ความเป็นมา

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ ย โดยมีรองผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการเป็นผู้กำกับดูแล และดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย ประกอบด้วย

1. การจัดทำแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย มีการกำหนดแผนพัฒนาระยะ 5 ปีโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศปี 2555-2559 และปัจจุบัน(เมษายน-พฤษภาคม 2559) กำลังดำเนินการกำหนดแผนพัฒนาระยะ 5 ปี (2560-2564)

2. การพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างทั่วถึงเพียงพอ มีประสิทธิภาพครอบคลุมระบบคอมพิวเตอร์ โครงข่ายสารสนเทศ ระบบอินเตอร์เน็ต โดยการดำเนินงานที่ผ่านมามีดังนี้

2.1 การพัฒนาจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนนักศึกษาจาก 1 เครื่องต่อ 8 คนในปี 2550 มาเป็น 1 ต่อ 4 คนในปี 2559 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินของสกอตัวบ่งชี้ที่ 2.5 มีการจัดการหรือจัดบริการเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในอัตราไม่สูงกว่า 1 ต่อ 8 และเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ควรพัฒนาจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนนักศึกษาให้เป็น 1 เครื่องต่อ 4 คน

2.2 พัฒนาจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์และบุคลากรจาก 1 เครื่องต่อ 4 คนในปี 2550 มาเป็น 1 ต่อ 1.55 คน ในปี 2559

2.3 พัฒนาความเร็วอินเตอร์เน็ตโดยการเช่าวงจรอินเตอร์เน็ตความเร็สูง Leased line เริ่มมีการพัฒนาความเร็วจาก 512 กิโลบิตเพอร์เซคคั่น ในปี 2550 มาเป็น 100 เมกะบิตเพอร์เซคคั่นในปี 2559 และวงจรสำรอง ADSL 50 เมกะบิตเพอร์เซคคั่นอีก 1 วงจร

2.4 พัฒนารูปแบบโครงข่ายสารสนเทศ จากเดิมในปี 2550 จะใช้ระบบ vdsl ผ่านสายโทรศัพท์ในการรับส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตจากห้องแม่ข่ายไปยังอาคารต่างๆ ซึ่งการใช้งานในปีแรกๆจะใช้การได้ดีแต่เมื่อมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นจึงไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนกที่ส่งเสริมให้วิทยาลัยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารและการตัดสินใจทำให้ข้อมูลมีการไหลเวียนในระบบจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาคอขวด (Bottle Neck) เกิดการรับส่งข้อมูลล่าช้าดังนั้นจึงมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ (1) การเปลี่ยนโครงข่ายเป็นระบบ fiber optic หรือเคเบิลใยแก้วนำแสงระหว่างอาคารทำให้มีการรับส่งข้อมูลปริมาณมากๆและมีความเสถียรของระบบเป็นอย่างดี (2) การเปลี่ยนอุปกรณ์กระจายสัญญาณรับส่งข้อมูล (switch) จากแบบธรรมดา มาเป็นการใช้อุปกรณ์ระดับมาตรฐานเครือข่าย (switch Layer 2 และ switch Layer 3)

2.5 มีการพัฒนาจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและแบบไร้สายครอบคลุมอาคารสำนักงานห้องเรียน ห้องประชุม หอพักนักศึกษา และจุดพักผ่อนโดยปล่อยสัญญาณเป็นระบบ wifi zone และปัจจุบันได้จัดทำระบบเครือข่ายไร้สายแบบ wireless controller ที่สามารถควบคุม ตรวจสอบ และให้บริการระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการ Access point ในโครงการระยะที่ 1 จำนวน 40 ตัว และมีโครงการพัฒนาในระยะที่ 2 อีกจำนวน 35 ตัว เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานและทดแทนอุปกรณ์ตัวเดิมในระบบเก่า

2.6 มีการพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เป็น 2 ห้องปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ 1 จัดทำเป็นแบบติดตั้งพื้น Raise floor สำเร็จรูป มีคอมพิวเตอร์ จำนวน 54 เครื่อง ห้องคอมพิวเตอร์ 2 จัดทำเป็นแบบติดตั้งพื้นยกปูพรม มีคอมพิวเตอร์ จำนวน 50 เครื่อง (ปัจจุบันเหลืออยู่ 12 เครื่อง เนื่องจากนำไปเปลี่ยนทดแทนเครื่องของห้องเรียนและสำนักงานที่ขาดประสิทธิภาพ) ทำให้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีความสวยงาม มีการจัดวางระบบเป็นระเบียบเรียบร้อย อุปกรณ์ได้มาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้ยังให้บริการคอมพิวเตอร์ไว้ที่ห้องสมุดจำนวน 10 เครื่อง

2.7 มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยของระบบเครือข่ายและฐานข้อมูลโดยในปี 2551 ได้ติดตั้งและใช้และงานระบบพิสูจน์ตัวตนการใช้งานเครือข่าย (authentication) ของวิทยาลัยซึ่งปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 26 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2551 ,มีการจัดซื้อ อุปกรณ์สำรองฐานข้อมูลภายนอกเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเครื่องแม่ข่ายเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่มีการสูญหายกรณีเครื่องแม่ข่ายไม่สามารถใช้งานได้ ,มีการติดตั้งอุปกรณ์สำรองไฟขนาดใหญ่เพื่อป้องกันระบบกระแสไฟฟ้าที่มีความขัดข้อง ,มีการจัดซื้อระบบป้องกันเครือข่ายและตรวจจับการบุกรุก firewall ในปี 2558

2.8 มีการพัฒนาระบบสารสนเทศวิทยาลัย โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ระบบสารสนเทศการจัดการเรียนการสอน การบริหาร การวิจัย การเงิน และระบบสารสนเทศอื่น ประกอบด้วย (1) ระบบทะเบียนและประมวลผล (2) ระบบสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจของสถาบันพระบรมราชชนก (3) ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (4) ระบบบุคลากรและ (5) ระบบ OpenPI โดยทุกระบบมีการติดตั้งและอบรมการใช้งานให้กับผู้ใช้งานทุกระดับ

2.9 มีการพัฒนาบทเรียน e-learning วิทยาลัยได้รับมอบหมายจากสถาบันพระบรมราชชนก ให้เป็นวิทยาลัยแกนนำ e-learning ของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดประชุมอบรมพัฒนาอาจารย์ผู้สอนของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือให้มีความรู้ความเข้าใจ มีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนและผลิตบทเรียน e-learning ได้ โดยเมื่อวันที่ 14-18 กันยายน 2558 วิทยาลัยได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายผลการจัดการเรียนการสอน e-learning สำหรับวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ (ระยะที่ 1) เสร็จสิ้นแล้ว มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 50 คน มีเป้าหมายให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างน้อยวิทยาลัย ละ 1 รายวิชา และจะดำเนินการจัดอบรมระยะที่ 2 ในวันที่ 13-17 มิถุนายน 2559 นี้ สำหรับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในระบบ (1) cms moodle และระบบ (2) Google Classroom โดยรายวิชาใน Moodle ประกอบด้วย วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงาน วิชากายวิภาคและสรีรวิทยา วิชาเภสัชวิทยา และจัดการเรียนการสอนด้วย Google Classroom ประกอบด้วยวิชาการสื่อสารเชิงสุขภาพ วิชาชีวสถิติ วิชามหัศจรรย์แห่งโมเลกุล เป็นต้น

2.10 มีการจัดอบรมการใช้งาน Google Applications วิทยาลัยส่งผู้ดูแลระบบสารสนเทศและอาจารย์ผู้สอนรวม 5 คน เข้าร่วมอบรมการใช้ google for education รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม-2 เมษายน 2558 ณ วสส.ชลบุรี หลังจากนั้นนำมาขยายผลให้กับกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่รวมถึงนักศึกษาในการใช้อีเมล์ account รับส่งอีเมล์ในนามสถานศึกษาโดเมนเนมวิทยาลัย mail@scphpl.ac.th มีผู้ใช้งานปัจจุบันมากกว่า 700 user โดยได้จัดอบรมการใช้งานให้กับนักศึกษา ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ทีละห้องละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยนัดใช้เวลาในชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียนและก่อนเข้าเรียนตอนเช้า อบรมแล้วเสร็จจำนวน 11 ห้องคิดเป็นร้อยละ 100 ในการจัดอบรมการใช้งานให้กับอาจารย์เจ้าหน้าที่ จำนวน 3 รุ่นๆละ 3 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 27 เมษายน จำนวน 35 คน วันที่ 28 เมษายน จำนวน 25 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 18 คน ส่วนบุคลากรที่ยังไม่ได้อบรม มีแผนจะจัดอบรมในไตรมาส 3-4 รอบปี 2559 ร่วมกับข้าราชการใหม่ของวิทยาลัย เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยการลงทะเบียน email domain name ของวิทยาลัยการใช้ google doc การใช้ google สเปรดชีต การใช้ google form นอกจากนี้ยังได้จัดทำเว็บไซต์บริการและช่วยเหลือการใช้งาน google application อีกด้วย หลังการอบรมบุคลากรและนักศึกษามีการใช้ประยุกต์ใช้ google form ในการจัดทำแบบฟอร์มในการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นหรือประเมินกิจกรรมต่างๆ มีการใช้ google calendar ในการกำหนดปฏิทินกลางของวิทยาลัย และปฏิทินส่วนตัว การใช้ google slide ในการทำสื่อนำเสนอการใช้ มีการใช้ google drive ในการจัดเก็บข้อมูลและแชร์ข้อมูลของบุคลากร และนักศึกษา เป็นต้น