แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart)

              แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) หมายถึง แผนผังคุมกำหนดงาน มักใช้ในด้านการจัดการโครงการต่าง ๆ ในองค์การขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีขั้นตอนซับซ้อน และมากมาย โดยจะใช้เป็นเทคนิคเครื่องมือช่วย

              การปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในการดำเนินการแก้ไขการควบคุม การวางแผนที่เหมาะสม เพื่อช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ผังในลักษณะนี้จะแสดงถึงปริมาณงานและกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง เป็นแผนภูมิในรูปของกราฟแท่งที่ประกอบด้วย แกนหลัก 2 แกน คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ และแกนตั้งแสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอน ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน

              แผนภูมิแกนต์ พัฒนาขึ้นในปี 1917 โดย Henry L. Gantt เป็นผู้พัฒนาแผนภูมินี้ขึ้นมา เพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา ใช้แก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการผลิต การควบคุมแผนงานและโครงการการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ เรียกว่า แผนภูมิแกนต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบหรือเส้น โดยใช้แกนนอนเป็นเส้นมาตราส่วนแสดงเวลา ส่วนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนแสดงขั้นตอนของกิจกรรมหรืองาน หรืออัตรากำลังขององค์การ

              หลักการของแผนภูมิแกนต์ จะเป็นแบบง่าย ๆ กล่าวคือ กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกกำหนดให้มีการดำเนินเป็นไปตามแผนการผลิตที่ต้องการ และถ้ามีความเบี่ยงเบนเกิดขึ้นในเวลาใด ๆ ก็จะมีการจดบันทึกและแสดงสภาพที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้หาทางแก้ไข เช่น เรื่องการกำหนดงาน สาเหตุของการล่าช้า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและการจัดแจกภาระงานในการผลิต

รูปภาพ แผนภูมิแกนต์ แสดงงานสามงานที่ขึ้นต่อกัน (สีแดง) และอัตราร้อยละของความสำเร็จลุล่วง

ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/57/GanttChartAnatomy.svg/450px-GanttChartAnatomy.svg.png 

เมื่อไรจึงจะใช้แผนภูมิแกนต์

              ก่อนที่จะลงมือสร้างแผนภูมิแกนต์ควรมีการแยกย่อยงานในโครงงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปสร้าง โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้

ตัวอย่างกิจกรรมและระยะเวลาในการสร้างอุปกรณ์แจ้งเตือนการลืมปิดไฟ

เมื่อได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์โครงงานข้างต้น จึงลงมือสร้างแผนภูมิแกนต์

วิธีการสร้าง

1. สร้างตารางที่แถว (Row) ด้านบนสุดของตารางแบ่งเป็นช่องของเวลา อาจใช้เป็นชั่วโมง วัน เดือนหรือปี ขึ้นอยู่กับการวางแผนกิจกรรมว่าจะมีรายละเอียดเพียงใด กำหนดระยะห่างของเวลาตามเวลาในการดำเนินงาน

2. ในสดมภ์ (Column) ด้านซ้ายสุดของตารางให้บันทึกกิจกรรมหรืองานตามลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการปฏิบัติในช่วงระยะเวลาของโครงงาน

3. ในสดมภ์ด้านขวาสุดของตารางอาจใส่ชื่อผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมที่ตกลงกันไว้

4. เมื่อได้กิจกรรมและระยะเวลาแล้ว จึงระบุระยะเวลาในการวางแผน (Plan) โดยเริ่มจากกิจกรรมหรืองานแรกก่อน ให้กำหนดวันเริ่มงานและระบุระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้วยการวาดรูปสี่เหลี่ยมหรือลากเส้นแนวนอนลงในช่องถัดจากงานที่เริ่มทำวันแรก และขยายสี่เหลี่ยมหรือเส้นออกไปทางขวามือตามระยะเวลาปฏิบัติงานนั้น ๆ

5. ในกรณีที่กิจกรรมหรืองานต่อไปจะเริ่มได้เมื่อกิจกรรมแรกสิ้นสุดก่อนนั้น ให้วาดสี่เหลี่ยมหรือลากเส้นแนวนอนของกิจกรรมที่สองต่อจากจุดสิ้นสุดของกิจกรรม และอาจวาดลูกศรเชื่อมระหว่างจุดสิ้นสุดของกิจกรรมแรกกับจุดเริ่มต้นของกิจกรรมที่สองด้วย 

6. ในการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการจริงอาจให้วาดเส้นหนาทึบลงบนกลางช่องสี่เหลี่ยมเพื่อแสดงว่างานได้ดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้วหรือลากเส้นแนวนอนที่มีลักษณะแตกต่างจากเส้นที่ใช้วางแผน เช่น ใช้เส้นประหรือสีที่แตกต่าง

7. อาจใช้การลากเส้นประในแนวตั้งเพื่อแสดงวันหรือเวลาที่งานกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน หรือการทำเครื่องหมายเน้นให้เห็นงานที่ควรจะเสร็จก่อนหน้านี้ แต่ยังทำไม่เสร็จ

8. ในการทำแผนภูมิแกนต์ อาจทำในลักษณะย้อนหลัง โดยเริ่มจากกำหนดระยะเวลาที่ต้องเสร็จสิ้นโครงงานว่ามีเวลาอยู่เท่าใด จึงนำเวลาย้อนกลับมาเพื่อดูความเป็นไปได้ในการทำโครงงานนี้ที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม

ตัวอย่างแผนภูมิแกนต์การปฏิบัติงานสร้างอุปกรณ์แจ้งเตือนการลืมปิดไฟ