Ajahn Gavesako - Songkran and the Meaning of Time (11.4.2015)

Ajahn Gavesako - Songkran and the Meaning of Time

Dhamma talk at Chithurst monastery on 11.4.2015

“Kālo ghasati bhūtāni, sabbāneva sahattanā'ti” (Jā. 1.2.190)

http://1drv.ms/1DKJtXP (MP3)

~ ~ ~ ~ ~ ~

The Songkran festival (Thai: สงกรานต์ )from the Sanskrit word saṃkrānti, literally "astrological passage") is celebrated in Thailand as the traditional New Year's Day from 13 to 15 April. It coincides with the New Year of many calendars of South and Southeast Asia. The festive occasion is in keeping with the Buddhist/Hindu solar calendar.

คำว่า ‘สงกรานต์’ คำนี้ ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็เป็น ‘สงฺกนฺต’ (สังกันตะ) แปลว่า ก้าวไปพร้อม คือ การก้าวหน้า

:

อย่างแรก ก็คือ ความก้าวหน้าของเวลา อย่างที่สอง ก็คือ ความก้าวหน้าของบุคคล

:

ถ้ามันเป็นความก้าวหน้าของเวลา เวลาก็กินสัตว์ กินชีวิต แต่ถ้าเป็นความก้าวหน้าของบุคคล บุคคลก็เป็นผู้กินเวลา กลับกันอยู่ดังนี้

:

ถ้าเวลาก้าวหน้า คนก็ถูกกิน นี้ก็พอจะเห็นได้ไม่ยากนัก ว่าวันคืนมันล่วงไป ล่วงไป คนมันก็แก่ชราลง แก่ชราลง และใกล้ความตายเข้าไปทุกที จนถึงความตายในที่สุด นี้เรียกว่าเวลามันก้าวหน้า คนก็ถูกกิน

:

แต่ทีนี้ ถ้าคนเกิดก้าวหน้าขึ้นมาบ้าง คือคนได้รู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นหัวใจของพระศาสนาโดยแท้จริง คือเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาที่จะยึดมั่นแล้ว เวลาก็ทำอะไรบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะบุคคลนั้นพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อย่างนี้เรียกว่าบุคคลนั้นกินเวลา เวลาเป็นฝ่ายที่ถูกกิน

:

สรุปความสั้นๆก็ว่า ถ้าคนไม่รู้ธรรมะ เวลาก็กินคน ถ้าคนรู้ธรรมะ คนก็กินเวลา

:

การที่เวลากินคนนั้น ไม่เป็นของสนุกเลย หมายความว่ามีความทุกข์ร้อนนานาประการ เกี่ยวกับการที่เวลามันล่วงไปล่วงไป เดี๋ยวนี้คนเป็นอันมาก ก็ร้อนใจอยู่ด้วยเรื่องเกี่ยวกับเวลา คือยังทำอะไรไม่เสร็จ ยังทำอะไรไม่ได้ตามที่ตัวต้องการ ยังหิว ยังกระหายอยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่าคนลำบากเดือดร้อน เพราะถูกเวลากิน เพราะว่าเขาไม่เป็นผู้รู้ธรรม ไม่รู้จักปล่อยวางสิ่งทั้งปวงอย่าให้มารบกวนจิตใจ

:

ถ้าเราพิจารณาดูอีกทางหนึ่งก็จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่รู้ธรรมะนั้น ย่อมเดินถอยหลังเพราะถูกเวลากิน ไม่มีการก้าวหน้า คนโง่ คนพาล คนเขลาชนิดนี้ย่อมไม่มีสงกรานต์กับใครเลย เพราะว่าเขาไม่ก้าวหน้า แต่กลับถอยหลังไปเสียอีก ถ้าบุคคลผู้ใดรู้ธรรมบุคคลนั้นก้าวหน้าเรื่อยไป บุคคลนี้มีสงกรานต์ คือมีการก้าวหน้า

:

แต่ถ้าพูดว่าสงกรานต์ สงกรานต์ แล้วก็เป็นกันทุกคน พูดเป็นกันทุกคน ถ้ายิ่งเล่นสงกรานต์อย่างเช่นสาดน้ำเป็นต้นกันด้วยแล้วก็ยิ่งทำเป็นกันทุกคน แต่คิดๆดูเถิดว่ามันเป็นการกระทำของคนโง่ หรือคนฉลาด

:

การเล่นสงกรานต์เพียงเท่านั้นมันจะเป็นสงกรานต์คือเป็นความก้าวหน้าไปไม่ได้ มันเป็นเรื่องของคนโง่ที่มัวแต่เหลวไหลอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่มีการก้าวหน้า ถ้าเป็นสงกรานต์จริงๆ มันต้องเป็นการก้าวหน้า คือมีจิตใจที่ก้าวหน้า

:

เพราะเหตุเช่นนี้แหละ จึงพูดว่า คนที่ไม่รู้ธรรมะย่อมถอยหลัง ไม่มีการก้าวหน้า ไม่มีสงกรานต์ คนที่มีความรู้ธรรมะเท่านั้นที่มีการก้าวไปข้างหน้า และมีสงกรานต์ ~ ✽

:

ที่มา : บรรยายธรรม วันสงกรานต์ ปี ๒๕๑๒

:

รับฟังเสียง : https://www.youtube.com/watch?v=My5bIk0ih08

"It says in the Pali that time devours all living things. Time passes, day-time, night-time, and devours, eats all living things, that is, it allows creatures to age and die, to pass away. Time bites us when we hope, when we expect to get something and what we’re hoping for hasn’t arrived yet. Time bites us because we don’t get the thing we want quickly enough. How do we stop time from biting us? Well, we know how time operates so we don’t do anything with expectation, we act with a clear mind, with a smart mind, we act with clarity and don’t allow time to interfere, to have meaning for us. Time has no meaning for us if we avoid thinking too much about past or future events, because then there’s no foolish desire arising towards such things."

Ajahn Buddhadasa

http://dhammavidu.com/DV/Living_in_the_present.html

"Thus an instructed disciple of the noble ones reflects in this way: 'I am now being chewed up by form. But in the past I was also chewed up by form in the same way I am now being chewed up by present form. And if I delight in future form, then in the future I will be chewed up by form in the same way I am now being chewed up by present form.' Having reflected in this way, he becomes indifferent to past form, does not delight in future form, and is practicing for the sake of disenchantment, dispassion, and cessation with regard to present form."

Khajjaniya Sutta

http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.079.than.html

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าบัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หัวข้อที่ ๑๖๐

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=17&item=159

กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย

ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว.

(มูลปริยายชาดก)

“Time eats all beings, along with itself.

But the being who eats time,

Has burned up the burner of beings.”

(Mūlapariyāya Jātaka, Jāt. ii. 260)

Kālo ghasati bhūtāni sabbāneva sahattanā.

กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.

"Time eats up all beings as well as itself."

ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๕. 27/95.khu.

For the background story, see the Mulapariyaya Jataka:

http://obo.genaud.net/dhamma-vinaya/pts/kd/jat/jat.2/jat.2.245.rous.pts.htm

http://www.dharma-gateway.com/buddha/chadok-02-02/chadok-021005.htm

++++++

Chronophage - Corpus Clock

http://youtu.be/MtinggtOUFg

See http://en.wikipedia.org/wiki/Corpus_Clock