ผลงาน

ขั้นตอนที่ 1 ทำการวิเคราะห์งาน ปัญหาหรือความต้องการของผู้ใช้งาน

การจัดทำแอพพลิเคชั่นต้องทราบถึงปัญหาหรือความต้องการของผู้ใช้งานก่อน และนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของแอพพลิเคชั่น ต้องมีการคิดให้ครอบคลุมต่อการใช้งาน ผู้ใช้งานต้องใช้งานได้ง่ายและสะดวก ผู้พัฒนาต้องได้ข้อมูลที่ตัวเองต้องการตามวัตถุประสงค์ ความสำคัญและระดับการปลอดภัยของข้อมูล ความเห็นของผู้เกี่ยวข้อง จะต้องเข้าใจการทำงาน เข้าใจข้อมูล เพื่อให้การใช้งานแอพพลิเคชั่นเกิดขึ้นจริง และช่วยให้เกิดการทดลองใช้งาน มีการแก้ไขปัญหา และมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ ทำให้แอพพลิเคชั่นมีการทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด โดยวัตถุประสงค์หลักก็คือต้องการจัดเก็บข้อมูลการลงทะเบียน ประวัติการสั่งซื้อของร้านค้า และสามารถระบุที่อยู่ของลูกค้าได้ ซึ่งในการจัดทำแอพพลิเคชั่นต้องตอบสนองต่อการใช้งาน และเป็นการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบและสามารถเรียกใช้งานได้โดยง่าย ไม่มีความชับช้อนในการใช้งาน 

ขั้นตอนที่ ๒ ทำการออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชั่นในการใช้งาน

การออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชั่นมุ่งเน้นให้มีการใช้งานเข้าใจง่าย ไม่มีความชับช้อนในการใช้งานมากจนเกินไป โดยแบ่งแถบเมนูหลัก ๆ ด้วยกัน 9 เมนู ดังนี้

1. หน้าหลัก ต้องการให้แสดงหน้านี้เป็นหน้าหลักในการเข้าใช้งานก็จะเจอหน้านี้เป็น

หน้าแรก โดยมีการแสดงตัวเลือกเมนูในหน้านี้ประกอบด้วย

หน้าลงทะเบียน และ หน้าเข้าสู่ระบบ

1.1. หน้าลงทะเบียน ต้องการให้แสดงข้อมูลรายการของผู้เข้าใช้งาน โดยมีการเก็บรายละเอียดของการลงทะเบียน เช่น รหัส ลำดับ ชื่อ-นามสกุล สถานะของผู้ใช้งาน ได้แก่ แอดมิน ผู้ใช้ และไรเดอร์ เบอร์โทร และรูปของผู้เข้าใช้งาน

1.2. หน้าเข้าสู่ระบบ เมื่อทำการลงทะเบียนแล้ว จึงนำรหัสของผู้ใช้งาน มาใช้ในการเข้าสู่ระบบ โดยกรอกรหัสผู้ใช้งาน และกำหนดรหัสผ่าน เพื่อเข้าใช้งานต่อไป

2. หน้าเมนู เมื่อทำการเข้าสู่ระบบแล้ว จะพามายังหน้าเมนูต่างๆของแอพพลิเคชัน โดยมีการแสดงตัวเลือกเมนูในหน้านี้ประกอบด้วย

2.1. เมนูอาหาร ต้องการให้แสดง รหัสเมนู ชื่อเมนู ราคา และรูปภาพ ของรายการอาหาร

2.2. สั่งอาหาร ต้องการให้แสดง ลำดับการสั่งซื้อ วันที่และเวลาสั่งซื้อ ชื่อรายการอาหาร ที่อยู่ของลูกค้า และลายเซ็นของลูกค้า

2.3. สถานะการส่งอาหาร ต้องการให้แสดง ลำดับการจัดส่ง ที่อยู่ในการจัดส่ง สถานะการจัดส่ง และลายเซ็นของไรเดอร์

2.4. ประเมินความพึงพอใจ ต้องการให้แสดง ลำดับการประเมิน ด้านความสะอาดและมาตรฐานของสินค้า ด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ด้านการแก้ไขปัญหาของพนักงานกับลูกค้า และเกณฑ์การประเมินภาพรวม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วันที่และเวลาประเมิน และลายเซ็นผู้ประเมิน

2.5. ประวัติผู้จัดทำ จะแสดงให้เห็นรูปภาพของผู้จัดทำ


ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบตารางฐานข้อมูล

3.1 การสร้างบัญชีจัดเก็บฐานข้อมูลบน Google Drive

ภายใต้การออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบฐานข้อมูลเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ประกอบด้วยการศึกษาฐานข้อมูลขององค์กรเบื้องต้น ( database initia; study), การออกแบบฐานข้อมูล ( database design ), การสร้างฐานข้อมูลและการโหลดข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล ( testing and evaluation ), การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล ( operation ), และการดูแลรักษาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ( maintenance and evolution ) ตามลำดับ

3.2 การออกแบบตารางฐานข้อมูล

กำหนดตารางฐานข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล หรือ แสดงคุณสมบัติของข้อมูลนั้นๆ เพื่อเรียกใช้งานแก้ไขข้อมูล แสดงผลข้อมูลการทำงานเป็นไปตามชุดคำสั่งที่ได้เขียนไว้ในแอพพลิเคชั่น โดยข้อมูลใน ตารางต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยกำหนดโครงสร้างของตาราง ( Table ) จากกลุ่มข้อมูลหรือเอนทิตี้ ( Entity ) เป็นวัตถุหรือสิ่งของหรือข้อมูลในระบบงานนั้นๆ ที่รวบรวมได้จากเอกสารต่างๆ ซึ่งนำมากำหนดแอททริบิว ( Attribute ) เป็นคุณสมบัติของวัตถุของข้อมูลที่มากำหนดรายละเอียดให้เอนทิตี้ ( Entity ) เพื่อจะได้ทราบว่าในเอนทิตี้ ( Entity ) นั้น จะนำข้อมูลอะไรมาใช้บ้าง หลังจากนั้นให้นำแอททริบิวต์ ( Attribute ) มากำหนดโครงสร้างเบื้องต้นของตาราง ( Table ) โดยแปลงแอตทริบิวต์ ( Attribut ) เป็นฟิลด์ ( Field ) คือหน่วยของข้อมูล พร้อมกำหนดชนิดและขนาดข้อมูลในแต่ละข้อมูลในแต่ละฟิลด์ ( Field )

ขั้นตอนที่ 4 สร้างแอพพลิเคชั่นใน Apps heet

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรม Appsheet ก็คือไม่ต้องลงโปรแกรมการใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ 

โดยสามารถเรียกใช้งานผ่านเว็บบราวเซอร์ได้จากทุกที่ โดยเข้าไปที่ URL ตามที่อยู่  http://www.appsheet.com/ 

หน้าโฮม

หน้าลงทะเบียน

หน้าโฮม

หน้าเข้าสู่ระบบ

หน้าเมนู

หน้าเมนูอาหาร

หน้าฟอร์มเมนูอาหาร

หน้าสั่งอาหาร

หน้าสถานะการส่ง

หน้าประเมินความพึงพอใจ

หน้าประวัติผู้จัดทำ