การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
โรงเรียนสิรินธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

สาระน่ารู้ COLA MODEL

วิทยาการคํานวณด้วย COLA / COPA Model

เป้าหมายการศึกษาของโลกอนาคตเป็นเป้าหมายที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่มีใครจะระบุได้อยางบก เด็กที่จะต้องดําเนินชีวิตในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า จะต้องมีสมรรถนะอย่างไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในสถานการณ์ ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น จะมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ใน สังคมอนาคตอย่างไร ไม่อาจจะคาดเดาได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างของการทําลายล้างระบบธนาคาร ระบบ สถานีโทรทัศน์ ระบบการค้าขาย พฤติกรรมการซื้อของของคนในสังคมปัจจุบัน การลดปริมาณคนเกิด ทาเเรง24 ต้องกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยต้องปิดหลักสูตรจํานวนมาก เพราะไม่มีคนเรียน คนสั่งซื้อของกินได้จาก หลากหลายร้านอาหารโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน เปลี่ยนพฤติกรรมการสื่อสาร ฯลฯ ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ ทาเห นักการศึกษาต้องกลับมาพินิจ พิจารณาว่า เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนเพื่อดําเนินชีวิตในโลกอนาคตจําเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน อย่างน้อยสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในวันนี้ คือ สาระความรู้ที่ต้องจดจํา แทบจะไม่มีความจําเป็น อีกต่อไป หากแต่จะต้องกลับมาให้ความสําคัญกับกระบวนการแสวงหาความรู้ การใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีมากมาย มหาศาล นํามาเพื่อการแก้ปัญหา และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างจะชัดเจนมาก คือ โลก อนาคตจะเป็นโลกที่หนีไม่พ้นการทํางานร่วมกับเทคโนโลยี การทํางานร่วมกับสิ่งประดิษฐ์อันเป็นผลผลิตที่ของ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อาทิ หุ่นยนต์ที่นับวันจะมีสมรรถนะสูงมากขึ้นจนน่าตกใจ ซึ่งเชื่อกันว่า ในอนาคตอันใกล้ งานหลายอย่างหุ่นยนต์จะเข้ามาทํางานแทนที่มนุษย์ได้เกือบสมบูรณ์ ดังนั้น มนุษย์ในโลกอนาคต จําเป็นต้องมี สมรรถนะบางอย่างที่แตกต่างไปจากมนุษย์ในปัจจุบัน หรือคนรุ่นเก่า (Baby Boomer) ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษาใน ยุคอดีต คนรุ่นใหม่จะต้องมีสมรรถนะที่จะต้องทํางานกับประดิษฐ์กรรมทางเทคโนโลยี ที่ไม่ได้ซาญฉลาดด้วยตัวมันเอง หากแต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการคําสั่งที่ชาญฉลาดจากมนุษย์ ที่จะต้องไปกํากับควบคุมมันอย่างเป็นระบบ หากคนที่จะ ทํางานกับหุ่นยนต์ไม่มีความสามารถที่จะสั่งการ หรือมอบหมายภารกิจที่ไม่เป็นระบบ ไม่เป็นขั้นเป็นตอน แน่นอนว่า หุ่นยนต์นั้นก็จะทํางานไม่ได้ หรือทําได้ก็ไม่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ การสร้างสมรรถนะผู้เรียนในปัจจุบันเพื่อให้เขาเหล่านั้น มีสมรรถนะที่พร้อมจะทํางานกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จําต้องได้รับการพัฒนานับตั้งแต่ ทักษะการคิดคํานวณ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ จํานวนมากเพื่อนํามาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา การสังเคราะห์ จัดการกับข้อมูลสารสนเทศเพื่อการนําเสนอ ได้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ง่ายต่อการเข้าใจ มีประสิทธิภาพ และมีความฉลาดรู้ในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน มี คุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบ ตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสื่อดิจิทัลทั้งหลายอย่างรอบคอบและระมัดระวัง

กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วย COLA Model

การดําเนินงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วย COLA Model จะใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ เป็นเครื่องมือในการดําเนินกิจกรรมให้เกิดขึ้นและตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ กระบวนการชุมชน การเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของนักการศึกษา ที่มี ข้อตกลงร่วมกันอย่างมั่นคงว่าจะแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สะท้อนคิด การลงไปเยี่ยม ติดตามเพื่อเรียนรู้ร่วมกันที่ห้องเรียนจริง จนกว่าจะเห็นผลของการปฏิบัติที่มีพัฒนาการที่ดี ขึ้น หรือได้แนวปฏิบัติที่ดีที่ใช้ในการแก้ปัญหานั้น (Best practice)

องค์ประกอบ

ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ มีลักษณะสําคัญอย่างน้อย 8 ประการ (Hord, 2004; Louis et al, 1995; Louis et al, 2006) ประกอบด้วย

1. การแบ่งปันวิสัยทัศน์และค่านิยม (Share values and ision) การทํางานร่วมกันของครูและบุคลากร ทางการศึกษา ที่จะมาเป็นทีมเดียวกันได้นั้น ทุกคนต้องมีมมมองและค่านิยมที่คล้ายคลึงกันว่า การ พัฒนาวิชาชีพ การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เป็นประเด็นสําคัญที่สุด มี ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนา ตนเองร่วมกันภายใต้ความร่วมมือระหว่างเพื่อน ๆ

2. การแบ่งปันความรับผิดชอบ (Collective responsibility) การดําเนินงานลักษณะที่เป็นชุมชน ทุกคน จะต้องร่วมกันรับผิดชอบตามภารกิจที่มองหมาย อาทิ การออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ การร่วมกัน สะท้อนความคิดต่อ แผนจัดการเรียนรู้ การยอมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอของเพื่อนด้วยเหตุด้วยผล เป็นต้น

3. การสืบเสาะสะท้อนความคิดอย่างมืออาชีพ (Reflective professional inquiry) การสนทนา ร่วมกัน ภายในกลุ่มด้วยการสะท้อนความคิดต่อปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นเงื่อนไขสําคัญที่จะทําให้ได้มุมมอง การเรียนรู้ใหม่ ๆ ร่วมกัน

4. ความร่วมมือ (Collaboration) เป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ชุมชนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างเข้ม แข็ง และ เข้มข้นเพียงใด การร่วมมือกันภายในกลุ่มจะเป็นตัวชี้วัดความสําเร็จประการหนึ่ง

5. กลุ่ม (Group) การมีครูที่เป็นสมาชิกอยู่ประมาณ 2 - 5 คน ในการเป็นกลุ่มการเรียนรู้วิชาชีพ ร่วมกัน

6. การยอมรับซึ่งกันและกัน (Mutual trust) การให้การยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน แบบถ้อยที ถ้อยอาศัย จะช่วยทําให้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เดินหน้าได้อย่างมีความสุข

7. การยอมรับนับถือและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Respect and support among staff members) การทํางานร่วมกันย่อมต้องให้เกียรติ ยอมรับนับถือ และสนับสนุนซึ่งกันและกันในเชิงสร้างสรรค์

8. ความเป็นสมาชิกแบบทั้งตัวและหัวใจ (Inclusive membership) ชุมชนการเรียนรู้แบบวิชาชีพ จะสําเร็จ มากน้อยเพียงใดอยู่ที่สมาชิกจะร่วมมือทุกเท สนับสนุน แสดงภาวะผู้นําทางวิชาการร่วมกันในการทํางานเพื่อประโยชน์ สูงสุดของลูกศิษย์ วัตถุประสงค์หลักของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ คือ การมุ่งยกระดับประสิทธิภาพของครูให้เป็นครมือ อาชีพ เพื่อผลประโยชน์ต่อลูกศิษย์อย่างสูงสุด ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ จะสะท้อนได้ด้วยการแสดง

ศักยภาพของกลุ่มที่ช่วยส่งเสริมและยกระดับของคุณภาพการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพทั้งหมดในสังคมหรือบริบทของ โรงเรียนทั้งโรงเรียน ด้วยการมุ่งสู่การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนได้อย่างสูงสุด (Bolam et al., 2005, 145) ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ มีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิด ความร่วมมือการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Collaborative continuing professional development) (Cordingley, Bell, Rundell & Evans, 2003)