ความเป็นมาของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง
“ ช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” และพระราชทานหลัก 3 ประการ ในเรื่องครูและนักเรียนว่า
“ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อนไม่ให้แข่งขันกันแต่ให้แข่งขันกับตัวเอง และให้เด็ก ที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนท้าร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี” โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นการดำเนินงานเพื่อสืบสาน
พระราชปณิธานเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ความเป็นมาของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เยาวชนไทย โดย สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้จัดทำโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน และตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

วัตถุประสงค์โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

1. เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ตระหนักรู้ เข้าใจ และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ซึมซับคุณค่าแห่งคุณธรรมความดีอย่างเป็นธรรมชาติสร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และภูมิใจในการท้าความดี
2. เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนสร้างเครือข่ายชุมชนองค์กรแห่งคุณธรรม โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงาน และองค์กรที่ท้างานด้านคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และมีความต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

1. จำนวนนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น
2. จำนวนผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น
3. จำนวนผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ คือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ อุดมการณ์คุณธรรม

จาก “โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”
สู่ “โครงการโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒”

โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ ได้กำหนดให้มีกิจกรรมด้านคุณธรรมที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่องโดยระบุลงในแผนปฏิบัติการประจำปี และดำเนินการค้นหาปัญหา สาเหตุ กำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกและคุณธรรมในการแก้ปัญหากำหนดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้พร้อมรับการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สู่การยกระดับคุณภาพโรงเรียน มุ่งสู่โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 5 ดาว

กระบวนการพัฒนา “โครงการโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒”

คุณธรรมอัตลักษณ์ประจำโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒

ความพอเพียง

ความกตัญญู

ความซื่อสัตย์สุจริต

ความรับผิดชอบ

นิยามความพอเพียงตามโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

การดำรงชีวิตพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยทำพอประมาณให้เหมาะสมกับตนเองไม่ฟุ้งเฟ้อและฝึกตนเองให้รู้จักความพอดี
พอเหมาะ ถ้าไม่พอดี ไม่พอเหมาะ ก็จะเกิดความทุจริตในใจได้


นิยามความกตัญญูตามโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งในสังคมมนุษย์ต้องเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เป็นต้น ความกตัญญูเป็นคุณธรรม ที่มนุษย์ควรปฏิบัติและไม่หลงลืมตัวเมื่อเกิดความสำเร็จ ต้องยกย่องเชิดชูบุพการี ครู อาจารย์ และทุกคน ที่มีส่วนร่วม



นิยามความซื่อสัตย์ตามโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

ยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานฐานของความดีทุกอย่าง เด็ก ๆ จึงต้องฝึกฝนอบรม ให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง
(พระราชทานเพื่ออัญเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531)



นิยามความรับผิดชอบตามโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ต้องมีจิตสำนึกในบทบาท และหน้าที่ของตัวเอง และปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ โดยพร่ำสอน เพื่อให้ลูกหลานเยาวชนก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อสร้างคนดี ให้บ้านเมือง



กิจกรรมภายใต้ “โครงการโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒”

คำขวัญคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒