5.ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

5. ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจสารสนเทศและสื่อในยุคดิจิทัล เพื่อที่สามารถระบุข้อมูลที่ ต้องการหาข้อมูลนั้น ประเมินประโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลนั้น จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากนั้นผู้ศึกษายังจำเป็นต้องสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นความรู้ เพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ผ่านทางการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คําถามสําคัญ

  • ต้องมีความรู้อย่างไรบ้างถึงจะสามารถนําข้อมูลในยุคดิจิทัลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้?
  • ทักษะการคิด (Thinking Skills) ที่จําเป็นในยุคดิจิทัลคืออะไร?
  • ข้อมูลและสารสนเทศไหนเป็นความจริง?
  • การนําเสนอข้อมูลที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัลต้องทําอย่างไร?

จุดประสงค์หลัก

  • เข้าใจสารสนเทศและสื่อ (Information and Media Literacy) ผ่านทางสื่อดิจิทัล (Digital)
  • เข้าใจวิธีการแยกแยะและเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต
  • เข้าใจการประเมินข้อมูลด้วยวิธี การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  • เข้าใจความแตกต่างระหว่าง ข้อเท็จจริง (Fact) ความจริงบางส่วน (Half-Truth) ความคิดเห็น (Opinion)
  • เข้าใจวิธีการนําเสนอข้อมูลด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในยุคดิจิทัล

สมรรถนะ

  • สามารถเปรียบเทียบและแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลจากแหล่งต่างๆได้
  • สามารถประเมินข้อมูลโดยวิธีการคิดเชิงวิพากษ์ได้
  • สามารถตัดสิน ความมีประโยชน์ (Usefulness) หรือ ความสัมพันธ์ (Relevance) และความเป็นจริง (Truthfulness) หรือความน่าเชื่อถือ (Credibility) ของแหล่งข้อมูลกับเนื้อหาที่สนใจได้
  • สามารถแยกแยะระหว่าง ข้อเท็จจริง (Fact) กับความคิดเห็น (Opinion) ได้
  • สามารถนําเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับยุคดิจิทัล


5.pdf