"รังสิตวิชาการ" เวทีจุดพลังสู่สังคมที่ยั่งยืน
“มหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งมั่นส่งเสริมศักยภาพนักเรียนมัธยมปลาย ปลุกประกายความคิดสร้างสรรค์สู่การขับเคลื่อนอนาคตของชาติ” ผ่านเวทีการแสดงศักยภาพทางวิชาการระดับเยาวชน ที่ให้นักเรียนได้ "ร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ สู่การชี้นำสังคมอย่างยั่งยืน" ผ่านการนำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อชี้นำสังคม 6 หมุดหมายที่สอดคล้องกับทิศทางการศึกษา (6 Milestones that guide society) ดังนี้
อนาคตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Future of Health Science)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมชี้นำสังคมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อพัฒนาการแพทย์และสุขภาพที่ดี มีมูลค่าสูง ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย
อนาคตด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ (Future of Economy and Business)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมผ่านโมเดลธุรกิจ หรือแนวคิดเชิงนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาของชาติ
อนาคตด้านนวัตกรรมทางสังคม (Future of Social Innovation)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความยากจน สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่สังคมสร้างสรรค์และยั่งยืน
อนาคตด้านศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Future of Creative Arts and Culture)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้วยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และกระบวนการสู่การสร้าง Soft Power ของประเทศ
อนาคตด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Future of Technology and Environment)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
อนาคตด้านความเป็นสากล (Future of Internationalization)
นำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมการนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสากล การเป็นพลเมืองโลกและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านต่างๆ ในระดับนานาชาติ
"ร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ สู่การชี้นำสังคมอย่างยั่งยืน" เป็นสิ่งที่ออกแบบได้หากใช้ปัญญาเพื่อหาแนวทางมุ่งสู่ “วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นธรรม เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาของประชาชนในประเทศ ภายใต้สภาพปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อน เป้าหมายของการออกแบบอนาคตกำหนดทิศทางที่เป็นต้นแบบจะต้องอยู่ที่ การพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
“นักคิด” เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าอนาคตสามารถการออกแบบได้ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อแสวงหากรอบแนวคิดของความจริงใหม่ที่คาดว่าจะมี “ผลลัพธ์ที่ดีกว่า” โดยใช้หลักการว่า “ทุกคนมีอนาคตร่วมกัน มีความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน”
“นักคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อชี้นำประเทศ” ในที่นี้คือ
กำหนดทิศทาง (Vision) วางกรอบแนวคิด (Conceptual Framework)
กำหนดค่าเป้าหมาย (Key Result) และแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
ออกแบบกระบวนการที่เป็นนวัตกรรม (Process Innovation)
สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ไปสู่แนวโน้มที่ดีขึ้น (Trendsetter)
ทั้งนี้ การออกแบบอนาคตเป็นไปได้หลายทางเลือก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้างอนาคตที่ดีกว่า ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศครอบคลุมในทุกมิติ
รูปแบบการแข่งขัน
แข่งขันเป็นทีม ซึ่ง 1 ทีมต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเลือกทิศทางในการแข่งขันจาก 6 หมุดหมายชี้นำสังคมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในข้างต้น เป็นแนวทางสำหรับการมองหาประเด็นสำคัญในการสร้างโจทย์ เพื่อนำมาใช้เป็นหัวข้อในการทำงาน แสดงการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการออกแบบแนวทางการชี้นำสังคม ให้สอดคล้องกับโจทย์ที่วางไว้ให้มากที่สุด
อนาคตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Future of Health Science)
อนาคตด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ (Future of Economy and Business)
อนาคตด้านนวัตกรรมทางสังคม (Future of Social Innovation)
อนาคตด้านศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Future of Creative Arts and Culture)
อนาคตด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Future of Technology and Environment)
อนาคตด้านความเป็นสากล (Future of Internationalization)
ประเภทรางวัล
Grand Champion จำนวน 1 รางวัล
ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษา 30,000 บาท
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล
ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 6 รางวัล
ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 5,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 6 รางวัล
ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 3,000 บาท
รางวัลชมเชย 6 รางวัล
ประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 2,000 บาท
ตัดสินอย่างไร? (หลักเกณฑ์การตัดสิน)
ตัดสินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบไปด้วย
1. ศักยภาพ (Potential) ของ Model และโอกาส (Opportunity) ที่จะพัฒนาไปสู่อิมแพค (Impact) ใหม่ในระดับชาติ
โจทย์ (Topic): ความน่าสนใจของหัวข้อหรือประเด็นที่นำมาใช้เป็นโจทย์ มีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก และเป็นแนวทางการชี้นำสังคมในวงกว้าง และสร้างอิมแพคใหม่ในระดับชาติ
กรอบแนวคิด (Framework): การกำหนดทิศทาง กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของโครงการ ครอบคลุมและชัดเจน
เนื้อหา (Content): ชัดเจน ถูกต้อง และกระชับ สอดคล้องกับโจทย์และเป้าหมายที่วางไว้
กระบวนการ (Process): แสดงให้เห็นถึงการออกแบบกระบวนการที่เป็นนวัตกรรม สามารถเชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนด
วิธีการ (Method): อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโครงงาน ได้อย่างกระชับ ครบถ้วน สมบูรณ์
ผลลัพธ์ (Result): แสดงผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการตามเป้าหมายที่กำหนด
ผลสัมฤทธ์ (Outcome): ความเป็นไปของผลกระทบในเชิงการชี้นำสังคม
2. ประสิทธิภาพ (Performance) ของการนำเสนอ
คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (Presentation media) ความชัดเจน ถูกต้อง กระชับ (Executive Summary Presentation) และความคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการนำเสนอด้วยวาจา มีความมั่นใจ ชัดเจน ถูกต้อง กระชับ ตามเนื้อหาและเป้าหมายการสื่อสารของแต่ละโครงการ (Effective Communication)
สามารถรักษาเวลาในการนำเสนอได้ตามกำหนด (Time Management) 5 นาที
สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน