาย นอกจากมีหนังสือสำหรับเด็กแล้วก็อาจมีของเล่นที่เสริมพัฒนาการด้านต่างๆเสริมความคิดสร้างสรรค์

3) เป็นที่ตั้งเคาน์เตอร์ยืม - คืน และห้องทำงานของบรรณารักษ์

4) ห้องน้ำชายและหญิงมีทางเข้าจากด้านนอก

พื้นที่ชั้นสอง

1) มีห้องสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายในห้องมีพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพๆ และหนังสืออื่นๆ ที่เขียนเกี่ยวกับพระองค์ท่าน หนังสือเกี่ยวกับราชวงศ์จักรี รวมทั้งสื่อโสตทัศน์

เช่น วีดิทัศน์ สไลด์ ที่เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ

2) มีห้องสื่อโสตทัศน์ จัดให้มีสื่อโสตทัศน์หลากหลายประเภท เช่น วีดิทัศน์ เทปตลับ เครื่องรับ

วิทยุและเครื่องเล่นเทปตลับ เล่นจานคอมแพกต์ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น สามารถให้

บริการแก่ผู้ใช้เป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลได้ นอกจากนี้ยังให้มีบริการนอกสถานที่ไปยังชุมชนที่ห่างไกลเป็น

ครั้งคราวได้อีกด้วย

3) ห้องอเนกประสงค์เพื่อไว้ใช้จัดกิจกรรมการประชุม การอบรม การสาธิต ของห้องสมุดหรือของ

ชุมชน

บริเวณภายนอกห้องสมุด

บริเวณภายนอกห้องสมุดให้จัดเป็นสวน มีทั้งไม้ใหญ่ให้ร่มเงามีไม้ดอกไม้ประดับมีศาลาพักร้อน สนาม

เด็กเล่น มีซุ้มอ่านหนังสือ ไม้ดอกไม้ประดับควรเลือกไม้ที่มีในท้องถิ่น หรือจัดเป็นไม้เฉพาะกลุ่ม เช่น ไม้ใน

วรรณคดี ไม้หายาก เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้มาชม

บุคลากรห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีในโครงการแต่ละแห่ง มีอัตรากำลังเต็มรูปแบบคือ

บรรณารักษ์ 1 คน เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 3 คน นักการภารโรง 1 คน และยาม 1 คน รวม 7 คน แต่สำหรับ

ระยะเริ่มแรกทางกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้พยายามจัดให้ได้อย่างน้อย 3 คน คือ บรรณารักษ์ เจ้า

หน้าที่ห้องสมุด และนักการภารโรง อย่างละ 1 คน


ประวัติความเป็นมาห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษ 40 กิโลเมตร มีเขตให้บริการ 13 ตำบล 190 หมู่บ้าน

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดสร้างขึ้นบริเวณที่สาธารณประโยชน์บ้านเมืองคง ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ 1-2-00 ไร่ และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ห้องสมุดประชาชน“เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการ เป็นลำดับที่ 113

นายสุรศักดิ์ สีดาบุตร ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอราษีไศล นำเรื่องเข้าหารือ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอราษีไศล ได้รับความเห็นชอบ ให้ใช้พื้นที่ จำนวน 1 ไร่ 2 งาน ในพื้นที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอราษีไศล ในห้วงเวลาที่ นายสุพจน์ แสนมี ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอราษีไศล ในขณะนั้น

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอราษีไศล ได้หารือกับ สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ ในการจัดทำโครงการจัดสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตามแปลน อาคารห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ปรับปรุง (08/2545) และ เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการอนุมัติจาก นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ในขณะนั้น โดยโครงการก่อสร้างได้รับอนุมัติจากงบประมาณพัฒนาจังหวัด จำนวน 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน)

ในการขอใช้พื้นที่ก่อสร้างนั้น สำนักงาน กศน. จังหวัดศรีสะเกษ ได้ประสานงาน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษและดำเนินตามขั้นตอนการขอใช้กับกรมปศุสัตว์และในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2560 นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขานุการกรมปศุสัตว์ เดินทางมาตรวจพื้นที่ในการก่อสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และได้เห็นชอบในหลักการ

ในการนี้สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ ได้เสนอโครงการจัดสร้างห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอราษีไศลตามลำดับชั้นและกระทรวงศึกษาธิการได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมโครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้สร้างใน ลำดับที่ 113

ส่วนการดำเนินการขอใช้ที่สาธารณประโยชน์นั้น นายวรินทร์ วิรุณพันธ์ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดศรีสะเกษ ในขณะนั้น ได้ลงนามในหนังสือการขอถอนขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์และคำขอรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ประกอบคำขอใช้ที่สาธารณประโยชน์กับสำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาราษีไศลและในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 นายช่างรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาราษีไศล ดำเนินการรังวัดบริเวณก่อสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาราษีไศล เพื่อออกหลักฐานหนังสือสำคัญในลำดับต่อไป

- โครงการส่งเสริมสังคมน่าอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิต

- งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 (งบพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ) จำนวน 9,000,000 บาท

- ระยะเวลาดำเนินการ 8 กุมภาพันธ์ – 6 ตุลาคม 2562

- งบประมาณก่อหนี้ผูกพัน (วงเงินตามสัญญา) 7,287,000 บาท

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ อนุมัติงบประมาณก่อสร้าง จำนวน 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน)

ในการขอใช้พื้นที่ก่อสร้างนั้น นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขานุการกรมปศุสัตว์ เดินทางมาตรวจพื้นที่ในการก่อสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2560 และได้เห็นชอบในหลักการ

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอราษีไศล ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมโครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้สร้างในลำดับที่ 113

ขนาด : 5 ม. x 2.05 ม.

ความสำคัญ : เป็นมุมที่ให้บริการติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" การยืม - คืนหนังสือและสื่อต่างๆ

การตกแต่ง : ชั้นวางหนังสือ, ลายฉลุพลาสวูด, หุ้มเสาด้วยโครงไม้ติดลามิเนต, บุผ้าพื้นเมือง, เคาน์เตอร์, ลิ้นชักตู้เก็บของ

งบประมาณ :

ขนาด : 20 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : เป็นมุมที่ให้บริการหนังสือตามหมวดหมู่ รายละเอียดดังนี้

    • 1หมวดใหญ่ 000 – วิทยาการคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และงานทั่วไป

    • 2หมวดใหญ่ 100 – ปรัชญาและจิตวิทยา

    • 3หมวดใหญ่ 200 – ศาสนา

    • 4หมวดใหญ่ 300 – สังคมศาสตร์

    • 5หมวดใหญ่ 400 – ภาษา

    • 6หมวดใหญ่ 500 – วิทยาศาสตร์

    • 7หมวดใหญ่ 600 – เทคโนโลยี

    • 8หมวดใหญ่ 700 – ศิลปะและนันทนาการ

    • 9หมวดใหญ่ 800 – วรรณกรรม

    • 10หมวดใหญ่ 900 – ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

การตกแต่ง : ชั้นวางหนังสือ, หนังสือตามหมวดหมู่

งบประมาณ :

ขนาด :

ความสำคัญ : เป็นมุมแสดงพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การตกแต่ง : ตู้หนังสือโครงไม้กรุไม้อัดตกแต่งคิ้วไม้ชั้นกระจก 8 มม.ติดดาวน์ไลท์, ลูกฟักกรุไม้อัดสักตกแต่งคิ้วไม้, ซุ้มพระบรมฉายาลักษณ์, พื้นยกระดับตกแต่งคิ้วไม้ปูพรม

งบประมาณ :

ขนาด : 5 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : เป็นมุมให้บริการสำหรับเด็กและครอบครัว มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการสำหรับเด็กทุกช่วงวัย มีหนังสือและสื่อต่างๆ ให้บริการ

การตกแต่ง : ชั้นวางหนังสือ, พื้นปูลามิเนต, พื้นยกระดับปูพรม, ม้านั่งโครงไม้ปูเบาะหนังเทียม, ชั้นวางวารสาร, หนังสือพิมพ์

งบประมาณ :

ขนาด : 5 ม. x 2.05 ม.

ความสำคัญ : เป็นมุมที่ให้บริการในด้านการสืบค้นข้อมูล โดยให้บริการในสื่อต่างๆหลากหลายชนิด เช่น คอมพิวเตอร์, หูฟัง, สัญญาณอินเตอร์เน็ต

การตกแต่ง : ตัวหนังสือฉลุพลาสวูด, โครงไม้กรุไม้อัดติดภาพพิมพ์ Ink Jet ซ่อนไฟ LED, โต๊ะวางคอม แป้นพิมพ์, อคลิลิคใส,

งบประมาณ :

ขนาด : 10 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : จัดนิทรรศกาและโมเดลจำลองเกี่ยวกับนวัตกรรม เช่น มอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า, พลังงานแสงทิตย์พิชิตภัยแล้ง, เครื่องทำไส้กรอก/ขนมจีน, สาธิตการดูแล ต้นพันธ์โกโก้

การตกแต่ง : โมลเดลจำลองนิทรรศการต่างๆ, ชั้นหนังสือติดผนัง, จอ LEDหรือจอโปรเจ็คเตอร์, พื้นปูพรม, ผนังบุผเาพื้นเมือง, พื้นยกระดับปูพรม

งบประมาณ : 200,000 บาท

ขนาด : 5 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : ภาพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จอำเภอ ราษีไศล (เปิดฝายราศีไศล, เสด็จนาส่วนพระองค์)

การตกแต่ง : ผ้าม่าน, พรมโต๊ะ, สมุดลงลายพระหัตถ์, ชั้นวางหนังสือ, โต๊ะ, เก้าอี้

งบประมาณ : 300,000 บาท

ขนาด : 5 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : เป็นการจัดนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ รายละเอียดดังนี้

  1. ภาพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จอำเภอราษีไศล (เปิดฝายราษีไศล, เสด็จนาส่วนพระองค์)

  2. รัชกาลที่ ๙ เสด็จศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษและวัดปราสาทเยอ

  3. รัชกาลที่ ๑๐ และสมเด็นพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จ อ. ศิลาลาด

  4. เชื้อพระวงศ์เสด็จจังหวัดศรีสะเกษ

การตกแต่ง : ถ้วยพระราชทาน, จอ LED แสดงภาพอนิเมชั่น, แสง, สี, เสียงฯ

งบประมาณ : 200,000 บาท

ขนาด : 5 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : เป็นการจัดนิทรรศการตำนานและวิถีชีวิตของชาวราษีไศล รายละเอียดดังนี้

1. ชนเผ่าในอำเภอราษีไศล (วิถีเผ่าเยอ, การเป่าสะไน, หนังตะลุงอีสาน)

2. วิถีลุ่มน้ำมูล (ชาวนาทุ่งกุลา – บ้านอุ่มแสง, วิถีการหาปลาริมมูล)

3. แหล่งท่องเที่ยวอำเภอราษีไศล

4.โบราณสถาน โบราณวัตถุ อำเภอราศีไศล

5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอราศีไศล

การตกแต่ง : โมเดลวิถีชีวิตชาวราษีไศล, สะไน, หนังตะลุงอีสาน, โบราณวัตถุฯ

งบประมาณ : 250,000 บาท

ขนาด : 10 ม. x 5 ม.

ความสำคัญ : เป็นการจัดนิทรรศการความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ รายละเอียดดังนี้

1. นิทรรศการ 4 เผ่าไทย

2. ของดีศรีสะเกษ

3. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ

4. เมืองเกษตรกร เมืองผ้า เมืองกีฬา

5. แหล่งท่องเที่ย

6. พระอริยสงฆ์, คำสอนของอริยสงฆ์

การตกแต่ง : โมลเดล 4 เผ่าไทย, ของดีศรีสะเกษ (หอม กระเทียม), โมเดลประวัติความเป็นมา, เกษตรกรรม, ผ้าไหม, นักกีฬาที่มีชื่อเสียง, พระอริยสงฆ์

งบประมาณ : 400,000 บาท

แผนที่ ที่ตั้งห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ