ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหลักเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล

1. ด้านการถวายอารักขา การรักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติที่กระทบต่อความมั่นคง

     1.1 การถวายอารักขา และรักษาความปลอดภัย
1.1.1 ถวายความปลอดภัย และถวายพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรม    วงศานุวงศ์ ตลอดจนพระราชอาคันตุกะอย่างเต็มความสามารถ โดยถือว่าเป็นภารกิจสำคัญสูงสุด
1.1.2 การป้องกันและปราบปรามการละเมิดพระบรมเดชานุภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ข้าราชการตำรวจทุกนายจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นจะต้องเข้าควบคุมกำกับดูแลการดำเนินคดี เพื่อให้การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
มีความถูกต้อง เป็นธรรม ตามขั้นตอนของกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
1.1.3 รักษาความปลอดภัยบุคคล และสถานที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ

      1.2 การปฏิบัติที่กระทบต่อความมั่นคง
1.2.1 พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบข่าวกรอง สร้างโครงข่ายการประสานงานด้านการข่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
1.2.2 สร้างความพร้อมของหน่วยในสังกัดในการเผชิญเหตุเพื่อรองรับสถานการณ์พิเศษ  เช่น การชุมนุมประท้วง การก่อเหตุการณ์ไม่สงบต่างๆ
โดยมีการฝึกทบทวนการควบคุมฝูงชนและการแก้ไขวิกฤติการณ์ ตามแผนกรกฎ 52 อย่างน้อย สภ.ละ 2 เดือน/ครั้ง
1.2.3 พัฒนาศักยภาพด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ โดยการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

2. ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม

     2.1 การป้องกันอาชญากรรมทั่วไป
2.1.1 ส่งเสริมบทบาทคณะกรรมการตรวจสอบและพัฒนาการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ใน  ทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
2.1.2 ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมชุมชน และพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างตำรวจภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการสร้างพลังชุมชน
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
2.1.3 สร้างแรงจูงใจและหรือยกย่องเชิดชูเกียรติแก่เครือข่ายชุมชนในการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
2.1.4 รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมเป็นพลังแผ่นดิน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
2.1.5 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานในการป้องกันอาชญากรรมและเข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่องเฝ้าระวัง รวมทั้งแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ที่จะเกิดขึ้นในสังคม
2.1.6 เน้นการดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ กิจการที่เป็นแหล่งส่งเสริมให้เกิดอาชญากรรม ได้แก่ สถานบริการ ร้านรับซื้อของเก่า โรงรับจำนำ และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
2.1.7 ให้ความสนใจกับสถานประกอบการหรือกลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมฉ้อโกงประชาชน โดยใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าดำเนินการอย่างจริงจัง เช่น การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หรือ การหลอกลวงประชาชนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น

      2.2 การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก
2.2.1 วิเคราะห์แนวโน้มของอาชญากรรมล่วงหน้า ทั้งแผนประทุษกรรมของคนร้าย ประเภทคดี ห้วงเวลาที่เกิด และเหยื่อที่ถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยการนำทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาปรับใช้
2.2.2 สร้างปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อเข้าไปทราบสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอาชญากรรม ทั้งส่วนที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยในการป้องกันอาชญากรรม แล้วดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกัน และสร้างให้เกิดแนวคิดในการมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
2.2.3 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยี และระบบสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมอาชญากรรม ตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2.4 การบริหารจัดการและพัฒนาสายตรวจ
2.4.1 เน้นการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕
2.4.2 กำหนดตรวจวัสดุอุปกรณ์ประจำกาย และประจำยานพาหนะของสายตรวจ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วยในสังกัด
2.4.3 พัฒนาสายตรวจตำบล (ตู้ยามตำรวจ) ให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติ ตามโครงการสายตรวจตำบลต้นแบบของ ภ.6
2.4.4 พัฒนางานสายตรวจทางน้ำเพื่อรองรับปัญหาอุทกภัยในพื้นที่

      2.5 การสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม

            2.5.1 การสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมทั่วไป

               2.5.1.1 พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (ศปป.ภ.จว.พช.) ให้มีประสิทธิภาพในการควบคุม สั่งการ กำชับ ดูแล ประเมินผลการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของหน่วยในสังกัด

               2.5.1.2 ระดมกวาดล้างอาชญากรรมอย่างต่อเนื่องตามห้วงเวลาที่เหมาะสม โดยมีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

               2.5.1.3 สืบสวนปราบรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอบายมุข ตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐบาล ให้มีผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

               2.5.1.4 เพิ่มสถิติการจับกุมคดีอาญา 4 กลุ่ม ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 5 ของผลการจับกุมของแต่ละหน่วย เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ.2556

               2.5.1.5 ติดตามจับกุมคดีค้างเก่าตามหมายจับ ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

     2.6 การปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด

            2.6.1 กำหนดแผนการปฏิบัติการปราบปราม และสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเน้นการปราบปรามนักค้ารายสำคัญ รายย่อย

รวมถึงผู้มีอิทธิพล และผู้สนับสนุนอย่างเฉียบขาดภายในขอบเขตของกฎหมาย และสนับสนุนด้านการฟื้นฟูบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติด แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

               2.6.2 พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจในการนำกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อมมาบังคับใช้ เพื่อปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างจริงจัง

     2.7 การปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               2.7.1 กำหนดแผนการดำเนินการอย่างชัดเจนทั้งทางด้านป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหา โดยเน้นการปราบปราม ควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ประชาชน หมู่บ้าน หรือชุมชน เพื่อให้ตระหนักถึงผลเสียหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการทำลายธรรมชาติ

              2.7.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก เพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง พิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ

              2.7.3 พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติมีความรู้ ความเข้าใจ ที่จะนำกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อมมาบังคับใช้ในการปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติให้ได้ผลอย่างจริงจัง

              2.7.4 พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความทันสมัย

      2.8 การปราบปราม และแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

              2.8.1 กำหนดแผนการดำเนินการอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการปราบปราม และแก้ไขปัญหา โดยเน้นการดำเนินการไปที่ผู้นำพา ผู้ให้ที่พักพิง นายทุน ผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง

              2.8.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก เพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามแนวชายแดนเพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลเสียหรือภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากแรงงานต่างด้าว เช่น ยาเสพติด การแพร่ระบาดของเชื้อโรคบางชนิด หรือภัย      ด้านความมั่นคง เป็นต้น

             2.8.3 พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติมีความรู้ ความเข้าใจ ที่จะนำกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อม มาบังคับใช้ในการปราบปราม และแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้ได้ผลอย่างจริงจัง
2.9 การอำนวยความสะดวก และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร
2.9.1 พัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ ทั้งด้านการควบคุม การจราจร และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.9.2 พัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการรักษาสถานที่เกิดเหตุ การทำแผนที่เกิดเหตุเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือพนักงานสอบสวน ในการปฏิบัติได้อย่าง   มีประสิทธิภาพ
2.9.3 พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร มีความพร้อมในการสนับสนุนด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.9.4 กำหนดแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดกฎหมายด้านการ จราจร ด้วยวิธีการอื่นแทนการเปรียบเทียบปรับ
2.9.5 กำหนดแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อลดจำนวนของการเกิดอุบัติเหตุ และการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน
2.10 การพัฒนาและเสริมสร้างสมรรถนะทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่โดยเน้นไปที่การฝึกทบทวนยุทธวิธีตำรวจ และใช้อาวุธปืนประจำกาย

3. ด้านการอำนวยความยุติธรรม

      3.1 ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ส่งเสริมงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการควบคุม กำกับดูแล พัฒนา และแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน และกระบวนการสอบสวนคดีอาญา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      3.2 พัฒนาพนักงานสอบสวนทุกระดับ ให้มีความรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวบทกฎหมายต่างๆที่มีการบัญญัติขึ้นใหม่ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เป็นอย่างดี

      3.3 สร้างจิตสำนึกให้พนักงานสอบสวน มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และใช้อำนาจโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน

       3.4 เน้นการทำวิทยาการสมัยใหม่ และความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการรวบรวมพยาน หลักฐานในการสอบสวน

       3.5 ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศที่ทันสมัยมาสนับสนุนการปฏิบัติงานสอบสวนของพนักงานสอบสวน

       3.6 พัฒนาแนวทางการประสานงาน และการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายปกครอง แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น  หรืออำนวยความยุติธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

       3.7 เสนอยกเลิก ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และคำสั่งที่ล้าสมัย ขาดสภาพการบังคับใช้ หรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน

4. ด้านการบริหารเพื่อการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน

        4.1 กระจายการบริการเข้าไปในพื้นที่อย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างตรงจุด เช่น กระจายการรับแจ้งเหตุ โรงพักเคลื่อนที่ หรือโรงพักสัญจร เป็นต้น

        4.2 สร้างจิตสำนึกข้าราชการตำรวจให้มีการบริการด้วยความเต็มใจ (Service Mind) ยิ้มแย้มแจ่มใส รวดเร็ว เสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม และไม่ปฏิเสธการให้บริการประชาชนทุกกรณี โดยให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และประสานงานเบื้องต้นแม้ไม่ใช้งานในหน้าที่โดยตรง

        4.3 พัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และการแจ้งเบาะแสต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของตำรวจได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมทั้งแจ้งผลการปฏิบัติให้ประชาชนได้รับทราบ อันมีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทาง

        4.4 สถานีตำรวจทุกแห่งต้องปฏิบัติตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนอย่างต่อเนื่องและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามโครงการทุกแห่ง โดยจัดให้มีการสุ่มตรวจสอบการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนางานตำรวจให้โปร่งใส มีมาตรฐาน

    1. พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กร

    2. นำมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มาบังคับใช้กับข้าราชการตำรวจที่ประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง

    3. ปลูกฝังให้ข้าราชการตำรวจดำรงชีวิต โดยยึดหลักคุณธรรม ๔ ประการ ของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในคราวสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ได้แก่ การรักษาความสัจ การรู้จักข่มใจตนเอง การอดทน อดกลั้น และการรู้จักละวางความชั่ว โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

     4. ปลูกฝังเรื่องจิตสำนึกให้ข้าราชการตำรวจปฏิเสธ หรือรังเกียจการทุจริตประพฤติมิชอบ

     5. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของตำรวจให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และประชาชน

     6. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยยึดถือศักดิ์ศรี จริยธรรม หลักภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม

     7. เสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมข้าราชการตำรวจในทุกระดับ

     8. ให้ความสำคัญกับการให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

     9. ปรับทัศนคติ และวิธีการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยยึดประชาชน และชุมชนเป็นศูนย์กลาง

    10. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรอบมาตรการ กระบวนงาน และกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ประชาชนรับรู้โดยใช้สื่อต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชน และเครือข่ายการปฏิบัติงานของตำรวจ

    1. บูรณาการเครือข่ายภาคประชาชน และชุมชนให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ

    2. ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายภาคประชาชนขยายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น และมีความเข้มแข็ง

    3. กำหนดแนวทาง รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความชัดเจน โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนและชุมชน

    4. ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติและหรือให้รางวัลตอบแทนคุณความดีแก่ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ

    5. สนับสนุนค่าตอบแทนและสวัสดิการให้ประชาชนและเครือข่ายตามความเหมาะสม

    6. ปรับกระบวนทัศน์ของข้าราชการตำรวจทุกระดับให้ยึดถือ “การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปรัชญาในการทำงาน”

    7. ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และหรือให้รางวัลตอบแทนคุณความดีแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ

    8. จัดทำระบบฐานข้อมูลสมาชิกเครือข่ายภาคประชาชนให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

    9. พัฒนาปรับปรุงสถานที่ทำการเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเข้มแข็งในการบริหาร

      1. การบริหารงานทั่วไป

        1.1 การบริหารที่มุ่งเน้นผลงานตามแผนยุทธศาสตร์ (ของ ตร.)

        1.2 พัฒนาระบบการจัดทำแผนงาน งบประมาณขับเคลื่อนติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

        1.3 วางระบบการจัดการด้านสวัสดิการให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

        1.4 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้บุคลากรมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่อย่างแท้จริง โดยยึดหลักความรู้ ความสามารถ โปร่งใส และเป็นธรรม

        1.5 จัดทำ และพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานภายในองค์กร

        1.6 สร้างจิตสำนึกของบุคลากรให้ทุ่มเทและอุทิศตนในการทำงาน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า และก่อให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อให้ผลงานมีมูลค่าเพิ่มขึ้นภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        1.7 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

2. การพัฒนาบุคลากร

         2.1 พัฒนาหัวหน้าหน่วย โดยเฉพาะในระดับสถานีตำรวจ ให้มีทักษะการบริหารจัดการที่ดี และสามารถบูรณาการทั้งภายใน และภายนอกหน่วยได้

         2.2 พัฒนาฝึกอบรมข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่

            2.2.1 มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะระหว่างปฏิบัติงาน (In-Service Trainning)อย่างต่อเนื่อง

            2.2.2 พัฒนาขีดความสามารถ และเพิ่มศักยภาพ (Empowerment) กำลังพลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ

             2.2.3 เสริมสร้างศักยภาพตำรวจให้มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติหน้าที่

         2.3 พัฒนาบริหารงานบุคคล ให้มีความเป็นธรรมในการให้ความดีความชอบ การแต่งตั้งโยกย้าย  เลื่อนตำแหน่ง และการลงโทษข้าราชการตำรวจอย่างมีหลักเกณฑ์โปร่งใส และตรวจสอบได้

         2.4 ให้ทุกหน่วยมีการดำเนินการด้านจิตอาสาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยหน่วยละ ๑ ครั้ง

3. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

         3.1 พัฒนาระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการประชุมสั่งการจากหน่วยเหนือ และการบริหารสั่งการหน่วยปฏิบัติ

         3.2 ส่งเสริมให้หน่วยในสังกัดใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่

         3.3 ส่งเสริมให้หน่วยในสังกัดนำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อประหยัดงบประมาณ

         3.4 พัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับกับเทคโนโลยี   ที่เปลี่ยนแปลง และสามารถนำมาปรับใช้กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการตำรวจมี Hardware ที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ

4. การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่

         4.1 พัฒนาสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต และสมรรถภาพ ให้ข้าราชการตำรวจมีความพร้อมใน    การปฏิบัติหน้าที่

         4.2 พัฒนาการจัดสวัสดิการแก่ข้าราชการตำรวจและครอบครัว ให้ทัดเทียมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี

         4.3 จัดให้มีโครงการต่างๆ เพื่อมอบรางวัลตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน     เพื่อจูงใจให้หน่วยปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติมีการพัฒนางานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการคัดเลือกสถานีตำรวจและข้าราชการตำรวจ ที่มีผลการปฏิบัติงานป้องกันอาชญากรรมดีเด่น เป็นต้น

5. การพัฒนาสถานที่ทำงาน

ทุกหน่วยในสังคมต้องจัดทำและดำเนินการตามโครงการ กิจกรรม ๕ ส. ให้เป็นรูปธรรมที่ปรากฏชัดเจน

6. การจัดหา และจัดสรรสิ่งอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่

มีการบริหารพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่า โดยมีแผนรองรับอย่างเป็นรูปธรรม

            7. เตรียมความพร้อมขององค์กร และพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน