CEFR

CEFR ย่อมาจาก

Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) คือมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา CEFR ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป และมีการยอมรับเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก EF SET เป็นมาตรฐานการทดสอบภาษาอังกฤษเดียวที่วัดระดับทักษะทั้งหมดได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับชำนาญ โดยอ้างอิงตามกรอบ CEFR แบบทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับมาตรฐานอื่น ๆ สามารถประเมินระดับความเชี่ยวชาญได้บ้าง แต่ไม่ใช่ระดับทั้งหมดของ CEFR

ทำไม CEFR จึงมีความสำคัญ

ในยุโรป CEFR ได้เพิ่มมาตรฐานการอธิบายระดับความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศของคุณ โดยเฉพาะในการศึกษา หากคุณเรียนมากกว่าหนึ่งภาษา ที่ยุโรปสามารถใช้ CEFR แสดงระดับภาษาที่มากกว่าสองภาษาในประวัติย่อของคุณ CEFR เป็นกรอบมาตรฐานทั่วทั้งยุโรปในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยและสามารถใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดอย่างไรก็ตาม ในเชิงขององค์กร CEFR ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง หากคุณตัดสินใจที่จะใช้ CEFR ในประวัติย่อสำหรับเหตุผลด้านการทำงาน วิธีที่ดีที่สุดคือการระบุเกณฑ์บ่งชี้ระดับทักษะ แสดงคะแนนทดสอบมาตรฐาน และตัวอย่างประสบการณ์ใช้ทักษะทางภาษาของคุณ (การศึกษาต่างประเทศ การทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น)

มีระดับอะไรบ้าง?

ระดับรายละเอียด

C2 (Proficient)

เข้าใจและมองเห็นภาพได้ทั้งจากการอ่านหรือได้ยินอย่างชัดเจน สามารถสรุปข้อมูลจากหลายๆแหล่ง นำมาปรับคำและเชื่อมโยงถึงกันได้ มีความรู้ มีความเข้าใจภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ สามารถแสดงความเห็นได้อย่างคล่องแคล่วแม้ว่าจะเป็นบริบทคำพูดที่มีความซับซ้อน

C1 (Proficient)

เข้าใจความต้องการที่หลากหลายหรือหนังสือที่มีความยาวได้ มีความรู้ ความเข้าใจภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ สามารถแสดงความเห็นได้อย่างคล่องแคล่วและไม่ใช้เวลานานมากนัก แต่ยังคงใช้ภาษาในการพูดคุยตั้งแต่ระดับไม่เป็นทางการไปจนถึงทางการได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถทำความเข้าใจและเขียนเรื่องซับซ้อนออกมาได้

B2 (Intermediate)

เข้าใจใจความหลักของเรื่องราวที่ซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมถึงในเชิงของความเชี่ยวชาญพิเศษ สามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้โดยปราศจากความเครียด สามารถเขียนอธิบายเนื้อหาได้หลากหลายหัวข้อ และอธิบายปัญหาจากการบอกข้อดีข้อเสียได้

B1 (Intermediate)

เข้าใจจุดประสงค์หลักของสถานการณ์ที่เป็นพื้นฐาน เช่น ที่ทำงานงาน, โรงเรียน, การท่องเที่ยว เป็นต้น สามารถจัดการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นระหว่างการท่องเที่ยว สามารถสื่อสารด้วยเรื่องที่คุ้นเคยอยู่แล้วได้ และสามารถอธิบายประสบการณ์ของเหตุการณ์, ความฝัน, ความต้องการส่วนตัว ด้วยเหตุผลหรือมีลักษณะเป็นแผนการได้

A2 (Beginner)

เข้าใจประโยคที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน สามารถสื่อสารเรื่องที่เป็นกิจวัตรหรือคุ้นเคยอยู่แล้วได้ และสามารถอธิบายประวัติอย่างง่ายของตัวเองได้

A1 (Beginner)

เข้าใจประโยคที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน สามารถแนะนำตัวเอง ถามและตอบคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนบุคคลได้ เช่น ของที่มี สถานที่อยู่อาศัย และสามารถโต้ตอบกับผู้อื่นได้ แต่ต้องพูดช้าและชัดเจน