สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร

โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

ประวัติและผลงาน

ประกอบการประเมินการคัดเลือกบุคคลทางการเกษตรดีเด่น

ประเภท สมาชิกยุวเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์

โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

1. ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อ-สกุล นาย วชิรวิทย์ สุปินบุตร เลขบัตรประชาชน 1819800024787

วัน เดือน ปีเกิด 15 สิงหาคม พ.ศ.2548

สัญชาติ/เชื้อชาติ/ศาสนา สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 92 หมู่ที่ 10 ตำบล สินปุน อำเภอ เขาพนม จังหวัด กระบี่

2. ข้อมูลด้านครอบครัว

บิดา นาย สาโรจน์ สุปินบุตร ประกอบอาชีพ เกษตรกร

มารดา นางสาว วิลัยวรรณ์ ชูช่วย ประกอบอาชีพ เกษตรกร

มีพี่น้อง ทั้งหมด 3 คน คือ 1) นาย วชิรวิทย์ สุปินบุตร

2) เด็กหญิง รุ่งฤดี สุปินบุตร

3) เด็กหญิง ศศิรินทร์ สุปินบุตร

3. ข้อมูลการศึกษา

ระดับปฐมวัย โรงเรียนเด็กเล็ก จุฬาภรณ์ 1 ทุ่งใหญ่ - โรงเรียนบ้านโคกคา

ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านโคกคา

ปัจจุบัน กำลังศึกษาอยู่ในมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

4. งานที่รับผิดชอบในโรงเรียน

1) เป็นประธานกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์ โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

2) เป็นกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

3) เป็นกรรมการสภานักเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลสินปุน

4) หัวหน้าควบคุมกลุ่มฐานการเรียนรู้ของกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์

5) เป็นหัวหน้ากลุ่มดูแลกิจกรรมฐานเลี้ยงผึ้ง

6) เป็นหัวหน้ากลุ่มดูแลธนาคารใบไม้โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

7) เป็นแกนนำลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

8) เป็นแกนนำนักเรียนกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ด้านการศึกษาของโรงเรียน

9) เป็นผู้ควบคุมเครื่องเสียงสำหรับงานสภานักเรียนภายในโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

10) เป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีหนังตะลุงของโรงเรียนประจำท้องถิ่นตำบลสินปุน

5. คติประจำใจ

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย : ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา : บัณฑิตย่อมฝึกตน

6. ความคิดริเริ่มและแนวคิดในการดำเนินงาน

ภูมิลำเนาบ้านเกิดของข้าพเจ้า คือ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ อาชีพของผู้คนใน ท้องถิ่นภายในตำบลสินปุน คือ อาชีพด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การทำสวนปาล์มน้ำมัน และ สวนยางพารา ครอบครัวของข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกัน มีอาชีพทำสวนยางพารา และรับซื้อน้ำยางพารา รอบบ้านมี การปลูกผักสวนครัวและผลไม้โดยไม่ใช้สารพิษ เพื่อไว้รับประทานเอง เหลือไว้แบ่งปัน และขายเป็นรายได้เสริมถ้าเหลือมากเกินรับประทานหมด ตอนเช้าและตอนเย็นบ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นพ่อเฒ่าและแม่เฒ่าถากหญ้า ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ตามประสาคนมีอายุมากแล้ว ท่านบอกว่าปลูกไว้เพื่อให้ลูกหลานได้กิน และเราก็ได้กินเอง เหลือไว้ขายบ้าง ไม่ต้องออกไปซื้อบ่อยๆ เปลืองตังค์ และปลอดภัยไม่มียาหรือสารเคมี เพราะเราปลูกเอง กินเอง เรารู้ว่าเราทำอะไร ท่านว่า ปลูกทุกอย่างที่กินได้ และพยายามกินทุกอย่างที่เราอุตส่าห์ปลูกลงไป ปลูกพอดีๆ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ทำให้ข้าพเจ้าได้ซึมซับแนวความคิดหลายๆอย่างจากพ่อเฒ่าแม่เฒ่าและการลงไปช่วยท่านๆบ่อย นอกจากนี้ครอบครัวข้าพเจ้ายังสืบทอดการเล่นหนังตะลุงและมโนราห์มาจากบรรพบุรุษ ซึ่งได้สืบสานและถูกส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น จนมาถึงรุ่นข้าพเจ้า ปัจจุบันข้าพเจ้าเป็นนายหนังตะลุงประจำบ้าน และประจำท้องถิ่นสินปุนไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายๆเรื่องที่ข้าพเจ้าสนใจและชื่นชอบมากเป็นการส่วนตัว ข้าพเจ้าชอบสะสมตัวหนังตะลุง การออกแบบตัวหนังตะลุง การวาดภาพเหมือน ว่างจากการศึกษาเล่าเรียนและทำงานบ้าน ข้าพเจ้ามักจะซ้อมเล่นหนังตะลุง ร่วมกิจกรรมกับชมรมหนังตะลุงพื้นบ้าน สะสมของโบราณ จนกระทั่งได้มี คุณครูเทียนชัย ยอดทดอง และครูสมชัย ลีสุรพงศ์ เห็นความสามารถพิเศษในตัวของข้าพเจ้าตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงได้สนับสนุนส่งเสริมในทุกๆอย่าง โดยเฉพาะ ความสามารถทางด้านการเล่นหนังตะลุง และการว่ากลอนมโนราห์ คุณครูได้ส่งเสริมสนับสนุนทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนหลายอย่างเพื่อฝึกประสบการณ์ ความสามารถ และทักษะชีวิตเรื่อยมา หนึ่งในกิจกรรมทั้งหลายเหล่านั้นคือ กิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มยุวเกษตรกรจนกระทั่งปัจจุบันนี้ข้าพเจ้าเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แล้ว และปัจจุบันข้าพเจ้าได้รับการไว้วางใจความเชื่อมั่นจากเพื่อนสมาชิกในกลุ่มยุวเกษตรกรและครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์ คุณครูสมชัย ลีสุรพงศ์ บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีภาวะผู้นำเหมาะที่จะเป็นประธานของกลุ่ม อีกทั้งเรายังมีภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ในตัวสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและส่งต่อองค์ความรู้เหล่านี้ให้น้องๆรุ่นหลังได้สืบทอดไว้บ้าง ทำให้ข้าพเจ้าภาคภูมิใจมากที่ได้รับตำแหน่งนี้ และยินดีที่จะช่วยสืบสานงานกลุ่มยุวเกษตรกรของโรงเรียนควบคู่กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงของท้องถิ่นสินปุนให้เป็นที่รู้จักควรค่าแก่การอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการเกษตรและภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุง ให้คงอยู่ในท้องถิ่นสินปุนต่อไป

โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นโรงเรียนประจำตำบล เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก ที่มีจุดเน้นด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกิจกรรมด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ตามบริบทของโรงเรียน ผ่านการจัดการเรียนรู้ในวิชางานเกษตร และกิจกรรมการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์ของโรงเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้นำความรู้สู่การลงมือปฏิบัติจริงผ่านการเรียนรู้ในวิชาเกษตรและกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวสมุนไพรด้วยการทำหลุมพอเพียง การปลูกพืชผสมผสาน การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักใบไม้ การเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อดิน การเลี้ยงหอยขม การเลี้ยงมดแดง การเพาะกล้าต้นไม้ การนำผลผลิตพืชและสัตว์ไปใช้ประโยชน์และแปรรูป ในการเรียนการสอนในรายวิชาคหกรรม เป็นต้น เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรุ่นพี่ได้ร่วมทำกิจกรรมกัน ได้ไปทัศนศึกษาดูงาน ทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจกิจกรรมด้านการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเพราะข้าพเจ้าคิดว่าสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตได้จริงประกอบกับได้สนองงานตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 และดำเนินรอยตา ในเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งข้าพเจ้าชื่นชมในพระปรีชาความสามารถของพระองค์อ่านในทุกๆด้าน ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าในหลายๆเรื่อง ดังนั้นเมื่อได้มีโอกาสเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์แล้วข้าพเจ้าจึงมีความคิดริเริ่มมุ่งมั่นที่จะพัฒนาภูมิปัญญาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมการเล่นหนังตะลุงของข้าพเจ้าไปด้วย

ข้าพเจ้ามีแนวคิดในการทำงาน การศึกษาเล่าเรียน งานต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานสภายุวเกษตรกรสินปุนคุณวิชญ์ เพื่อไปสู่เป้าหมาย ดังนี้

1) คิดดี พูดดี ทำดี และทำสิ่งดีๆให้ดีกว่าแค่คำพูดว่า ดี

2) สืบทอดภูมิปัญญา เพื่อนำไปพัฒนาตนเองและท้องถิ่น

3) พัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาความคิด และจิตวิญญาณ ร่วมสืบสานภูมิปัญญา รักษา

และต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ

4) นำองค์ความรู้และภูมิปัญญา เพื่อนำมาพัฒนางานเกษตรสู่เกษตรวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ วิถีพอเพียง

5) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

6) เป็นแบบอย่างที่ดีในปฏิบัติ เช่น

- ทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่สารพิษ สารเคมี

- ปรับปรุงและพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

- รู้จักทำงานหาเงินและออมเงิน ไม่ต้องรอให้เรียนจบก่อน

- มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีในการดำเนินชีวิต

- สืบทอด เผยแพร่ความรู้ และภูมิปัญญาให้แก่ผู้อื่น

- มีจิตอาสา เสียสละ มุ่งมั่นในการทำงาน

- อยู่อย่างพอเพียง