งานประกันคุณภาพการศึกษา 

ระดับหลักสูตร 

C U R R I C U L U M 's QA





ประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร 

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร สอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก โดยเลือกใช้ระบบที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาจัดทำขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการประเมินเพื่อเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ประกาศไว้ในกรอบ

                มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ ได้กำหนดให้รายงานการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7) เป็นรายงานฉบับเดียวกันเพื่อลดความซ้ำ้ซ้อนของการจัดทำรายงานและสามารถรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยฯ ส่วนที่ 2 การประกันคุณภาพการศึกษา และ ส่วนที่ 3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์และนำไปสู่การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ที่เข้มแข็ง อันจะเป็นกลไกสำคัญสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

         ความจําเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา

ภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติมี4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรม การดําเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ประการดังกล่าวมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบันมีปัจจัยภายนอกและภายใน หลายประการที่ทําให้การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นสิ่งจําเป็นที่จะต้องเร่งดําเนินการ ปัจจัยดังกล่าวคือ

1) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศที่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้น ซึ่งจะก่อ ให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยส่วนรวมของประเทศในระยะยาว

2) ความท้าทายของโลกาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษา ทั้งในประเด็นการบริการการศึกษาข้ามพรมแดนและการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต การประกอบอาชีพของบัณฑิตในอนาคต อันเป็นผลจากการรวมตัวของ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเด็นต้องการการรับประกันของคุณภาพการศึกษา

3) สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมว่าสามารถพัฒนาองค์ความรู้ และผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริง ทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพ ชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4) สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (public information) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5) สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (participation)มีความโปร่งใส (transparency) และมีความรับผิดชอบซึ่งตรวจสอบได้(accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7) คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับหน่วยงาน โดยทุกหนว่ ยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา

9) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่24 เมษายน 2554 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

จำนวนผู้เข้าชม Website