ข้อมูลทั่วไป

ประวัติย่อของโรงเรียน

       โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452 )โดย พระครูเมธัง กรญาณ ณ ศาลาวัดบ้านดู่ มีพระภิกษุสามเณรเป็นครูสอน นานถึง 28 ปี

           พ.ศ. 2480 ได้ย้ายมาตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านป่าซาง ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คือ ที่ตั้งปัจจุบันซึ่งมีเนื้อที่กว้างและ บางส่วนเป็นป่าช้า ราษฎร หมู่ที่ 2,3,4,8 และ 9 จึงได้ย้ายป่าช้าไปตั้งที่อื่น ราษฎรได้พร้อมใจกันสร้างอาคารถาวร แบบพิเศษ ขนาด 3 ห้องเรียน 1 หลัง เดิมชื่อ " โรงเรียนประชาบาล ตำบลบ้านดู่ 1 (บ้านดู่ดรุณานุกูล) "มีนายอำนาจ ตามรภาค เป็นครูใหญ่คนแรก

           พ.ศ. 2493 ราษฎรได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียน แบบ ป1 ก.ขนาด 4 ห้องเรียน1 หลัง ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า " โรงเรียนบ้านดู่ (บ้านดู่ดรุณานุกูล) " มีนายเอื้อ ยอดสุวรรณ เป็นครูใหญ่

            พ.ศ.2502 ทางราชการได้ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา (สามัญ) ขึ้นในบริเวณเดียวกันและใช้ชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)"

            พ.ศ.2504 ได้รวมโรงเรียนทั้งสองเป็นโรงเดียว และยังคงใช้ชื่อว่า"โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)" มีนายอนันท์ มาลารัตน์ เป็นครูใหญ่

            พ.ศ. 2506 ทางราชการได้ขยายการศึกษาภาคบังคับ และให้โรงเรียนเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ซึ่งเรียกว่า ประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2535 เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ปัจจุบันจัดการเรียนการสอน 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3

         ปี พ.ศ. 2558  นายบุญห่วง  ภัทรเชาว์ เกษียณอายุราชการ และนายผจญ  กุณา  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) ลำดับที่ 12

           ปี พ.ศ. 2559   โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) ได้รับเกียรติในการเยือนของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการ FIFA 11 For Health และได้รับสนับสนุนจากชมรม ศิษย์เก่า - ศิษย์ปัจจุบัน และทุกภาคส่วนในชุมชน ร่วมกันก่อสร้างรั้วโรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)

           ปี พ.ศ. 2560 โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 16 ล.57-ข (สำหรับก่อสร้างในเขตแผ่นดินไหว) เป็นเงินทั้งสิ้น 17,698,000 บาท (สิบเจ็ดล้านหกแสนเก้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

มีพื้นที่ ทั้งหมด 52 ไร่ 64 ตารางวา

อาคารเรียน   : อาคารอนุบาล , อาคาร สปช.2/28 , อาคาร สปช.105/29,อาคาร 216 ล/57-ข (ในเขตแผ่นดินไหว)

อาคารประกอบ : โรงอาหาร,โรงฝึกงาน 313 A,โรงฝึกอาชีพ,อาคารเอนกประสงค์ , อาคารพยาบาล , อาคารเกษตร , หอประชุม , ห้องสมุด , อาคารปินทองปินคำ


แผนผังโรงเรียน


ตราสัญลักษณ์โรงเรียน หมายถึง คุณธรรมนำความรู้

คติธรรมประจำโรงเรียน

ปัญญา โลกสฺมิง ปชฺโชโต

(ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)

คำขวัญของโรงเรียน

เรียนดี มีวินัย น้ำใจนักกีฬา พัฒนาประชาธิปไตย ใฝ่คุณธรรม นำสิ่งแวดล้อม

ปรัชญาของโรงเรียน

ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งชีวิต

สีประจำโรงเรียน

สีขาว-เขียว

สีขาว หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์

สีเขียว หมายถึง ความชุ่มชื่น ร่มเย็น

วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)

          โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและความเป็นสากล ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ไม่พึ่งพายาเสพติด  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายและชุมชน

  พันธกิจโรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)

1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2. ส่งเสริมให้ประชากรในวัยเรียนในเขตพื้นที่ให้บริการของโรงเรียนได้รับโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา

3. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

4. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นเชี่ยวชาญในวิชาชีพ

6. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 

เป้าประสงค์โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)

1. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบบ  ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2. ประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตพื้นที่ให้บริการของโรงเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค

3. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณธรรมสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสามารถในการแข่งขัน

4. ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ

6. โรงเรียนดำเนินการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน