มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)

ผลงาน

“การพัฒนากลไกความร่วมมือด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร”

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่ตอนล่างจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่หลอมรวมชนชาติไทยพื้นถิ่น จีน และรามัญ จนก่อเกิดเป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาที่รักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมของเมืองแห่งทะเลและแม่น้ำ จากผืนน้ำเค็มที่หล่อเลี้ยงชีวิตกลายเป็นแนวคิดทางภูมิปัญญาที่ผสานรวมความเชื่อและศาสนา จนกลายเป็นประวัติศาสตร์และที่มาของอาชีพคนน้ำเค็ม โดยเริ่มจากคนไทยพื้นถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ทำกินอยู่ในถิ่นโคกขาม ลักษณะของบุคคลนั้นมีความมุมานะอดทนและพยายาม อาชีพของคนโคกขามคือการทำนาเกลือ และคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในถิ่นท่าจีน และท่าฉลอม มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจับสัตว์น้ำ จนกลายเป็นเศรษฐี และลักษณะของบุคคลนั้นรู้จักอดออม ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่นอบน้อมคือไทยรามัญ เพราะต้องอยู่แบบไร้ชาติขาดแผ่นดิน เกือบสูญสิ้นบรรพชนคนชาติมอญ จึงพากันอพยพมาสู่เมืองสาคร จากชีวิตที่สัญจรก็มั่นคง และเริ่มตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ มีความชำนาญงานหัตถกรรม ทั้งเย็บจาก เสื่อกกมอญ สไบมอญ และโรงมอญ รวมถึง ภาษา ประเพณี และความเชื่อ ยังหลงเหลือร่อยรอยไว้ให้เห็น แต่เยาวชนคนรุ่นหลังยังทำไม่เป็น จึงไม่เห็นการสืบทอดต่อยอดวัฒนธรรม หากจะกล่าวถึงทั้ง 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีวัฒนธรรมเดียวกันอันโดดเด่น จากการศึกษาเราจึงพบเห็นอัตลักษณ์ที่เป็น “สาครบุรี วิถีคนน้ำเค็ม”

ผู้ร่วมวิจัย ดร.สันติ ไทยยืนวงษ์ ผศ.ดร.จักราวุธ ตันสกุล ผศ.ดร.พรพิมล ศักดา อาจารย์พเยาว์ สายทองสุข ผศ.คมสันต์ ทับชัย อาจารย์ทวี หมัดส๊ะ และ อาจารย์ชฎาพร ศรีรินทร์