▽△ | ขายไม้ไผ่กันมอด + ไม้ไผ่นั่งร้าน ส่งทั่วประเทศ

https://sites.google.com/view/bamboo-rubber/home?authuser=1
หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถาม ได้ตลอดเวลา


Phone : 0817429045 , 055479924Line iD : 0817429045E mail : Nakhonthai.asia.thailand@gmail.comwebsite: www.AsiaBAM-BOO.com

Tel 0817429045 , 055479924

ขายไม้ไผ่แช่น้ำยากันมอดส่งทั่วประเทศ ไม้ไผ่ จำหน่ายไม้ไผ่ลำทุกชนิด ไม้ไผ่แช่น้ำยากันมอด ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง ไผ่ซางหม่น ไผ่รวก ไม้ไผ่ซองหม่น Treated Bamboo, Treated Bamboo for Export. ______________________________ขายไม้ไผ่ปลีก - ส่งTel & id-Line : 0817429045เพิ่มเบอร์โทร เฮียดื้อ ลงในโทรศัพท์อัตโนมัติ : https://sites.google.com/site/call0919697589/home…เว็บไซต์ : AsiaBam-Boo.com Add Friends : https://line.me/ti/p/QZ6kUQRkkrhttps://line.me/ti/p/9nhCpplt-6Facebook: https://www.facebook.com/bamboo.D.thailand.1969/_____________________________Search My : #AsiaBam-Boo.com #เฮียดื้อไม้ไผ่ #เฮียดื้อขายไม้ไผ่ #เฮียดื้อ #บ้านแม้นสวัสดิ์ #menutoday #profile #@byOrrapan #byOrrapan #ผมดื้อ #ชวนอ่าน #ชวนติดตาม #ไม้ไผ่ #วัสดุไม้ไผ่ #ไม้ไผ่อบแห้ง #ไม้ไผ่แช่น้ำยากันมอก #ไม้ไผ่ตกแต่ง #สะพานไม้ไผ่จำหน่าย ไม้ไผ่ นั่งร้าน ไม้ไผ่ตกแต่ง ติดต่อ เฮียดื้อ 0817429045
ไม้ไผ่สีเหลือทอง กันมอด

ไม้ไผ่สีเหลือทอง กันมอด

รีเจ้นท์ ชะอำ หัวหิน เป็นที่พักติดทะเลซึ่งตั้งอยู่บนริมชายหาดชะอำ-หัวหิน ในจังหวัดเพชรบุรี บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ มีห้องพัก จำนวน 442 ห้อง

ร้านอาหารสไตส์ยี่ปุ่น ตกแต่งด้วยไม่ไผ่ แบบสวยงาน

ระแนงไม้ไผ่ สำหรับบังแดด

ระแนงไม้ไผ่ สำหรับบังแดด

ระแนงไม้ไผ่กันมอด

ระแนงไม้ไผ่กันมอด

ตกแต่งอาคาร ระแนงไม้ไผ่

ตกแต่งระแนงไม้ไผ่บังแดด

ระแนงบังแดด

ระแนงไม้ไผ่

ร้านอาหารสไตส์ยี่ปุ่น ตกแต่งด้วยไม่ไผ่ แบบสวยงาน

ก่อนนี้เราผลิตไม้ไผ่กันมอดด้วยวิธีแช่น้ำยากันมอด

จำหน่ายไม้ไผ่สำหรับใช้งานต่างๆ ทั้งราคาปลีกและส่ง งานไม้ตกแต่งเน้นคุณภาพ งานละเอียดโดยฝีมือชาวบ้านและทีมตัดไม้มืออาชีพ ... -จำหน่ายไม้ไผ่นั่งร้านราคาปลีก-ส่ง , -ไม้ไผ่แช่กันมอดสำหรับงานตกแต่ง ... ไผ่แช่น้ำยากันมอด
บทความไผ่พืชมหัศจรรย์จริงหรือ ?
Is Bamboo Amazing Plant ?ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก*ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตตำบลคลองหนึ่ง เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120Thanpisit Phuangchik*Department of Agricultural Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University,Rangsit Centre, Klong Nueng, Khlong Luang, Pathum Thani 12120
บทคัดย่อไม้ไผ่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงมาก และคนไทยได้ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่มาตั้งแต่อดีตหลายร้อยปี ปัจจุบันมีการพัฒนาการใช้ไม้ไผ่ให้มีประโยชน์กว้างขวางยิ่งขึ้น ได้แก่ ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และยังใช้ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ การแก้ปัญหาโลกร้อน ใช้เป็นไม้ทดแทนไม้จริงในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ ในอนาคตไม้จริงจะหายากขึ้นและมีราคาแพงมาก ใช้ทำเส้นใยเสื้อผ้าคุณภาพดี เป็นพลังงานทดแทนได้ดี ให้ถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งหน่อไม้ก็เป็นอาหารที่มีรสชาติดี มีราคาถูก เป็นอาหารที่สำคัญของชาวชนบท ซึ่งไม้ไผ่ในประเทศไทยกำลังถูกทำลายอย่างมาก ไม้ไผ่ที่อยู่ในธรรมชาติก็ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร พื้นที่ปลูกลดลงอย่างรวดเร็ว ด้วยประโยชน์อันหลากหลายมากมายของไผ่จึงถือว่าไผ่เป็นพืชมหัศจรรย์จริง ๆ เราจึงต้องช่วยกันเพิ่มพื้นที่การปลูกไผ่ให้มากยิ่งขึ้นและพัฒนาการใช้ประโยชน์ ให้สูงยิ่งขึ้นไป เพราะไผ่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายสิบปีกว่าต้นไผ่จะตายคำสำคัญ : ไม้ไผ่, พืชมหัศจรรย์AbstractBamboo is a native plant of Thailand. Due to rich in genetically diversity, bamboo is good benefits plant of Thai lifestyle for long time ago. Thai traditional wicker is one of bamboo benefit in the past. Young shoot of bamboo is tasty food for local. However, in the present, bamboo is more valuable. It is used in cosmetics, fabric industry, renewable energy such as biodiesel and bio gas, and activated charcoal production. Therefore, bamboo is amazing plant which has to reserve cultivated area.Key words: bamboo, amazing plant
1. บทนำแทบไม่ต้องสรรหาคำพูดมากล่าวอ้างกันว่าไผ่มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร ไม่ว่าจะในทางด้านนิเวศ ด้านเศรษฐกิจ หรือทางด้านวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยโบราณ บุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกอย่างโทมัส เอดิสัน ได้ใช้ชิ้นส่วนของถ่านไม้ไผ่ในการทำไส้หลอดไฟของเขาในยุคแรก ๆ ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ เกรแฮมเบล ก็เคยใช้ไม้ไผ่ในการประดิษฐ์เข็มสำหรับเครื่องเล่นแผ่นเสียงมาก่อนเนื่องจากไผ่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ที่สูง ทั่วโลกมีประมาณ 80-90 สกุล ประมาณ 1,500 ชนิด มีการกระจายที่กว้าง หาง่าย โตเร็ว ทำให้ไผ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชาวชนบทในทวีปเอเชีย อเมริกา และแอฟริกา ที่ซึ่งมีไผ่แพร่กระจายอยู่มากชนิดพื้นที่ป่าไผ่ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 2,850,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรไม้ประมาณ 17.6 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีดัชนีความหลากหลายอยู่ที่ 1.7 ป่าไผ่ที่กล่าวถึงส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ป่าอนุรักษ์ [2] ปัจจุบันพบไผ่ท้องถิ่นในประเทศไทย 17 สกุล 72 ชนิด และเกือบทั้งหมดเป็นไผ่ที่เจริญเติบโตเป็นกอไผ่ สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้เกือบทุกพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) และไผ่ซางนวล (D. memdranaceus) พบขึ้นปะปนกับต้นสักในป่าผสมแบบผลัดใบ ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่บงใหญ่ (D. brandisii) ไผ่เป๊าะ (D. giganteus) และไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile) พบขึ้นในป่าดิบชื้น ในขณะที่ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) มักพบขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรังไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้โดยทั่วไปอยู่ใน 5 สกุลใหญ่ คือ สกุล Dendrocalamus สกุล Bambusa สกุล Thyrsostachys สกุล Cephalostachyum และสกุล Gigantochloa โดยไผ่ที่นิยมปลูกเพื่อให้ผลผลิตหน่อและลำ ได้แก่ ไผ่ตง (Dendrocalamus asper) ไผ่สีสุก (Bambusa blumeana) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albocilia-ta) และไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) ในจำนวนนี้ ไผ่ตงเป็นไผ่ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากที่สุด โดยปลูกมากในภาคตะวันออกเพื่อใช้ประโยชน์จากทั้งหน่อและลำ ในขณะที่ไผ่รวกสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในป่าธรรมชาติ และมีการนำมาปลูกเพื่อประโยชน์ใช้สอยตามบ้านเรือนทั่วไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการนำพันธุ์ไผ่ชนิดใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่น มีหน่อและลำขนาดใหญ่ มีปล้องยาว เนื้อลำหนา หรือให้หน่อดกตลอดทั้งปี มาปลูกและขยายพันธุ์ขายกันจนเป็นที่นิยมแพร่หลายอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยมีทั้งที่นำออกมาจากป่าธรรมชาติและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
2. เหตุใดไผ่จึงกลายเป็นพืชที่มีผู้คนหันมาสนใจและมีการส่งเสริมให้ปลูกกันมากขึ้น ?หากจะกล่าวถึงพืชชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักกันดี พืชที่อยู่เคียงคู่กับมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม รวมไปถึงประโยชน์ในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม คงหนีไม่พ้นพืชอเนกประโยชน์ที่ชื่อว่า “ไผ่”ไผ่จัดเป็นพืชมหัศจรรย์ชนิดหนึ่ง นำมาดัด แปลงใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวยืนต้น อายุยืนได้ถึง 30-100 ปี แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ และเป็นพืชที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก หากต้องการใช้เนื้อไม้ปลูกเพียงแค่ 3 ปี ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องปลูกใหม่ แตกต่างจากไม้เนื้อแข็งทั่ว ๆ ไปที่ต้องใช้เวลาปลูก 15-30 ปีขึ้นไป หรือพวกไม้เนื้ออ่อนที่ต้องใช้เวลาปลูก 3-5 ปี จึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากทำการตัดฟันแล้วก็ต้องเริ่มปลูกใหม่อีกผลผลิตที่ได้จากไผ่นั้นมีทั้งหน่อและลำ นำมา ใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว หลากหลาย และยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไม่มีพืชกลุ่มใดในโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนที่จะยังประโยชน์แก่มนุษย์ได้เท่ากับไผ่ ทั้งนี้เนื่องจากไผ่ มีลำที่แข็งแรง เปลาตรง ผิวเรียบสม่ำเสมอ น้ำหนักเบา มีความกลวง สามารถผ่าออกเป็นซีกได้ง่าย มีขนาดความยาวและความหนาของลำหลากหลาย จึงนำไปดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่น ๆอีกทั้งไผ่ยังสร้างลำใหม่ทดแทนลำเก่าที่ถูกตัดออกได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องปลูกใหม่ ไผ่จึงมีศักยภาพสูงและมีความเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัสดุทดแทนไม้จากป่าธรรมชาติในอนาคต ที่ประเทศญี่ปุ่นบันทึกถึงการใช้ประโยชน์จากไผ่ไว้ว่า “นำไผ่มาดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 1,500 ชนิด” ลองคิดดูซิว่า มีพืชชนิดใดบ้างที่ยังประโยชน์แก่มนุษย์ได้มากมายเท่าไผ่ในสังคมไทย ไผ่มีบทบาทกับชีวิตผู้คนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย งานหัตถกรรมที่ทำจากไม้ไผ่แต่ละชิ้นสะท้อนถึงจิตวิญญาณของผู้ประดิษฐ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเห็นได้ชัด โดยทั่วไปแล้ว การใช้ประโยชน์ไผ่ในประเทศไทยอยู่ในรูปของการนำหน่อมาแปรรูปประกอบอาหาร นำลำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเชื้อเพลิง ทำเครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์การประมง เครื่องใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ ธูป ตะเกียบ ไม้เสียบ ไม้จิ้มฟัน ข้าวหลาม บันได ด้ามไม้กวาด ปลูกเป็นไม้กันลม ใช้ปักเป็นหลักเลี้ยงหอยในทะเล และปักเป็นแนวกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเล รวมถึงปลูกเพื่อความสวยงาม และใช้ในการปรับภูมิทัศน์
3. นอกจากการใช้ประโยชน์โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ไผ่ยังใช้ทำอะไรได้อีก ?ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้บทบาทของไผ่และการใช้ประโยชน์จากไผ่เปลี่ยนแปลงไปจนแทบไม่น่าเชื่อ ไผ่และการใช้ประโยชน์จากไผ่จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้กันมาก่อนเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น การผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง ซึ่งได้จากการเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,000 oC จะได้ถ่านไม้ไผ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ต่างจากถ่านไม้ทั่ว ๆ ไป ราคาสูง มีความสามารถสูงในการดูดซับกลิ่น ความชื้น สารพิษ สารเคมี ช่วยฟอกอากาศ กำจัดแบคทีเรีย ช่วยปลดปล่อยประจุลบและอินฟาเรดคลื่นยาว ช่วยดูดซับรังสี ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น มีผลทำให้จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ใช้ทำเครื่องสำอางบำรุงรักษาผิว ทำสบู่ รวมถึงใช้ทำถ่าน กัมมันต์ (activated carbon) ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก เนื่องจากมีรูพรุนจำนวนมหาศาล มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนและไนโตรเจนสูงมาก ผงคาร์บอนที่ผลิตได้จากถ่านไม้ไผ่เมื่อนำมาผสมกับดิน นอกจากจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังมีความสามารถในการดูดซับไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ขึ้นไปทำลายชั้นโอโซนที่เป็นเกราะป้องกันรังสี อัลตราไวโอเล็ตของโลกมากที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ ถ่านไม้ไผ่ยังถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง ไส้กรองน้ำ ไส้กรองอากาศ วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน และบำบัดน้ำเสีย เป็นต้นในกระบวนการผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงนี้ นอกจากจะได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ยังได้น้ำส้มควันไม้ (wood vinegar) ที่มีคุณภาพดีและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ยารักษาโรคผิวหนังใช้ผสมกับแชมพูรักษารังแค ผมร่วง เชื้อรา ป้องกันเห็บหมัดในสัตว์ใช้ผสมน้ำพ่นหรือเช็ดถูพื้นกำจัดกลิ่นเหม็นจากเชื้อราในบ้าน ใช้เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน เป็นสารยืดอายุความสดของดอกไม้ ใช้ทำสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงสารยับยั้งและควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรานอกจากนี้ ยังมีการวิจัยในต่างประเทศพบว่า ไผ่เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในด้านพลังงาน โดยสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดที่มีค่าพลังงานความร้อนสูง หรือนำไปสกัดเป็นน้ำมันดิบชีวมวลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตได้อีกด้วยนอกจากประโยชน์อันหลากหลายของไผ่ดังที่กล่าวมาแล้ว เส้นใยจากไผ่ยังเป็นวัตถุดิบที่กำลังถูกจับตามองและเป็นที่ต้องการสูงในอุตสาหกรรมเส้นใยและการถักทอ เนื่องจากเส้นใยที่ได้จากไผ่นั้นมีคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะกับการนำมาถักทอเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มระดับคุณภาพ มีความนุ่มเหมือนไหม ทนทาน ยืดหยุ่น โปร่ง และดูดซับความชื้นได้มากกว่าผ้าฝ้ายถึง 60 % ทำให้สวมใส่สบาย ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) ป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้ดี และที่สำคัญมีสารกำจัดกลิ่นอยู่ในตัว เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยไผ่ไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น ในแง่ของสิ่งแวดล้อม เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยไผ่จะได้รับการส่งเสริมมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากการปลูกไผ่เพื่อผลิตเส้นใยนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช และไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษเหมือนกับการปลูกฝ้ายเพื่อผลิตเส้นใย ซึ่งมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการปลูกฝ้ายในปริมาณที่สูงถึง 25 % ของปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้กันอยู่ทั่วทั้งโลก [1] ดังนั้น การปลูกไผ่เพื่อผลิตเส้นใยจึงเป็นการช่วยลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี อีกทั้งไผ่ยังจัดเป็นพืชที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ควรสนับสนุนให้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. ไผ่เป็นมิตรหรือดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?ไผ่ จัดว่าเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะในบรรดาพืชที่อยู่บนดินด้วยกันไผ่เป็นพืชที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดจึงมีศักยภาพสูงในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีบทบาทสำคัญในการกักเก็บคาร์บอน ป่าโดยทั่วไปจะมีอัตราการเติบโตด้านชีวมวลประมาณ 2-5 % ต่อปี ในขณะที่ป่าไผ่อาจมีอัตราการเติบโตด้านชีวมวลเพิ่มขึ้นถึง 30 % ต่อปี อีกทั้งไผ่ยังมีความได้เปรียบกว่าไม้โตเร็วในแง่ของความยั่งยืนและความสามารถในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปกติแล้วป่าไผ่ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่ถึง 7 ปี ก็สามารถให้ปริมาตรไม้ที่เก็บกักคาร์บอนได้ในปริมาณที่เทียบเท่ากับป่าธรรมชาติที่ต้องใช้เวลาถึง 40 ปี หรือ 100 ปี และภายใต้การจัดการที่เหมาะสม ไผ่จะให้ผลผลิตเซลลูโลสต่อหน่วยเนื้อที่สูงกว่าไม้สนถึง 2 เท่า หรือมากกว่า [3]นอกจากนี้ ไผ่ยังเป็นไม้เบิกนำที่สามารถขึ้นได้บนพื้นที่ว่างเปล่า จึงช่วยปรับปรุงสภาพของระบบนิเวศในบริเวณป่าเสื่อมโทรมได้ในระยะเวลาอันสั้นอีกทั้งระบบรากของไผ่ที่แผ่กว้างและสานกันเป็นร่างแหหนาแน่นยังทำให้ไผ่มีประสิทธิภาพสูงในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยป้องกันการชะล้างและการกัดเซาะพังทลายของหน้าดินได้ดีมาก โดยเฉพาะบริเวณริมคลองหรือริมตลิ่ง ชายแม่น้ำต่าง ๆ และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อ “ดินขุยไผ่”
5. ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั้งโลก ไผ่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไหม ?ไผ่เป็นพืชที่ถูกจับตามองว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปแล้ว ต้นไม้ในป่าและในพื้นที่สีเขียวทั้งหลายมีคุณสมบัติในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่ก๊าซนั้นจะลอยขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพื้นที่ป่าทั่วโลกถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น เป็นเหตุให้พลังงานความร้อนถูกสะสมอยู่บนผิวโลกและในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น การปลูกต้นไม้เพื่อให้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถือเป็นทางช่วยอีกวิธีหนึ่ง แต่ต้องใช้ระยะเวลานานหลายสิบปีกว่าต้นไม้จะโตได้ขนาด ในขณะที่การปลูกไผ่นั้นใช้เวลาสั้นเพียงแค่ 3-5 ปี เท่านั้น การช่วยกันเพิ่มพื้นที่ปลูกไผ่จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็วที่สุดนอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบในพื้นที่เท่า ๆ กัน ไผ่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตก๊าซออกซิเจนและเก็บกักคาร์บอนไว้ในรูปของเนื้อไม้ได้มากกว่าต้นไม้ทั่ว ๆ ไปถึง 33, 35 และ 70 % ตาม ลำดับ [3] และป่าไผ่ยังมีความสามารถในการอุ้มน้ำและความชื้นไว้ได้มากกว่าป่าต้นไม้อื่น ๆ ถึง 2 เท่า เคยมีการคำนวณไว้ว่า หากมีการปลูกไผ่ให้ได้เนื้อที่ขนาด 5 เท่า ของรัฐเท็กซัส จะใช้เวลาสั้นเพียง 6 ปี ก็จะได้ขนาดและปริมาณไผ่ที่มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลกไม่ให้ขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ นับเป็นกิจกรรมการลดสภาวะโลกร้อนที่ใช้เวลาน้อยที่สุด เห็นผลได้ในชั่วชีวิตเรา แต่ถ้าไม่ใช่ไผ่แต่เป็นต้นไม้ทั่ว ๆ ไป อาจต้องใช้เวลานับ 100 ปี จึงจะทำให้เกิดภาวะสมดุลเช่นนี้ขึ้นบนโลก ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงลองพิจารณาดู เป็นคุณจะเลือกแบบไหน ?
6. นำไม้ไผ่มาใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้ได้ แล้วไม้ไผ่มีความแข็งแรงขนาดไหน ?ไม้ไผ่ เมื่อนำมาผ่านขั้นตอนหรือการแปรรูปอย่างถูกวิธีจะป้องกันให้มอดและแมลงเข้าทำลายได้ เนื้อไม้จะมีความแข็งแกร่งเหมือนไม้เนื้อแข็ง หรือเหนือกว่า และมีความยืดหยุ่นสูงโดยเฉพาะเมื่อนำมาแปรรูปเป็นแผ่นไม้ลามิเนตจะมีความแข็งแกร่งใกล้เคียงกับเหล็กอ่อน (mild steel) เลยที่เดียว และเมื่อเทียบกันบนพื้นฐานของมวลต่อปริมาตรระหว่างไม้ไผ่ คอนกรีต ไม้เนื้อแข็ง และเหล็กแล้ว ไม้ไผ่เป็นอันดับที่สองรองจากคอนกรีตในเรื่องของความแข็งแรง (strength) แต่อยู่ในอันดับแรกในเรื่องของความแกร่ง และยืดหยุ่น (stiffness) ซึ่งในอุตสาห-กรรมไม้พื้นนั้น พื้นที่ทำจากไม้ไผ่มีความแข็ง (hardness) มากกว่าไม้โอ๊ก และไม้ rock maple ถึง 23 % และ 13 % ตามลำดับ ด้วยความแข็งแรงยืดหยุ่น และมีน้ำหนักเบาของไม้ไผ่ทำให้มีการนำไม้ไผ่ไปใช้ในการสร้างจักรยาน และเป็นที่นิยมในหมู่คนที่รักสิ่งแวดล้อม โดยโครงจักรยานทั้งหมดทำจากไม้ไผ่ ซึ่งปกติเรามักดูแคลนว่าไม่ใช่วัสดุที่แข็งแรงหรือทนทาน ทั้งนี้หากทราบราคาอาจไม่เชื่อหรือช็อกกันไปเลย เพราะแค่โครงจักรยานไม้ไผ่ที่ออกแบบและประดิษฐ์โดยนักออกแบบชื่อดัง Craig Calfee นั้น มีราคาเกือบ 100,000 บาท [1]นอกจากนี้ ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไม้พื้น คือ มีการขยายตัวหรือหดตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับไม้เนื้อแข็งทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ไผ่ต้องผ่านกรรมวิธีการรักษาเนื้อไม้และกระบวนผลิตที่ถูกต้อง ซึ่งหากมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไผ่จะมีอายุการใช้งานยืนยาวไม่แพ้ไม้เนื้อแข็งเช่นกัน
7. ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้ว ไม้ไผ่เหมาะสำหรับนำไปสร้างที่อยู่อาศัยขนาดไหน ?การนำไม้ไผ่ไปสร้างที่อยู่อาศัยนั้นเป็นที่นิยมกันมานานแล้วสำหรับคนยากคนจน เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูก แต่ปัจจุบันบรรดาคนรวย คนมีเงินก็หันมาสร้างที่อยู่อาศัยด้วยไม้ไผ่หรือนำไม้ไผ่มาเป็นองค์ประกอบของบ้านและเครื่องใช้ในบ้านกันมาก บ้านไม้ไผ่ที่ก่อสร้างอย่างดี ผ่านการรักษาเนื้อไม้และมีรูปแบบที่ทันสมัยราคาหลังละเป็นล้าน หรือ 10 ล้านก็มี และด้วยการที่ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการนำมาสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เช่น เมื่อ พ.ศ. 2535 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ที่ประเทศคอสตาริกา ปรากฏว่าอาคารที่อยู่อาศัยรอบ ๆ บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก ยกเว้นบ้านเรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่ที่ได้รับความเสียหายน้อย ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลคอสตาริกาจึงตัดสินใจที่จะสนับสนุนงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยไม้ไผ่ให้แก่ประชาชนเพิ่มปีละ 1,000 หลังคาเรือน [1]
8. ในเรื่องของวิกฤติความยากจน ไผ่ช่วยบรรเทาหรือช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร ?เรื่องใหญ่ของคนจนคืออาหารประทังชีวิต หน่อไผ่มีรสชาติอร่อย อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร มีทั้งไฟเบอร์และโพแทสเซียมในปริมาณสูง วิตามิน (A, B6, E) แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก โครเมียม สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านแบคทีเรียและไวรัส สารป้องกันการก่อมะเร็ง รวมถึงกรดอะมิโนต่าง ๆ อีก 17 ชนิด ที่สำคัญ ผลผลิตหน่อของไผ่เก็บได้ตลอด จากการปลูกเพียงแค่ครั้งเดียว โดยไม่ต้องทำการปลูกใหม่ และด้วยการลงทุนที่ไม่มากนัก แต่ได้ผลผลิตทั้งหน่อและลำที่นำไปแปรรูปเป็นรายได้ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ไผ่จึงเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนจนในหลาย ๆ ประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก
9. ทำไมจึงให้ความสำคัญแก่ไผ่ในฐานะวัสดุทดแทนไม้ในอนาคต ?จากสถานการณ์ปัจจุบัน อัตราความต้องการใช้ไม้ทั่วทั้งโลกสูงมาก ประกอบกับอัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จากการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตปริมาณของต้นไม้ในป่าหรือสวนป่าย่อมมีไม่เพียงพอและเติบโตไม่ทันที่จะนำมาป้อนเป็นวัตถุดิบให้โรงงานอุตสาหกรรมไม้ประเภทต่าง ๆ เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลก มีแต่ไผ่เท่านั้นที่โตเร็ว และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ไม้ไผ่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นวัสดุทดแทนไม้ได้อย่างดีในอนาคต อีกทั้งไผ่นั้นปลูกง่าย ได้ผลผลิตเร็ว และมีความยั่งยืน และถ้ามองไปถึงเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากมีการนำไม้ออกจากป่าหรือสวนป่าพื้นดินก็จะไร้สิ่งปกคลุม หน้าดินจะถูกกัดเซาะ และชะล้างพังทลายอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การตัดไผ่มาใช้ประโยชน์จะเลือกตัดเฉพาะลำแก่มาใช้ ส่วนลำอ่อนที่ยังใช้ไม่ได้ก็ยังคงปกคลุมพื้นที่ให้เขียวชอุ่มอยู่เช่นเดิม อีกทั้งระบบรากของกอไผ่ที่สานกันเป็นร่างแหแน่นหนานั้นก็ยังคงยึดดินไว้โดยตลอด ในขณะเดียวกันหน่อและลำใหม่ก็ยังคงเกิดขึ้นจากกอที่ถูกตัดอย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
10. สถานการณ์ไม้ไผ่ในประเทศไทยในปัจจุบัน มีการส่งเสริมการปลูกและการใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ?สำหรับประเทศไทยความต้องการใช้ไม้ไผ่ในธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไม้ไผ่ยังมีอยู่ในปริมาณสูง แต่ปริมาณไม้ไผ่ในประเทศไทยที่นำออกมาใช้ได้อย่างถูกต้องนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกไผ่ในเมืองไทยยังมีอยู่น้อยมาก พื้นที่ที่มีการปลูกไผ่ในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ) จังหวัดราชบุรี (อำเภอจอมบึงและอำเภอสวนผึ้ง) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอบึงสามพัน) จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว) สำหรับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ของไทยในช่วง พ.ศ. 2550-2553 ประมาณ 441 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้าไม้ไผ่จากต่างประเทศนั้นสูงถึง 736 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าไทยยังขาดดุลการค้าในเรื่องนี้อยู่ [1]ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรต่าง ๆ หันมาสนใจเรื่องการปลูกไผ่มากขึ้น จึงเกิดโครงการส่งเสริมการปลูกไผ่เพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และจากการที่หน่วยงานภาครัฐได้เริ่มให้ความสำคัญกับไผ่ด้วยการสนับสนุนด้านวิชาการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งส่งเสริมอย่างถูกวิธีเพื่อดึงศักยภาพของไผ่ที่มีอยู่มากมายมาใช้ประโยชน์ จะทำให้ไผ่กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างประโยชน์ และนำเงินเข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาลในอนาคตอย่างแน่นอน
11. สรุปไผ่เป็นพืชที่มีผู้คนรู้จักกันมาก โดยเฉพาะชาวชนบทมีการใช้ประโยชน์กันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตไผ่จะเพิ่มความ สำคัญมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการศึกษาวิจัยถึงการใช้ประโยชน์จากไผ่ ทำให้เราทราบถึงประโยชน์ของไผ่ว่ามีมากมายมหาศาลที่จะนำเงินเข้าประเทศได้ หรือหมุนเวียนภายในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างระเทศ ไผ่จึงถือได้ว่าเป็นพืชมหัศจรรย์จริง ๆ ในเรื่องของการใช้ประโยชน์12. เอกสารอ้างอิง[1] กรกัญญา อักษรเนียม และปานศิริ นิบุญธรรม, 2554, ไผ่ พืชพรรณสร้างโลก, ว.เคหการเกษตร 35: 11, 76-99.[2] สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, 2553, ไม้ไผ่ในประเทศไทย, อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ, 24 น.[3] สภณท์ บุญเสริมสุข และชิงชัย วิริยะบัญชา, 2554, ไผ่พืชทางเลือกกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต, ว.เคหการเกษตร 12: 193, 195-197.อนาคตไผ่ไทยจะเป็นอย่างไร?โพสต์7 เม.ย. 2556 14:52โดยwebmaster sbc [ อัปเดต 7 เม.ย. 2556 15:13 ]
อนาคตไผ่ไทยจะเป็นอย่างไร?How will Bamboo be in the Future?ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก*ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120Thanpisit Phuangchik*Department of Agricultural Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University, Rangsit Centre, Klong Nueng, Klong Luang, Prathumthani 12120Corresponding author: thanpisitp@hotmail.com
บทคัดย่อไผ่เป็นพืชอเนกประสงค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายมาตั้งแต่อดีตกาล ในปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขึ้น สามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การผลิตเส้นใยเสื้อผ้าจากลำไม้ไผ่ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับไม้ไผ่ได้อย่างมาก และตลาดมีความต้องการสูง สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังใช้ลำไม้ไผ่ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต เช่น น้ำมันไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพจากลำไม้ไผ่ ใช้ผลิตถ่านกัมมันต์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เป็นต้น และชาวประมงก็ยังจำเป็นต้องใช้ไม้ไผ่ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น หอย และปลา เป็นต้น ถึงแม้จะต้องซื้อไม้ไผ่ในราคาแพงขึ้น และหายากกว่าเดิม ซึ่งไม้ไผ่ส่วนใหญ่นำมาจากภาคเหนือ เช่น จังหวัดน่าน และแพร่ เป็นต้น แต่สภาพของป่าไผ่ในปัจจุบันเหลือน้อยมาก เนื่องจากมีการตัดไผ่ในธรรมชาติเกินกำลังการผลิตของป่า ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันปลูกไผ่เพิ่มขึ้นก็จะเกิดปัญหาขาดแคลนไม้ไผ่มากยิ่งขึ้น แต่หากช่วยกันเพิ่มพื้นที่ปลูกไผ่ตั้งแต่บัดนี้ ป่าไผ่ก็จะมากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ และผู้เกี่ยวข้องในการแปรรูปไผ่ได้อีกมากมายมหาศาลคำสำคัญ : ไม้ไผ่ พลังงานทดแทน ภาวะโลกร้อน
AbstractA new appliance of bamboo is not only Thai traditional wickers as the past, but in the present bamboo is more valuable and marketable in cosmetics, fabric industry, renewable energy such as biodiesel and bio gas, and activated charcoal production. Moreover, bamboo could also reduce global warming crisis. This is because, bamboo is rich in biomass. It could mitigate emission of greenhouse gas, especially carbon dioxide in atmosphere. In Thailand, bamboo is abundance in northern forest, particularly in Nan and Phrae provinces. However, illegal logging is recent problem of bamboo forest. Therefore, compensatory planting of bamboo is solution to maintain its demand.Keywords: bamboo, renewable energy, global warming
1. บทนำไม้ไผ่ เป็นพืชที่โตเร็วที่สุดในโลก ขึ้นได้ดีมากในเขตร้อนชื้น (สุทัศน์, 2545) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เริ่มแตกหน่อได้ไม่กี่สัปดาห์ก็นำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ อายุเพียงปีเดียวใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เมื่ออายุแก่มากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างและทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งเครื่องเรือนนานาชนิดได้ ไม้ไผ่มีบทบาทและศักยภาพสูงมาก เนื่องจากอายุปลูกใช้งานสั้นมีจำนวนพันธุ์ที่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปหากผนวกเทคโนโลยีในการเสริมความแข็งแรง การป้องกันการเกิดเชื้อราและการทำลายของแมลง การผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย การออกแบบที่ดีและการตลาดสมัยใหม่มาประยุกต์ผลิตภัณฑ์ ไม้ไผ่ย่อมมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากจะใช้หน่อไม้สดๆ หรือหน่อไม้แปรรูปแบบต่างๆ เพื่อบริโภคแล้ว ไผ่ยังมีคุณค่าใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นวัสดุทดแทนไม้ได้เป็นอย่างดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไผ่ให้เส้นใยธรรมชาติที่อ่อนนุ่ม และโดดเด่นกว่าเส้นใยฝ้าย ไผ่ปรับความสมดุลของอากาศ ช่วยลดโลกร้อนเป็นอย่างดี ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย เนื่องจากเส้นใยจากไม้ไผ่มีคุณค่าที่โดดเด่นเหนือกว่าเส้นใยจากธรรมชาติอื่นๆ มาก ยังไม่มีเส้นใยจากธรรมชาติใดๆ ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าเส้นใยจากไม้ไผ่
2. ไผ่เพื่อเส้นใยและพลังงานทดแทนจากผลการวิจัยของหลายบริษัทชั้นนำในประเทศจีน ไต้หวัน ระบุว่า ไม้ไผ่ผลิตเส้นใย ปั่นเป็นเส้นด้าย จะใช้ถักทอผ้าได้ดีที่สุด ด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า คือ1. เส้นใยไผ่สามารถต่อต้านแบคทีเรีย ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ขจัดกลิ่นเหงื่อตามธรรมชาติ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้สกัดสารที่เรียกว่า Bamboo Kun เพื่อนำไปผสมกับเส้นใยจากธรรมชาติอื่นๆ ให้มีคุณสมบัติเช่นเส้นใยไผ่2. เส้นใยไผ่จะช่วยดูดซับความชื้นมากเป็นสองเท่าของเส้นใยจากฝ้าย3. เส้นใยไผ่อ่อนนุ่มกว่าเส้นใยจากผ้าฝ้าย ผ้าจากเส้นใยไผ่จะอ่อนนุ่มเหมือนสวมใส่ผ้าขนสัตว์และผ้าใยไหม4. ราคาของเส้นใยไผ่สามารถซื้อหาได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยอื่นๆ ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของผู้บริโภค5. เส้นใยไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ เติบโตเร็ว และเกิดทดแทนใหม่เสมอมากกว่าเดิมในปีถัดไป เมื่อตัดลำไผ่ไปผลิตเส้นใย จึงเป็นการรักษาโลกให้ยังคงมีความเขียวได้อยู่เสมอ แตกต่างจากการตัดต้นไม้ใหญ่ๆ6. ไม้ไผ่ เป็นพืชให้ธรรมชาติดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีคุณสมบัติที่น่าทึ่ง หลายอย่าง อาทิเช่น ให้ออกซิเจนในปริมาณสูงมากกว่าต้นไม้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ใช้เพียงปุ๋ยและน้ำ ไผ่จะจัดสมดุลออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ดีที่สุด จึงเรียกว่า มิตรของธรรมชาติ (Eco-friendly)ปัจจุบัน เส้นใยจากไผ่เป็นวัตถุดิบที่เป็นที่ต้องการสูงในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากเส้นใยไผ่นั้นมีคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะกับการนำมาถักทอเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มระดับคุณภาพ มีความนุ่มเหมือนไหม ทนทาน ยืดหยุ่น โปร่งและซึมซับความชื้นได้มากกว่าผ้าฝ้าย ทำให้สวมใส่ สบาย สามารถดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี ที่สำคัญมีสารกำจัดกลิ่นอยู่ในตัว ทำให้เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยไผ่ไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น อีกทั้งการปลูกไผ่เพื่อใช้เส้นใยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเหมือนกับการปลูกฝ้าย เป็นการลดมลภาวะไปในตัว (กรมป่าไม้, 2544)กระบวนการผลิตจะเริ่มจากการใช้ลำไผ่ (Cane) ที่มีอายุ 3 ปี เข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นใย (Bamboo fiber) ปั่นทอเป็นม้วนด้ายไม้ไผ่ (Bamboo yarn) ถักทอเป็นผ้า (Bamboo fabric) แล้วเข้าสู่กระบวนการตัดเย็บเสื้อผ้า (Bamboo cloth) ลำไผ่มีเส้นใยที่สามารถใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าได้ดีกว่าเส้นใยจากฝ้าย จีนเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตเส้นด้ายที่สุดในโลก อเมริกา อังกฤษ เป็นผู้รับซื้อเส้นด้ายรายใหญ่เมื่อผู้บริโภคทั่วโลกมีกระแสความนิยมรณรงค์ให้ใช้สินค้าสีเขียวจากธรรมชาติ สินค้าสุขภาพอนามัย และลดโลกร้อน จากข้อมูลประมาณการณ์ของ “สภาไม้ไผ่โลก” หรือที่เรียกว่า The World Bamboo Council : WBC มีสมาชิกกว่า 3,000 ราย ใน 40 ประเทศ ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า ผู้บริโภคปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ผลิตภัณฑ์จากไผ่ถึงกว่า 2,500,000,000 คน ภายในปี 2558 ตลาดโลกจะมีมูลค่ากว่า 800,000 ล้านบาท หรือมากกว่า และที่สำคัญ ปริมาณความต้องการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นภาคการผลิตที่น่าสนใจของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย ผู้นำประเทศตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้ผลิตไผ่เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับป้อนโรงงาน 2 กลุ่มอุตสาหกรรม กล่าวคือ1. กลุ่มโรงงานผลิตเส้นใย เพราะไม้ไผ่ให้เส้นใยที่มีคุณสมบัติดีเด่นที่สุดในโลก2. โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ลำไผ่เป็นเชื้อเพลิง เพราะลำไม้ไผ่แก่มีถ่าน 22% แก๊ส 21% และไบโอออย 57% นักวิจัยพบว่า พื้นที่ 1 เฮกแตร์ (1 เฮกแตร์ = 6.25 ไร่) ผลิตไผ่แห้งได้ 10 ตัน ให้น้ำมัน 4,600 ลิตร ถ่านแท่ง 2,200 กิโลกรัม มีคุณค่าทดแทนน้ำมันจากธรรมชาติ 2,000 ลิตร แต่ในความจริงประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดการผลผลิตได้สูงสุดถึง 50-100 ตันต่อไร่3. โรงงานผลิตถ่านเพื่อผลิตเส้นใยจากถ่านไม้ไผ่ เพราะถ่านไม้ไผ่ เมื่อนำมาทำเส้นใยถ่านไม้ไผ่จะมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูพลังงานในร่างกายมนุษย์ ให้ความเย็นสูงสุด ดูดซับเหงื่อ กำจัดควบคุมเชื้อโรคได้ดีที่สุด (ประเสริฐ, 2551)3. ไผ่กับปัญหาภาวะโลกร้อนปัญหาภาวะโลกร้อน ไผ่เป็นพืชที่ถูกจับตามองว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ตามปกติแล้ว ต้นไม้ในป่าและในพื้นที่สีเขียวทั้งหลายมีคุณสมบัติในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่ก๊าซนั้นจะสะสมอยู่ในบรรยากาศ อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน พื้นที่ป่าทั่วโลกถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น การปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนใช้เวลานานนับสิบปี ในขณะที่การปลูกไผ่ใช้เวลาเพียง 3-5 ปี อีกทั้งป่าไผ่ยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตก๊าซออกซิเจน และเก็บกักคาร์บอนไว้ในรูปของเนื้อไม้ได้ในอัตราที่สูงกว่าป่าธรรมชาติ 33, 35 และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังอุ้มน้ำและความชื้นไว้ได้มากกว่าป่าธรรมชาติถึงสองเท่า ไผ่ที่ปลูกริมน้ำช่วยป้องกันการพังทลายของดินริมตลิ่งได้เป็นอย่างดี พื้นที่ป่าไผ่สามารถเก็บความชุ่มชื้น และเป็นป่าต้นน้ำได้ดีเพราะรากไผ่สามารถดูดซับและเก็บน้ำไว้ได้มากถึง 3 เท่าของน้ำหนักต้น (กรกัญญา และปานศิริ, 2554) เช่น ที่น้ำตกไทรโยค น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีป่าไผ่เป็นป่าต้นน้ำ จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นต้นไผ่เป็นไม้เบิกนำที่สามารถขึ้นได้บนพื้นที่ว่างเปล่า จึงช่วยปรับปรุงสภาพของระบบนิเวศในบริเวณป่าเสื่อมโทรมได้ในระยะเวลาอันสั้นอีกทั้งระบบรากของไผ่ที่แผ่กว้างและสานกันเป็นร่างแหหนาแน่นยังทำให้ไผ่มีประสิทธิภาพสูงในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยป้องกันการชะล้างและการกัดเซาะพังทลายของหน้าดินได้ดีมาก โดยเฉพาะบริเวณริมคลองหรือริมตลิ่ง ชายแม่น้ำต่างๆ และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อ “ดินขุยไผ่” ซึ่งเป็นดินที่มีลักษณะร่วนโปร่งเบา และมีความอุดมสมบูรณ์สูงเหมาะกับการปลูกพืช (สุทัศน์, 2545)4. อุตสาหกรรมหลักไม้ไผ่อุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยแมลงภู่ในจังหวัดชายทะเล นิยมใช้ไผ่รวกหรือไผ่รวกแดงเป็นหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ เพราะมีข้อสั้น เนื้อแน่นแข็งทนต่อการกัดแทะของหอย และลำปล้องยาวใช้เลี้ยงหอยได้มาก โคนต้นใหญ่ปลายเรียว ทำให้ไม่ต้านลมเหนือผิวน้ำ สำหรับไผ่ตง ไผ่ซาง และไผ่ที่มีลำโตจะใช้ทำโครงโป๊ะเลี้ยงหอย ซึ่งไม้ไผ่ส่วนใหญ่นำมาจากภาคเหนือ เช่น จังหวัดน่าน และแพร่ เป็นต้น โดยมีการซื้อไผ่รวกเหมาสวนเฉลี่ยลำละ 10 บาท หากตัดส่งถึงรถบรรทุกจะขายเมตรละ 1 บาท ซึ่งราคาขายส่งถึงตลาดชายทะเลสูงถึงลำละ 30-40 บาทหมู่บ้านแสมขาวเป็นหมู่บ้านชาวประมง ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีประชากรโดยประมาณ 100 หลังคาเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำโป๊ะจับปลา และหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ดังนั้นหมู่บ้านแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีการใช้ไผ่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไผ่ตง ไผ่เลี้ยงและไผ่รวก โดยในทุก ๆ ปี จะมีการใช้ไผ่ ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งถือเป็นช่วงการผลัดเปลี่ยนโป๊ะจับปลาและทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ใหม่ แทนที่ของเก่าที่ย่อยสลายไปตามธรรมชาติในหมู่บ้านแสมขาวมีโป๊ะมากกว่า 50 แห่ง ทั้งที่เป็นโป๊ะรายใหญ่และโป๊ะของชาวบ้านทั่วไป ส่งผลให้มีรถบรรทุกมากกว่า 700 คันรถ หรือไผ่ประมาณ 5,000,000 ท่อน นำเข้าสู่หมู่บ้านแสมขาว ทำให้มีเงินหมุนเวียนในการซื้อขายไผ่เฉพาะที่หมู่บ้านแห่งนี้มากกว่า 50 ล้านบาท (กรกัญญา และปานศิริ, 2554)ไผ่ทั้งหมดจะนำมาเพื่อสร้างโป๊ะและหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ การสร้างโป๊ะจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สร้างในส่วนของโป๊ะจับปลา โดยจะใช้ไผ่ตงประมาณ 300-400 ลำต่อหนึ่งโป๊ะ นำมาปักเป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อดักจับปลา จากนั้นนำไผ่เลี้ยงหรือไผ่รวกมาทำปีกโป๊ะ เพื่อเป็นทางนำปลาเข้าสู่โป๊ะ ซึ่งปีกโป๊ะที่ว่า ก็คือหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่นั้นเอง ในหนึ่งโป๊ะจะต้องใช้ไม้ไผ่เพื่อทำปีกโป๊ะประมาณ 20,000-30,000 ท่อน ขึ้นอยู่กับระดับน้ำของจุดที่สร้างโป๊ะ โดยถ้าระดับน้ำลึกจะใช้ไผ่ที่มีความยาวประมาณ 10-13 เมตร แต่ถ้าระดับน้ำตื้นประมาณ 6-8 เมตร จะใช้ไผ่ยาว 8-10 เมตร ทำให้ต้องใช้ไม้ไผ่มากกว่าโป๊ะน้ำลึก ( 40,000-50,000 ท่อน) นอกจากนี้ในส่วนพื้นที่ใกล้ฝั่งที่ยังไม่มีการสร้างโป๊ะ บางครอบครัวจะนำไม้ไผ่ที่มีความยาวไม่ถึง 5 เมตร มาปักทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่สำหรับช่วง 8 เดือนที่เหลือ จะถือเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหนึ่งโป๊ะสามารถจับพวกสัตว์ทะเล ทั้งปลา กุ้ง ปลาหมึกได้ตั้งแต่การสร้างโป๊ะแล้วเสร็จ ส่วนหลักเลี้ยงหอยนั้นจะเริ่มเก็บได้ประมาณเดือนที่สามหลังการทำหลัก ไม้ไผ่ 1 หลักยาวประมาณ 13 เมตรจะเก็บหอยแมลงภู่ได้ประมาณ 50 กิโลกรัม แต่ถ้าเกิดมรสุมฝนตกหนัก น้ำทะเลมีน้ำจืดเจือจางมาก หรือโรงงานปล่อยน้ำเสียลงทะเลมาก ทำให้หอยแมลงภู่ตายหรือไม่เจริญเติบโตได้อาชีพการทำโป๊ะจับปลาและหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ยังถือเป็นอาชีพที่สามารถทำต่อไปได้อีกนาน ถึงแม้จะมีอุปสรรคในเรื่องความแปรปรวนของสภาพอากาศมาทำให้ปริมาณหอยแมลงภู่ที่เก็บได้ลดลง แต่เมื่อเทียบกับราคาจำหน่ายหอยแมลงภู่ในตลาดที่สูงขึ้น ชาวบ้านแสมขาวก็ยังมีกำไรจากการทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ขายแม้จะต้องลงทุนในการสร้างโป๊ะจับปลาทุกปีก็ตาม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตราบใดที่ชาวบ้านยังยึดถืออาชีพนี้อยู่ ไม้ไผ่ก็ยังถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญและมีความต้องการสูงอยู่มากนอกจากจะมีการใช้ไม้ไผ่ในการทำแพ ทำโป๊ะเลี้ยงปลา เลี้ยงหอยในอุตสาหกรรมประมงแล้ว ยังมีการใช้ลำไผ่ชะลอความแรงของน้ำ ป้องกันน้ำกัดเซาะริมตลิ่ง ซึ่งใช้มากในฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วม5. ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงปัจจุบันเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับไผ่มีการพัฒนาและก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ไผ่จึงไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันเท่านั้น เช่น ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงที่ได้จากการเผาที่อุณหภูมิ 1,000oC ขึ้นไป ด้วยเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพ จะมีความสามารถสูงในการดูดซับกลิ่น ความชื้น สารพิษ สารเคมี ช่วยฟอกอากาศ กำจัดแบคทีเรีย ช่วยปลดปล่อยประจุลบ และอินฟราเรดคลื่นยาว ช่วยดูดซับรังสี ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น มีผลให้จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ใช้ทำผลิตภัณฑ์สุขภาพนานาชนิด รวมถึงใช้ทำถ่านกัมมันต์ (activated carbon) ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก เนื่องจากมีรูพรุนจำนวนมหาศาล มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนและไนโตรเจนได้สูงมาก ผงคาร์บอนที่ผลิตได้จากถ่านไม้ไผ่เมื่อนำมาผสมกับดิน นอกจากจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังมีความสามารถในการดูดซับไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ไปทำลายชั้นโอโซนที่เป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตของโลกมากที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ ถ่านไม้ไผ่ยังถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมยา-เครื่องสำอาง ใช้ทำไส้กรองน้ำ ไส้กรองอากาศ ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น (กรมป่าไม้, 2544)ในกระบวนการผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงนี้ นอกจากจะได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ยังได้น้ำส้มควันไม้ (Wood vinegar) ที่มีคุณภาพดีและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ผสมกับแชมพูรักษารังแค ผมร่วง เชื้อรา ป้องกันเห็บหมัดในสัตว์ ใช้ผสมน้ำพ่นหรือเช็ดถูพื้นกำจัดกลิ่นเหม็นจากเชื้อราในบ้าน ใช้เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน เป็นสารยืดอายุความสดของดอกไม้ ใช้ทำสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโต รวมถึงสารยับยั้งและควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรา นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยในต่างประเทศว่า ไผ่เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในด้านพลังงาน โดยสามารถนำมาผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดที่มีค่าพลังงานความร้อนสูง หรือนำไปสกัดเป็นน้ำมันดิบชีวมวลและแก๊สมีเทน (กรมป่าไม้, 2544) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและประเทศชาติมีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง6. ไม้ใช้สอยไม้ไผ่นั้นมีความแข็งแกร่งเหมือนไม้เนื้อแข็งหรืออาจเหนือกว่าไม้บางชนิด โดยเฉพาะเมื่อนำมาแปรรูปเป็นไม้ประสานแล้ว จะมีความแข็งแกร่งต่อน้ำหนักวัสดุใกล้เคียงกับเหล็กอ่อนเลยทีเดียว นอกจากนี้ ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่บวม หรือหดตัวมากเหมือนไม้เนื้อแข็งทั่วไป จึงเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไม้พื้น อีกทั้งมีความสามารถในการสร้างผลผลิตลำใหม่ทดแทนลำเก่าที่ถูกตัดออกได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็วและยั่งยืน ทำให้ไม้ไผ่มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้จริงจากป่าธรรมชาติในอนาคต (กรมป่าไม้, 2541) ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกไผ่ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น รวมถึงการหาแนวทางในการนำไผ่มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ให้ได้อย่างรวดเร็ว7. พื้นที่การปลูกไผ่ของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไผ่อยู่ประมาณ 2,850,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรไม้ประมาณ 17.6 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีดัชนีความหลากหลายอยู่ที่ 1.7 (สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, 2553) ป่าไผ่ที่กล่าวถึงส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ปัจจุบันพบไผ่ท้องถิ่นในประเทศไทย 17 สกุล 72 ชนิด และเกือบทั้งหมดเป็นไผ่ที่เจริญเติบโตเป็นกอไผ่สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้เกือบทุกพื้นที่รวมถึงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) และไผ่ซางนวล (D. memdranaceus) พบขึ้นปะปนกับต้นสักในป่าผสมผลัดใบ ไผ่บางชนิด เช่น ไผ่บงใหญ่ (D. brandisii) ไผ่เป๊าะ (D. giganteus) และไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile) พบขึ้นในป่าดิบชื้น ในขณะที่ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) มักพบขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรังไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์โดยทั่วไปอยู่ใน 5 สกุลใหญ่ คือ สกุล Dendrocalamus สกุล Bambusa สกุล Thyrsostachys สกุล Cephalostachyum และสกุล Gigantochloa โดยไผ่ที่นิยมปลูกเพื่อให้ผลผลิตหน่อและลำได้แก่ ไผ่ตง (Dendrocalamus asper) ไผ่สีสุก (Bambusa blumeana) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) และไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) ในจำนวนนี้ ไผ่ตงเป็นไผ่ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากที่สุด โดยปลูกมากในภาคตะวันออกเพื่อใช้ประโยชน์จากทั้งหน่อและลำ ในขณะที่ไผ่รวกสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในป่าธรรมชาติ และมีการนำมาปลูกเพื่อประโยชน์ใช้สอยตามบ้านเรือนทั่วไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการนำพันธุ์ไผ่ชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นมีหน่อและลำขนาดใหญ่ มีปล้องยาว เนื้อลำหนา หรือให้หน่อดกตลอดทั้งปี มาปลูกและขยายพันธุ์ขายกันจนเป็นที่นิยมแพร่หลายอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยมีทั้งที่นำออกมาจากป่าธรรมชาติและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (สุทัศน์, 2545)8. บทสรุปโดยคุณประโยชน์ของไผ่ถือว่าเป็นพืชที่มีความมหัศจรรย์ ในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก และอยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน ในอนาคตอันใกล้นี้ เราคงจะได้เห็นประโยชน์ของไผ่อย่างชัดเจนแจ่มใสอย่างมาก ยิ่งถ้าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการส่งเสริมการปลูกและการตลาด ผมรับรองว่าไผ่เป็นพืชที่มีอนาคตอันรุ่งโรจน์และยั่งยืนตลอดไปครับ9. เอกสารอ้างอิงกรกัญญา อักษรเนียม และปานศิริ นิบุญธรรม. 2554. ไผ่ พืชพรรณสร้างโลก. วารสารเคหการเกษตร. 35: 11, 76-99.กรมป่าไม้. 2541. การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. 168 น.กรมป่าไม้. 2544. กิจการชุมชน…กับการใช้ประโยชน์ไม้และของป่า. 212 น.ประเสริฐ ดอยลอม. 2551. แนวทางส่งเสริมการปลูกไผ่. 15 น.สุทัศน์ เล้าสกุล. 2545. ไผ่เศรษฐกิจที่น่าสนใจในประเทศไทย, น.205-214. ใน รายงานการสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 7. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. 2553. ไม้ไผ่ในประเทศไทย. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 24 น.

Product คลิ๊กดูProduct

ปัจจุบันเราผลิตไม้ไผ่กันมอดด้วยวิธีแช่กันมอด และระบบอัดน้ำยากันมอดด้วยระบบศูนย์ยากาศ เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้ตามความต้องการ