บทเรียนที่ 8 ประเภทของ Flow Meter

ประเภทของ Flow Meter มีอะไรใช้กันยังไง มาดู!

ในการใช้งานตัว Flow Meter นั้น สามารถเลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยเราจะคำนึงจากการใช้งานเป็นหลัก เพื่อช่วยให้สามารถหาเลือก โฟลมิเตอร์ มาใช้งานกับของไหลได้อย่างเหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งกลุ่ม Flow Meter ไว้เพื่อการใช้งานได้ดังนี้

Positive Displacement Meters

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลแบบใช้หลักการแทนที่ เช่น Sliding vane, Oval gear meters, Lobed impeller, Oscillating piston, Nutating disc, Fluted rotor meters, Wet-type gas meters

Inferential Meters

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลแบบทางอ้อมโดยใช้ การคำนวนปริมาตรจากภาชนะที่ถูกลำเรียงผ่านกังหัน เช่น Turbine meters, Woltman meters, Propeller-type flow meters, Impeller meters

Oscillatory Flow Meters

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลที่ใช้หลักการแกว่งของตัวของชิ้นส่วนภายใน ซึ่งเกิดจากการไหลของของไหล และเอาสัญญาณที่เกิดจากการแกว่งเหล่านี้ไปใช้งาน เช่น Vortex flow meter, Vortex precession, Fluidic flow meters

Differential Pressure Meters

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลที่ใช้หลักการของการวัดค่าแรงดันตกคร่อม โดยใช้ Equation of continuity และใช้สมการ Bernoulli’s equation เพื่อนำมาคำนวณหาค่าอัตราการไหล  เช่น Conditioning orifice plate, Segmental wedge meter, V-cone meter, Venturi tube meter, Venturi nozzle meters, Flow nozzle meters, The Dall tube, Target meter, Pitot tube, Point averaging meter, Elbow meter, Variable area meters, Rotameter

Electromagnetic Flow Meters หรือ Magflows / Magmeters

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลที่มีใช้กันมานานมากกว่า 40 ปี โดยเริ่มต้นใช้งานมาตั้งแต่ Modern meters ตามมาด้วย Exhibit no moving parts จนกระทั้งเป็นแบบ Zero pressure drop โดย Magflows หรือ EM Flow meter จะอาศัยหลักการทำงานตามกฎของฟาราเดย์ Faraday’s law ซึ่งเมื่อมีตัวนำวิ่งผ่านหรือตัดผ่านสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมซึ่งแปรเปลี่ยนตามความเร็วของตัวนำนั้นๆ ซึ่งในที่นี้ตัวนำก็คือของไหลนั่นเอง

Ultrasonic Flow Meters

อัลตร้าโซนิคโฟลมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลที่อาศัยหลักการวัดความเร็วในการเดินทางของคลื่นผ่านการไหลของของไหล และมีหลักการพื้นฐานอยู่ 3 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับเซ็นเซอร์ชนิดนี้ นั่นก็คือ Doppler method, Time of flight method และ Frequency difference method ตัว Ultrasonic Flow Meters มีใช้กันมานานมากกว่า 20 ปี แล้ว โดยเหมาะสำหรับวัดของไหลที่เป็นทั้ง Liquid และ Gases

Mass Flow Measurement

เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลของมวล ซึ่งโดยปกติแล้วหลายๆ กระบวนการผลิตนั้น จะอ้างอิงเรื่องของมวล มากกว่าเรื่องของปริมาตร  ดังนั้นกระบวนการวัดอัตราการไหลของมวล จึงมีความถูกต้อง และ แม่นยำมากกว่า เนื่องจากตัวแปรต่างๆ เช่น ความหนืด ความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิ จะไม่มีผลกระทบต่อการวัดแบบนี้

Open Channel Flow Measurement

เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบสุดท้ายที่นิยมใช้ในการวัดอัตราการไหลในระบบเปิด เช่น ระบบชลประทาน ระบบบำบัดน้ำเสีย

 

Positive Displacement Flow Meters (PD Flow Meter)

Positive Displacement Flow Meter หรือ Flow Meters  ที่ใช้หลักการแทนที่ ซึ่งเป็นการวัดอัตราการไหลแบบต่อเนื่องโดยอาศัยการออกแบบทางกล โดยนำมาทดแทนการวัดอัตราการไหลโดยใช้ปริมาตรเทียบกับเวลาในสมัยก่อน มาตรวัดการไหลของไหลแบบแทนที่ทางปริมาตร เป็นมิเตอรที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยลักษณะการทำงานของ Positive Displacement Flow Meter นั้น จะมีการทำงานในลักษณะของการเคลื่อนที่เป็นจังหวะ ซึ่งในแต่ละจังหวะจะทำให้เกิดอัตราการไหลแบบปริมาตรที่มีค่าแน่นอน และ ในแต่ละจังหวะที่ทำงานนั้น จะทำให้เกิดสัญญาณพัลส์ เพื่อใช้ในการนับปริมาตรของการไหล โดยสามารถคำนวณได้จากสมการ

จะเห็นได้ว่าการวัดของไหลแบบ Positive Displacement Flow Meter นั้นสามารถหาค่าได้ทั้งแบบ  Flow Totalizer และ Flow Rate โดยตัวอย่างของ  Flow Meter แบบ Positive Displacement Flow Meter ได้แก่

Piston

เป็นการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร (volumetric flow rate) ซึ่งจะอาศัยหลักการแทนที่ของไหลลงในลูกสูบ ซึ่งแรงดันของของไหลนั้นจะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ โดยก้านของลูกสูบจะส่งต่อไปยังส่วนที่ทำให้เกิดสัญญาณเอาท์พุต เช่น สัญญาณหน้าคอนแท็ค สัญญาณอนาล็อก สเกลตัวเลข ผ่านทางสปริง ชุดเกียร์ หรือ เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

โดยเราสามารถรู้ค่าของปริมาตรของไหลได้จากการหาปริมาตรของลูกสูบและเทียบกับเวลา ซึ่งเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบ Piston, Valve Design จะเหมาะสำหรับการใช้งานวัดอัตราการไหลตั้งแต่ 0.015 - 4000 l/min

Gear Flow Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร (volumetric flow rate) ซึ่งจะทำงานเมื่อมีของไหลวิ่งผ่านชุดเกียร์ที่อยู่ภายใน โดยเมื่อเกียร์หมุน ก็จะอาศัยการเคลื่อนที่ของเกียร์แล้วแปลงเป็นค่าอัตราการไหลอีกที

โดยอุปกรณ์วัดการไหลแบบ Gear Flow meters นั้นจะมีชื่อเรียกหลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับรูปร่างของเกียร์ที่อยู่ภายใน ตัวอย่างของ Gear Flow meters

Oval Gear Flow meter

เป็น Flow Meter ที่ภายในประกอบไปด้วยเฟืองรูปวงรี 2 ชิ้น ขบกันอยู่ โดยเฟืองทั้ง 2 จะทำหน้าที่ในการรับและคายของไหล สลับกันไป

Helical Gear Flow meter 

เป็น Flow Meter ที่ภายในประกอบไปด้วยเฟืองแบบเฉียง 2 ชิ้น ขบกันอยู่ โดยเฟืองทั้ง 2 จะทำหน้าที่ในการรับของไหล และส่งต่อของไหลผ่านฟันเฟืองไปเป็นช่วงๆ ซึ่งสามารถหารค่า Flow Rate ได้จากการคำนวนความเร็วของแกนของฟันเฟือง

Nutating Disk Flow Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร ( volumetric flow rate) ซึ่งจะนิยมใช้ในการวัดของไหลที่มีความหนืด หรือน้ำ โดยการทำงานจะอาศัยการทำงานของจานดิสก์ที่อยู่ภายใน ซึ่งจะเคลื่อนทีแบบเยื้องศูนย์รอบตัวเองโดยแกนกลางจะเชื่อมกับแกนเพลาภายนอกผ่านลูกเบี้ยวเอาไว้เพื่อใช้ในการวัดความเร็วซึ่งสามารถหารค่า Flow Rate ได้จากการคำนวนความเร็วของแกนเพลา

Dynamic Diaphragm Flow Meter

เป็น โฟลมิเตอร์ ที่ใช้ลักษณะการทำงานแบบแทนที่ โดยเมื่อมีของไหล ไหลเข้ามาในตัวมิเตอร์ จะทำให้แผ่นไดอะเฟรมเคลื่อนที่ ซึ่งการเคลื่อนที่แต่ละครั้งจะทำให้ได้ค่าปริมาตรการไหลที่คงที่ โดยอีกด้านของไดอะเฟรม จะต่อกับแกนแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการสร้างพัลส์สำหรับการนับอัตราการไหล ซึ่งเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบไดอะเฟรม จะเหมาะสำหรับการใช้งานวัดอัตราการไหลตั้งแต่ 0.4 - 100 l/min

Rotary Vane Flow Meter 

เป็น โฟลมิเตอร์ ที่ใช้ลักษณะการทำงานแบบแทนที่ โดยเมื่อมีของไหล ผ่านเข้ามาในตัว โฟลมิเตอร์ จะทำให้ใบพัดที่อยู่ภายในของมิเตอร์ โดยจะมีตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป หมุนเพื่อพาของไหลออกอีกทางหนึ่ง ซึ่งในขณะที่ใบพัดหมุนนี่เองแกนกลางของไบพัดก็จะไปขับเฟืองหรือเกียร์เพื่อให้หมุนตามการไหลของของไหล

โดยเฟืองหรือเกียร์เหล่านี้จะทำหน้าที่สร้างสัญญาณพัลส์ โดยเราสามารถรู้ค่าของปริมาตรของไหลได้จากการหาปริมาตรต่อสัญญาณพัลส์เทียบกับเวลา

Turbine Flow Meter

เป็นเครื่องวัดการไหลแบบกังหัน ซึ่งประกอบด้วยใบพัดที่วางขวางอยู่ในท่อ ใบพัดนี้จะติดตั้งอยู่บนเพลาหรือแบริ่งที่เป็นศูนย์กลางของทิศทางการไหล โดยขนานกับเส้นทางการไหล ในขณะที่มีของไหล ไหลผ่าน จะทำให้ใบพัดหมุนด้วยแรงจากของไหล ความเร็วในการหมุนของใบพัดนั้น จะเป็นสัดส่วนกับความเร็วของไหล ที่ไหลผ่าน จากนั้นจะใช้วิธีการวัดความเร็วของการหมุนของใบพัดเพื่อความเร็วของของเหลว โดยอาศัยตัวเซ็นเซอร์ที่ต่ออยู่กับตัวโครงสร้างของเซ็นเซอร์ในการตรวจจับ เช่น ตัวเซ็นเซอร์แม่เหล็ก

โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องมาก ซึ่งใช้หลักการหาค่าเฉลี่ยความเร็วในเส้นจุดศูนย์กลางของท่อ ตัว Turbine Flow Meter จะเหมาะสำหรับการวัดของไหลที่มีความสะอาดและในช่วงของความเร็วในการไหลที่มีย่านกว้างมากได้

Woltman meter

เป็นเครื่องวัดการไหลตามแนวแกน ซึ่งประกอบด้วยใบพัดที่วางขวางอยู่ในท่อ ใบพัดนี้จะติดตั้งอยู่บนเพลาหรือแบริ่งที่เป็นศูนย์กลางของการทิศทางการไหล โดยขนานกับเส้นทางการไหล แต่โครงสร้างของใบพัดหรือกังหันภายในจะมีลักษณะคล้ายกับเฟืองเฉียง Helical ซึ่งในขณะที่มีของไหล ไหลผ่าน จะทำให้ใบพัดหมุนด้วยแรงจากของไหล ความเร็วในการหมุนของใบพัดนั้น จะเป็นสัดส่วนกับความเร็วของไหล ที่ไหลผ่าน จากนั้นจะใช้วิธีการวัดความเร็วของการหมุนของใบพัดเพื่อความเร็วของของเหลว โดยอาศัยตัวเซ็นเซอร์ที่ต่ออยู่กับตัวโครงสร้างของเซ็นเซอร์ในการตรวจจับ เช่น ตัวเซ็นเซอร์แม่เหล็ก โดยการทำงานอื่นๆ จะเหมือนกับตัว Turbine Flow Meter แต่จะเหมาะกับการวัดอัตราการไหลที่มีขนาดใหญ่ๆ

Single jet meter and Multiple jet meter 

เป็นเครื่องวัดการไหลตามแนวแกน ซึ่งประกอบด้วยใบพัดที่วางขวางอยู่ในท่อ ใบพัดนี้จะติดตั้งอยู่บนเพลาหรือแบริ่งที่เป็นศูนย์กลางของการทิศทางการไหล โดยแกนหมุนจะตั้งฉากกับเส้นทางการไหล  ในขณะที่มีของไหล ไหลผ่าน จะทำให้ใบพัดหมุนด้วยแรงจากของไหล ความเร็วในการหมุนของใบพัดนั้น จะเป็นสัดส่วนกับความเร็วของไหล ที่ไหลผ่าน จากนั้นจะใช้วิธีการวัดความเร็วของการหมุนของใบพัดเพื่อความเร็วของของเหลว โดยอาศัยตัวเซ็นเซอร์ที่ต่ออยู่กับตัวโครงสร้างของเซ็นเซอร์ในการตรวจจับ เช่น ตัวเซ็นเซอร์แม่เหล็ก โดย Flow Meter แบบ Single jet meter and Multiple jet meter จะแตกต่างกันแค่แบบ Multiple jet จะมีจุดที่ของไหลชนกับตัวใบพัดได้หลายจุด ซึ่งจะทำให้ลดการสึกหรอขอตัวใบพัดได้ดีกว่าแบบ Single Jet ซึ่งจุดรับแรงจากของไหลจะมีจุดเดียว  โดยเมื่อเปรียบเทียบเครื่องมือวัดการไหลกับแบบ Paddle Wheel แล้วขนาดของ Single jet meter and Multiple jet meter จะมีขนาดของใบพัดใหญ่กว่ามาก

Pelton Wheel or Radial turbine Flow Meter 

เป็นเครื่องวัดการไหลตามแนวแกน ซึ่งประกอบด้วยกังหันที่วางขวางอยู่ในท่อ กังหันนี้จะมีรูปร่างคล้ายกับภาชนะ หรือตะกร้า ซึ่งจะคอยลำเลียงของไหล โดยกังหันนี้จะติดตั้งอยู่บนเพลาหรือแบริ่งที่เป็นศูนย์กลางของการทิศทางการไหล โดยแกนหมุนจะตั้งฉากกับเส้นทางการไหล  ในขณะที่มีของไหล ไหลผ่าน จะทำให้กังหันรับของไหลและหมุนด้วยแรงจากของไหล ความเร็วในการหมุนของใบพัดนั้น จะเป็นสัดส่วนกับความเร็วของไหล ที่ไหลผ่าน จากนั้นจะใช้วิธีการวัดความเร็วของการหมุนของใบพัดเพื่อความเร็วของของเหลว โดยอาศัยตัวเซ็นเซอร์ที่ต่ออยู่กับตัวโครงสร้างของเซ็นเซอร์ในการตรวจจับ เช่น ตัวเซ็นเซอร์แม่เหล็ก

Vortex Flow Meters 

เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลที่ใช้หลักการแกว่งของตัวของชิ้นส่วนภายใน ซึ่งเกิดจากการไหลของของไหล และเอาสัญญาณที่เกิดจากการแกว่งเหล่านี้ไปใช้งาน

Differential Pressure Flow Meters 

เป็นเซ็นเซอร์สำหรับวัดอัตราการไหลโดยอาศัยผลต่างของค่าความดันที่เกิดขึ้น หรือ จะเรียกกลุ่มเครื่องมือวัดแบบนี้ว่า Differential Pressure Flow Meter ก็ได้ โดย Flow Meter ในกลุ่มนี้มีหลากหลายชนิด เช่น Orifice plates, Venturi tube, Nozzles, Dall tubes, Target mete, Pilot tubes แม้กระทั้ง Variable Area ก็ยังอยู่ในกลุ่มนี้

โดยสิ่งหนึ่งที่ถูกอ้างอิง หรือ พูดถึงเป็นประจำสำหรับการใช้งาน Flow Meter นั่นก็คือเรื่องของ Head หรือ Head Loss ซึ่งค่าความเที่ยงตรงของ โฟลมิเตอร์ จะขึ้นอยู่กับค่าความเที่ยงตรงของตัว Differential Pressure ด้วย นั้นหมายความว่าในการสอบเทียบตัว โฟลมิเตอร์ แบบนี้ไม่สามารถสอบเทียบโดยตรงกับตัว โฟลมิเตอร์ ได้ จะต้องสอบเทียบตัว Differential Pressure แทน

   

หลักการทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดอัตราการไหลประเภทนี้คือการสร้างค่าความดันตกคร่อมภายในท่อที่มีของไหลไหลผ่าน โดยใช้หลักฟิสิกส์ Equation of continuity และ ใช้สมการ Bernoulli’s equation ซึ่ง The equation of continuty หรือ สมการความต่อเนื่อง นั้นสามารถสรุปได้ว่า ผลคูณระหว่างพื้นที่หน้าตัดของท่อกับอัตราเร็วของของไหลในอุดมคติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งใดในท่อ การไหลจะมีค่าคงตัว

ในส่วนของ Bernoulli’s equation หรือ สมการแบร์นูลลี นั้นสามารถสรุปใจความได้ว่า ผลรวมของความดันหรือพลังงานจลล์ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และพลังงานศักดิ์ตามแรงโน้มถ่วงต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ณ ตำแหน่งใดๆ ภายในท่อที่มีของไหลไหลผ่าน มีค่าคงตัวเสมอ ดังนั้นจากสมการของแบร์นูลลี ถ้าระดับคงตัวเมื่อของไหลมีอัตราเร็วเพิ่ม ความดันของของไหลจะลด และเมื่อของไหลมีอัตราเร็วลดลง ความดันของของไหลจะเพิ่มขึ้น โดยเราสามารถใช้สมการเหล่านี้ในการหาค่าอัตราการไหลของมวลได้ดังนี้

เมื่อเราเข้าใจถึงการหาค่าอัตราการไหลโดยใช้หลักการของ Differential Pressure และอาศัยสมการ The equation of continuity และ Bernoulli’s equation ในการคำนวณหาค่าอัตราการไหลแล้ว ต่อไปจะขอแนะนำอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้หลักการเหล่านี้

·         Orifice Plate หรือ แผ่นแผ่นออริฟิส เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่ใช้ช่วยในการวัดอัตราการไหลของของไหล ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีโครงสร้างที่ง่าย ราคาถูก สะดวกในการติดตั้งและการบำรุงรักษา แข็งแรงทนทาน และให้ค่าการวัดที่ถูกต้องแม่นยำในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับราคา ซึ่งสามารถวัดการไหลได้ทั้งของเหลวและก๊าซ โดยแผ่นออริฟิสสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ ออริฟิสแบบจุดศูนย์กลางเดียวกัน concentric orifice ออริฟิสแบบเยื้องศูนย์ eccentric orifice และออริฟิสชนิดที่มีช่องตรงกลางเป็นส่วนของวงกลม ซึ่งตำแหน่งของรูหรือช่องออริฟิสอาจจะอยู่ด้านบนหรือด้านล่างก็ได้

·         Venturi meter เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลอย่างหนึ่งที่ใช้หลักการวัดค่าความต่างศักดิ์หรือความแตกต่างของค่าแรงดันที่อยู่ในท่อซึ่งมีรูปทรงทางเข้าของของไหลเป็นกรวย ผ่านทางส่วนกลางที่ขนานกันกับทางเข้า จากนั้นจึงไหลออกทางออก โดยแต่ละส่วนจะเรียก Sleep Inlet Section, Throat และ Shallow Downstream Section ซึ่งจะทำการวัดค่าแรงดันของของไหลจุดที่ 1 (P1) ตรง Sleep Inlet Section และจุดที่ 2 (P2) ที่ส่วนของ Throat หรือคอของท่อ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องมีจุดศูนย์กลางของท่อที่จุดเดียวกัน (Center parallel section)

·         Variable Area Flow Meters เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลประเภทหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลัการทำงานของความดันที่ตกคร่อมภายในโครงสร้างของเครื่องมือวัด ซึ่งจะใช้อัตราการไหลแบบทิศทางเดียว ซึ่งเราจะเรียกมิเตอร์ที่ใช้หลักการทำงานแบบนี้ว่า Variable Area โดยของไหลที่ไหลผ่านท่อจะเป็นตัวพาวัตถุที่อยู่ภายในให้เคลื่อนที่หรือ ลอยตัวขึ้น ซึ่งในโครงสร้างท่อที่ใช้ทำมิเตอร์ถ้ามีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เท่ากัน วัตถุจะเป็นแรงต้านทานภายในท่อนั้นๆ ทำให้วัตถุไหลไปกับของไหลเรื่อยๆ แต่ในกรณีที่ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อมีขนาดแปรเปลี่ยนตามค่าความยาว หรือเป็นรูปทรงกรวย แรงที่กระทำกับวัตถุทีอยู่ในท่อนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของท่อ และแรงต้านของวัตถุ ซึ่งถ้าสมดุลกันก็จะทำให้วัตถุอยู่กับที่ และสามารถอ่านค่าอัตราการไหลได้จากด้านข้างของมิเตอร์ โดย Flow Meter ที่ใช้หลักการแบบนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Rotameters และ Spring Loaded flow meters

·         Rotameter, Constant คือ Variable area flow meter ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร (volumetric flow rate) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถรักษาค่าแรงดันตกคร่อมในตัวเครื่องมือวัดที่คงที่ ลดการสูญเสียแรงดันในระบบ และยังมีความเที่ยงตรงสูงในกรณีที่วัดค่า Flow Rate ต่ำๆ โดยตัว โรตามิเตอร์ Rotameter จะอาศัยการอ่านค่าการไหลผ่านสเกลบนตัวท่อใส่ ซึ่งมีลักษณะเรียว (Tapper Pipe) โดยจะมีของไหล หลเข้าจากด้านล่างของโรตามิเตอร์ และไหลออกที่ด้านบนของโรตามิเตอร์ ในขณะที่ของไหลไหลผ่านโรตามิเตอร์นั้น ความเร็วของของไหล Velocity Head จะทำให้ลูกลอย ลอยขึ้นและอยู่กับที่เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างน้ำหนักของลูกลอยกับความเร็วของของไหล ซึ่งเราสามารถอ่านค่าการไหลนะจุดที่ลูกลอยหยุดอยู่ได้ ซึ่งเครื่องมือวัดอัตราการไหลแบบ Rotameter จะเหมาะสำหรับการใช้งานวัดอัตราการไหลตั้งแต่ 0.0002 - 4000 l/min

Spring Loaded flow meters

เป็น Variable area flow meter ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลที่ใช้ลักษณะของการวัดอัตราการไหลของปริมาตร (volumetric flow rate) โดยมีหลักการทำงานเหมือนกับ Rotameter แต่จะมีการเพิ่มแรงต้านภายในโดยใช้สปริงและลูกสูบเข้ามาช่วยเพิ่มแรงต้าน และช่วยทำให้สามารถวัดอัตราการไหลของของไหลที่มีความหนึดมากขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องขยายขนาดหรือเพิ่มของของท่อให้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งโดยปกติจะนิยมใช้กับงานวัดอัตราการไหลของน้ำมันใน Hydraulic systems หรือ chemical processes

Electromagnetic Flow Meters

Electromagnetic Flow Meter มักถูกเรียกด้วยชื่อต่างๆ เช่น EM Flow Meter , Magflows , Magmeters เป็นเครื่องวัดอัตราการไหลที่มีใช้กันมานานมากกว่า 40 ปี โดยเริ่มต้นใช้งานมาตั้งแต่ Modern meters ตามมาด้วย Exhibit no moving parts จนกระทั้งเป็นแบบ Zero pressure drop โดย Magflows หรือ EM Flow meter จะอาศัยหลักการทำงานตามกฎของฟาราเดย์ Faraday’s law ซึ่งเมื่อมีตัวนำวิ่งผ่านหรือตัดผ่านสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมซึ่งแปรเปลี่ยนตามความเร็วของตัวนำนั้นๆ ซึ่งในที่นี้ตัวนำก็คือของไหลนั่นเอง

Ultrasonic Flow Meters

Ultrasonic Flow Meters อัลตร้าโซนิคโฟลมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลที่อาศัยหลักการวัดความเร็วในการเดินทางของคลื่นผ่านการไหลของของไหล และมีหลักการพื้นฐานอยู่ 3 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับเซ็นเซอร์ชนิดนี้ นั่นก็คือ Doppler method, Time of flight method และ Frequency difference method ตัว Ultrasonic Flow Meters มีใช้กันมานานมากกว่า 20 ปี แล้ว โดยเหมาะสำหรับวัดของไหลที่เป็นทั้ง Liquid และ Gases

Mass Flow Measurements

Mass Flow Measurements เป็นเครื่องมือวัดอัตราการไหลของมวล ซึ่งโดยปกติแล้วหลายๆ กระบวนการผลิตนั้น จะอ้างอิงเรื่องของมวล มากกว่าเรื่องของปริมาตร  ดังนั้นกระบวนการวัดอัตราการไหลของมวล จึงมีความถูกต้องและแม่นยำมากกว่า เนื่องจากตัวแปรต่างๆ เช่น ความหนืด ความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิ จะไม่มีผลกระทบต่อการวัดแบบนี้

Open Channel Flow Measurement

Current Meter เป็นเครื่องวัดการไหลแบบใบพัด ซึ่งประกอบด้วยใบพัดที่เปลือยอยู่ ใบพัดนี้จะติดตั้งอยู่บนเพลาหรือแบริ่งที่เป็นศูนย์กลางของการทิศทางการไหล โดยแกนกลางของใบพัดจะขนานกับเส้นทางการไหล ในขณะที่มีของไหล ไหลผ่าน จะทำให้ใบพัดหมุนด้วยแรงจากของไหล ความเร็วในการหมุนของใบพัดนั้น จะเป็นสัดส่วนกับความเร็วของไหล ที่ไหลผ่าน จากนั้นจะใช้วิธีการวัดความเร็วของการหมุนของใบพัดเพื่อความเร็วของของไหล โดยอาศัยตัวเซ็นเซอร์ที่ต่ออยู่กับแกนของใบพัดเพื่อหาค่าความเร็วของของไหล Current Flow Meter จะเหมาะสำหรับ การวัดของไหลในลักษณะที่เป็นพื้นที่เปิด เช่น แหล่งน้ำ