ATTENTION for CMU MATH students

ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษาที่ประสงค์ทำหัวข้อค้นคว้าอิสระในระดับปริญญาตรี (206499) ระดับปริญญาโท (สาขาคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์ประยุกต์, การสอนคณิตศาสตร์) และระดับปริญญาเอก (คณิตศาสตร์)

1. หัวข้องานวิจัยที่สามารถให้คำปรึกษาได้

  • Cryptocurrency

  • Probability Models

  • Markov processes

  • Epidemic models

  • Financial Mathematics, Actuarial Mathematics, Investment

  • Decision making models

  • Auction theories

  • Discrete Strategic/Probabilistic games.

2. รูปแบบในการให้คำปรึกษา/ ข้อตกลง

  • อาจารย์มีแนวทางในการให้คำปรึกษาคือ จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโค้ช ซึ่งจะให้คำแนะนำในทิศทางตามที่นักศึกษาอยากหาคำตอบของงานวิจัย ตามความสามารถ/ความถนัด/ความต้องการของนักศึกษา ดังนั้นแล้ว นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ลงมือทำงานวิจัยและวิเคราะห์ผลลัพธ์เป็นหลัก (ไม่เหมาะกับนักศึกษาที่ไม่มีหัวข้อหรือแนวทางในการทำวิจัยที่ชัดเจน)

  • นักศึกษาควรมีความรับผิดชอบในการทำงานด้วยตนเอง เนื่องจากอาจารย์เน้นให้อิสระทั้งทางความคิดและเวลากับนักศึกษา และจะไม่ติดตามงาน ( ไม่เหมาะกับนักศึกษาที่ต้องการเวลา หรือคำแนะนำเยอะ ๆ /บ่อย ๆ )

  • การค้นคว้าอิสระเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ดังนั้น หากมีปัญหา อุปสรรค หรืออื่น ๆ ระหว่างการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ให้รีบแจ้งอาจารย์ เพื่อปรึกษาหรือหาทางออกร่วมกัน อย่าเงียบหายไปเพราะคิดว่าเป็นปัญหาส่วนตัว

  • เพื่อประเมินความสามารถ/ความถนัดของนักศึกษาในเชิงวิชาการ อาจารย์อาจขอผลการเรียน (transcript) เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการให้คำปรึกษา หรือเลือกหัวข้อวิจัย

3. ข้อคิดสำหรับ กระบวนวิชา 206499

  1. โดยทั่วไปแล้ว เพื่อให้งานมีคุณภาพอย่างที่ควรเป็น นศ. ต้องใช้เวลา(โดยประมาณ)

  • 5 ชั่วโมง ในการจัดเตรียมเอกสารนำเสนอ Proposal

  • 80 - 100 ชั่วโมง ในการศึกษา ค้นคว้า และทำงานวิจัย

  • 40 ชั่วโมง ในการเรียบเรียงงาน และเขียนเล่ม

  • 5 ชั่วโมง ในการจัดทำโปสเตอร์

ดังนั้น ขอให้นักศึกษาจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพราะแม้ นศ. จะเร่งงานในช่วงใกล้เดดไลน์ แต่จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการทำงานก็ยังคงเท่าเดิม

  1. อย่าลืมเผื่อเวลาให้กับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น

  • เผื่อเวลาสำหรับให้อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้อง

  • เผื่อเวลาในกรณีเจ็บป่วย หรือมีธุระสำคัญ ทั้ง นศ และอาจารย์

  • เผื่อเวลาในกรณี คอมพิวเตอร์เสีย ไฟล์หาย หรือปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ

อย่าทำทุกอย่างในนาทีสุดท้าย เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดคิด จะส่งงานไม่ทัน



ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษาที่ประสงค์ทำสัมมนา (206390)

1. หัวข้อของบทความที่ให้คำปรึกษาได้
สามารถให้คำปรึกษาในหัวข้อด้านคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อาจารย์จะไม่มีหัวข้อแนะนำให้ ขอให้นักศึกษาหาบทความที่สนใจ ตาม Journal ทางวิชาการ ทั้งนี้

อาจารย์แนะนำ Journals ตามลิสต์ด้านล่างนี้ เนื่องจากเป็นวารสารที่เหมาะสมกับระดับปริญญาตรี ไม่ยากจนเกินไป

https://www.tandfonline.com/toc/umma20/current

https://www.tandfonline.com/toc/ucmj20/current

https://www.tandfonline.com/loi/uamm20

(หากนักศึกษาใช้อินเตอร์เนตจากนอกมหาวิทยาลัย อาจต้องเชื่อมต่อโดยใช้ VPN เพื่อเข้าสู่วารสาร)

ทั้งนี้ นักศึกษาอาจเลือกบทความจาก Open Access journals อื่น ๆ ก็ได้ แต่ขอให้เป็นวารสารทางคณิตศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

2. เทคนิคการเลือกบทความ

เนื่องจากนักศึกษาจะต้องเลือกบทความด้วยตนเอง ดังนั้นแล้วนักศึกษาอาจมีคำถามว่า "บทความไหนถึงจะเป็นบทความที่เหมาะสม" ซงอาจารย์ขอแนะนำเทคนิคสำหรับเลือกบทความที่ใช่ดังนี้

  • ให้นักศึกษาลองอ่านบทความที่สนใจ และลองสรุปใจความสำคัญดังนี้

  1. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคืออะไร

  2. ผลลัพธ์ที่ได้ของงานวิจัย

  3. เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ ตอบในภาพกว้าง ๆ เช่น เทคนิคทางแคลคูลัส ทางทฤษฎีกราฟ ทางความน่าจะเป็น

  • หากนักศึกษาสามารถตอบคำถามได้ทั้งหมดหรือเข้าใจเนื้อหาได้อย่างน้อย 70% นศ. สามารถเลือกบทความนั้นได้

  • แต่หากเข้าใจเนื้อหาได้น้อยกว่านั้น บทความดังกล่าวอาจจะยากเกินไปสำหรับนักศึกษา แนะนำให้เปลี่ยนบทความ

3. รูปแบบในการให้คำปรึกษา/ ข้อตกลง

  • อาจารย์มีแนวทางในการให้คำปรึกษาคือ จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโค้ช และกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าใจบทความด้วยตนเอง ดังนั้นแล้ว นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่ลงมือแปลและทำความเข้าใจบืความนั้น ๆ เป็นหลัก (ไม่เหมาะกับนักศึกษาที่ต้องการอาจารย์ที่อธิบายที่มาที่ไป รวมถึงความเชื่อมโยงของบทความให้)

  • นักศึกษาควรมีความรับผิดชอบในการดำเนินการแปลด้วยตนเอง เนื่องจากอาจารย์จะทำหน้าที่แนะนำเท่านั้น และจะไม่ติดตามงาน ( ไม่เหมาะกับนักศึกษาที่ต้องการเวลา หรือคำแนะนำเยอะ ๆ /บ่อย ๆ )

  • เนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ดังนั้น หากมีปัญหา อุปสรรค หรืออื่น ๆ ระหว่างการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ให้รีบแจ้งอาจารย์ เพื่อปรึกษาหรือหาทางออกร่วมกัน อย่าเงียบหายไปเพราะคิดว่าเป็นปัญหาส่วนตัว

  • เพื่อประเมินความสามารถ/ความถนัดของนักศึกษาในเชิงวิชาการ อาจารย์อาจขอผลการเรียน (transcript) เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการให้คำปรึกษา หรือเลือกหัวข้อวิจัย

4. ข้อคิดสำหรับ กระบวนวิชา 206390

  1. โดยทั่วไปแล้ว เพื่อให้งานมีคุณภาพอย่างที่ควรเป็น นศ. ต้องใช้เวลา(โดยประมาณ)

  • 20 ชั่วโมง ในการทำความเข้าใจบทความ

  • 20 ในการแปลและเรียบเรียง

  • 5 - 10 ชั่วโมง ในการทำสื่อนำเสนอ และเตรียมความพร้อมอื่น ๆ

ดังนั้น ขอให้นักศึกษาจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพราะแม้ นศ. จะเร่งงานในช่วงใกล้เดดไลน์ แต่จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการทำงานก็ยังคงเท่าเดิม

  1. อย่าลืมเผื่อเวลาให้กับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น

  • เผื่อเวลาสำหรับให้อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้อง

  • เผื่อเวลาในกรณีเจ็บป่วย หรือมีธุระสำคัญ ทั้ง นศ และอาจารย์

  • เผื่อเวลาในกรณี คอมพิวเตอร์เสีย ไฟล์หาย หรือปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ

อย่าทำทุกอย่างในนาทีสุดท้าย เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดคิด จะส่งงานไม่ทัน



Possible research topics

1. Normal Approximation to Binomial Knowledge: Analysis/Probability Difficulty: Moderate to Hard

2. Football score as Poisson Process Knowledge: Probability Difficulty: Hard

3. Probabilistic Linear Algebra Knowledge: Probability/ Linear Algebra Difficulty: Moderate to Hard