วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ม.3

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้ตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม


ว 4.2 ม.3/3 ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน


สาระการเรียนรู้

2.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1) การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล โดยเทียบเคียงจากข้อมูล หลายแหล่ง แยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น หรือใช้ PROMPT

2) การสืบค้น หาแหล่งต้นตอของข้อมูล

3) เหตุผลวิบัติ (logical fallacy)

4) ผลกระทบจากข่าวสารที่ผิดพลาด

5) การรู้เท่าทันสื่อ เช่น การวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ของข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล ตีความ แยกแยะเนื้อหา สาระของสื่อ เลือกแนวปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเมื่อพบข้อมูลต่าง ๆ

2.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

(พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)


สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การสืบค้นแหล่งข้อมูลเป็นกระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การสืบค้นข้อมูลด้วยมือ คือ การสืบค้นข้อมูลด้วยเอกสาร หนังสือ ตำรา เป็นต้น

2. การสืบค้นข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ การสืบค้นข้อมูลผ่านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือ เป็นการพิจารณาเพื่อคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจากการประเมินความน่าเชื่อถือจะทำให้เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่า และนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

การรู้เท่าทันสื่อเป็นลักษณะสมรรถนะที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์