03-อำนาจหน้าที่

    1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ

    2. จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ

    3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

    4. จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของผู้เรียน

    5. ออกระเบียบข้อบังคับต่างๆรวมทั้งระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา

    6. กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตาม แผนงานโครงการ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดำเนินงานทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษา

    7. ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของโรงเรียน ทั้งที่เป็นราชพัสดุและทรัพย์สินอื่นๆตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

    8. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

    9. ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น

    10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายใน หรือตามที่ได้รับมอบหมาย และตามที่กฎหมายกำหนดให้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

    1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545

    2. พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) มาตรา 39 (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา)

    3. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2547 (ออกตาม ม.34 วรรคสี่ ของ พรบ.บริหารศธ.)

    4. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา (ออกตามม.39 วรรคสอง พรบ.กศ แห่งชาติ 2542)

    5. ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 (ออกตาม ม.35 พรบ.บริหาร ศธ.)

    6. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546

    7. ระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ

บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ

    1. จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป

    2. จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ

    3. พัฒนาหลักสูตร /จัดการเรียนการสอน

    4. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ

    5. กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ

    6. ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ

    7. จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

    8. ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สร้างความสัมพันธ์

บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ

    1. 1) จัดรูปแบบการศึกษา ม.15

    2. 2) จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30

    3. 3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม. 39

    4. 4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ม. 40

    5. 5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม. 48-50

    6. 6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ ม. 59

    7. 7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ ม. 65-66

  2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

    1. 1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6

    2. 2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่

    3. 3) จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12

    4. 4) ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด

  3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39)

    1. 1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา

    2. 2) บริหารกิจการสถานศึกษา

    3. 3) ประสานระดมทรัพยากร

    4. 4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา

    5. 5) จัดทำรายงานประจำปีต่อ กก.เขตพื้นที่

    6. 6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร

    7. 7) อื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย

    8. 8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ(ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 ปลัดศธ. เลขาฯ ถึงผอ.สถานศึกษา ผอ.สำนักฯในกรม ถึง ผอ.สถานศึกษา ผอ.สพท. ถึง ผอ.สถานศึกษา

  4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2546

    1. 1) วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา

    2. 2) วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ

    3. 3) เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป

    4. 4) แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ

  5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

    1. 1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1)

    2. 2) พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2)

    3. 3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร ม.27(3)

    4. 4) จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ม.27(4)

    5. 5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5)

    6. 6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6)

    7. 7) สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49

    8. 8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร ม.53(4)

    9. 9) สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง

    10. 10) สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป ม.56 วรรคสอง

    11. 11) สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64

    12. 12) สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ม.68

    13. 13) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ม.73

    14. 14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75

    15. 15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.8

    16. 16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79

    17. 17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81

    18. 18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82

    19. 19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98

    20. 20) อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก ม.108

    21. 21) สั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4)

    22. 22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบต าแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จำคุก

  6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัด สพท. พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้

    1. 1) ผู้อำนวยการฯเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา

    2. 2) นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงาน สพท. แจ้งสพฐ.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบด าเนินคดี

    3. 3)การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ.ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

    4. 4) ยุบ รวม เลิก รร. สพท.ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตามหลักเกณฑ์ สพฐ.กำหนด

    5. 5) โรงเรียนมีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ แต่จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน ต้องเห็นชอบ รายงาน สพท.

    6. 6) โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อำนาจที่เลขา กพฐ.มอบ หรือ ผอ.สพท.มอบตามหลักเกณฑ์ที่สพฐ.กำหนด ยกเว้นเงินเดือน

    7. 7) จัดทำระบบการเงิน บัญชี ตามระเบียบ สพฐ.กำหนด และทรัพย์สินฯผู้อุทิศทำหลักฐานการรับบัญชีรับจ่ายฯรายงาน ผอ.สพท.ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผอ.สพท.ตรวจสอบและรายงานเลขา กพฐ. โดยเร็ว

  7. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น

    1. 1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548

    2. 2.กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา

    3. 3.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548

    4. 4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547

    5. 5. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547

    6. 6.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547

    7. 7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547

    8. 8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547

    9. 9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547

    10. 10. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547

    11. 11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ(ฉ.2) พ.ศ.2547

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

    1. อำนาจหน้าที่ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตราที่ 38 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรา 40 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545

    2. อำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตราที่ 26 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้

    3. 1) กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. กศจ. และเขตพื้นที่การศึกษากำหนด

    4. 2) เสนอความคิดเห็น ความต้องการจำนวนและอัตราต าแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ เขตพื้นที่การศึกษาและ กศจ.พิจารณา

    5. 3) ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา

    6. 4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.และหรือ กศจ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย