การดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากไวรัสและโอกาสการรอดชีวิต

  1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ

  2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

  3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

  4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ

  5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)

  6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ

  7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน

  8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก

  9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา


____________________________________
ข้อมูลจาก (1) Mahidol

รูปภาพจาก Thai PBS

แนวทางปฏิบัติสำหรับของประชาชน

  1. ในกรณีที่ต้องไปในที่สาธารณะ เดินทางหรือจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่แออัด ให้สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ

  2. รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะแก้วน้ำ ช้อน เป็นต้น

  3. หากพบว่ามีอาการไข้และมีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ควรงดไปในที่สาธารณะ
    ____________________________________
    ข้อมูลจาก (1) กรมอนามัย

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการต่าง ๆ

ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงแรม ผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงภาพยนตร์ ดำเนินการดังนี้

  1. ให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงพื้นผิวสัมผัส โดยเน้นจุดที่มีการสัมผัสร่วมกัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ก่อนและหลังการให้บริการอยู่เสมอ

  2. พนักงาน ผู้ให้บริการ และผู้มาใช้บริการทุกคน ต้องสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัยตลอดเวลาที่ให้บริการและใช้บริการ

  3. จัดจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการในบริเวณต่าง ๆ อย่างเพียงพอ

  4. ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัดจนเกินไป โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการตามขนาดพื้นที่ และ จัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร

  5. กรณีที่สามารถจองคิวหรือจองสินค้าล่วงหน้าได้อาจเปิดช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกและลดระยะเวลาของผู้ใช้บริการ

  6. จัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เข้าในสถานประกอบการ ทั้งลูกค้า ผู้ประกอบการ พนักงาน ก่อนเข้าสถานที่ และห้ามผู้มีไข้และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก เข้าภายใน บริเวณสถานประกอบการ

  7. จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี กรณีที่ใช้เครื่องปรับอากาศให้ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ • จัดให้มีถังขยะที่มีฝาปิดไว้ให้บริการในสถานที่อย่างเพียงพอ และมีการเก็บรวบรวมเป็นประจำ ทุกวัน เพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ

  8. จัดให้มีทางเข้า–ออก ที่ชัดเจน และจัดให้มีจุดลงทะเบียนก่อนเข้าและก่อนออกจากสถานที่ ด้วยแอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด


____________________________________
ข้อมูลจาก (1) กรมอนามัย

รูปภาพจาก จส.100

แนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงาน หรือผู้ให้บริการ

พนักงาน หรือผู้ให้บริการถือเป็นบุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการ ขณะให้บริการต้อง

สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง หมั่นล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และพยายามเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลขณะปฏิบัติงาน พร้อมดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้มสุขภาพดีพร้อมสำหรับให้บริการอยู่เสมอ

และควรหมั่น สังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีอาการไข้และมีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ควรหยุดงานและงดไปในที่สาธารณะ


____________________________________
ข้อมูลจาก (1) กรมอนามัย