ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community)

ความหมายของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร
มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุน
สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง
สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ
และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้

ความสำคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ
ที่มีหน้างานสำคัญ คือ ความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการ
ในรูปแบบ PLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลสรุปใน 2 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอน คือ เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจและเป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือจากทีมการเรียนรู้

ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียน คือ เพิ่มศักยภาพจากการเรียนรู้ตามความสนใจ สามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้นและจำนวนชั้นเรียนที่ชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง

เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

- เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

- เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู พัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนเป็น การทบทวนการปฏิบัติงานของครูที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

- เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร ร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมมือกันปพัฒนาวิธีการทำงานของครู

คุณลักษณะ 5 ประการ ที่ควรเกิดในการพัฒนาเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่

1. shared velues and norms สร้างโอกาสให้เกิดคุณค่าและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และการปฏิบัติที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

2. collective focus on student learning ร่วมมือในการมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน

3. collaboration การร่วมมือรวมพลังทุกคนในการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติงาน

4. expert advice and study visit การเปิดรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาการปฏิบัติงานจริง และต้องมีกิจกรรม study visit นั่นคือ การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการจริงของผู้เชี่ยวชาญ

5. Reflection dialogue การสนทนาเพื่อเป็นการสะท้อนสิ่งที่ได้วางแผนและลงมือปฏิบัติ โดยต้องเป็นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (two way communication)

สมาชิกในกลุ่ม PLC ควรมีจำนวน 4-8 คน ซึ่งประกอบไปด้วย

1. model teacher (MT) ครูผู้สอน หน้าที่ ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับปรุงแผนการจัดการรเียนรู้ จัดการเรียนรู้ตามแผนที่ร่วมกันปรับปรุง

2. buddy teacher (BT) ครูร่วมเรียนรู้ หน้าที่ ร่วมมือช่วยเหลือ (MT) ในการออกแบบและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ นิเทศการจัดการเรียนรู้ของ (MT) และสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ให้แก่ (MT)

3. mentor หัวหน้ากลุ่มสาระ/ฝ่ายวิชาการ หน้าที่ กำกับดูและและให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำครูในกลุ่ม PLC

4. administrator ผู้บริหาร หน้าที่ มอบนโยบาย แนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานกระบวนการ PLC

5. export ผู้เชี่ยวชาญ หน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงานกระบวนการ PLC ของโรงเรียน

ขั้นตอนการดำเนินการในการพัฒนาเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. PLAN = shared velues and norms และ collective focus on student learning เริ่มต้นด้วยการวางแผน กำหนดเป้าหมายของการแก้ปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ วางแผนออกแบบการแก้ปัญหาพร้อมทั้งพูดคุยเพื่อร่วมกันออกแบบการแก้ปัญหา

2. DO = collaboration และ expert advice and study visit ขั้นปฏิบัติการ เช่น การสังเกตการสอน ควรทำอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 ภาคเรียน โดยต้องมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

3. SEE = Reflection dialogue การสะท้อนคิดผลการปฏิบัติงาน เป็นการสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน

หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จะได้ผลงาน ดังนี้

  1. แผนการจัดการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพ

  2. ได้รับ การนิเทศการจัดการเรียนรู้ แบบกลัยาณมิตรจาก buddy teacher

  3. Log book เพื่อบันทึกข้อมูลและชั่วโมงการดำเนินการ PLC

  4. วิจัยในชั้นเรียน โดยใช้ข้อมูลจากการจัดการเรียนรู้ในกระบวนการ PLC

  5. นวัตกรรม/Best Practices จากการเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือ ในออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมนั้น

  6. ID Plan เพื่อวางแผนในการพัฒนาตนเองในปีการศึกษาถัดไป