แหล่งเรียนรู้บ้านสะพานหิน
การทำเศรษฐกิจพอเพียง -และการกำจัดขยะ

แหล่งเรียนรู้ด้านโบราณสถาน

โบสถ์มหาอุตม์  วัดเขาโบสถ์

โบราณสถาน  โบสถ์มหาอุตม์  อายุกว่า 100  ปี

ณ    วัดเขาโบสถ์  หมู่ที่  7  ตำบลทับมา  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง

คลิปวิดีโอ การเรียนรู้เกี่ยวกับโบราณสถาน  โบสถ์มหาอุตม์ วัดเขาโบสถ์  

ณ   วัดเขาโบสถ์  หมู่ที่ 7   ตำบลทับมา  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง

ข้อมูลโดบ : นายจักรพงศ์  พลอยประดับ        จัดทำโดย : นักศึกษา กศน.ตำบลทับมา


ประวัติวัดเขาโบสถ์

ที่ตั้งวัด

เลขที่ 111/1 หมู่ที่ 7 ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

สภาพทั่วไปของวัด

วัดมีพื้นที่ประมาณ ๒๔ ไร่ ๒ งาน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของอำเภอนิคมพัฒนา มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอบ้านค่าย อยู่ใกล้เคียงดังนี้

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภูเขา

ทิศใต้ ติดต่อกับเขตถนนสาธารณะ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตถนนสาธารณะ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาธารณะ

ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนลมทะเลพัดผ่านตลอดปี อากาศอบอุ่นไม่ร้อนจัดบริเวณชายเขาเย็นสบายในฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี ที่ผ่านมา และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมวัดได้ ๑๖ - ๑๗ องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบ ประกอบด้วยภูเขาเตี้ยๆ ด้านเหนือ และ ตะวันตกเป็นที่ราบสลับภูเขาและลำคลอง เป็นที่ลาดต่ำ ทางทิศใต้เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี หลังวัดมีแม่น้ำ ๑ สาย คือ

- สาขาแม่น้ำระยอง ชาวบ้านโดยทั่วไป เรียก มือคลอง ไหลผ่านทางด้านหลังของวัดทางด้านทิศตะวันตก และไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง

ลักษณะดิน

เป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง ระบายน้ำได้ดี แต่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ำและมีภูเขาเตี้ย ๆ

ป่าไม้ เป็นพื้นที่จัดทำโครงการ “ป่าชุมชนบ้านเขาโบสถ์” ตามมติครม.ปี ๓๘ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ

ทรัพยากรแร่ธาตุ

จากการสำรวจจะเป็นแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ 

ความเป็นมาของศิลปกรรมของวัดเขาโบสถ์

จุดเริ่มต้นของศิลปกรรม คือ การที่ต้องประดิษฐ์และสร้างสรรค์สิ่งอำนวยความสะดวก และเพื่อความเป็นอยู่ที่ปลอดภัย สำหรับการดำรงชีพและความอยู่รอด ได้แก่ ที่พักอาศัยอย่างง่าย ๆ อาคารที่สร้างขึ้น อย่างหยาบๆ สร้างอิฐดินเผาเพื่อเป็นการสร้างโรงอุโบสถอย่างง่าย ๆ ล้วน  เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชนในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่แตกต่าง จากธรรมชาติ ในระยะต่อมาเมื่อคนในชุมชนได้สัมผัสกกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งบางเหตุการณ์เป็นสิ่งที่เหนือคำอธิบายได้ในยุคนั้น ด้วยความเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์อำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ จึงได้เกิด พิธีกรรมต่าง ๆ พัฒนามาเป็นความเชื่อจนกลายเป็นเรื่องของศาสนาในปัจจุบัน ศิลปะจึงได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ เป็นรากฐานและแรงบันดาลใจให้คนในชุมชนในสมัยต่อ ๆ มาสร้างงานที่มีลักษณะแปลกแตกต่างและพัฒนาให้เกิด ผลงานที่ดีขึ้นต่อไป

วิธีการปฏิบัติในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปกรรมของวัดเขาโบสถ์

เราเข้าใจแนวคิดพุทธศาสนาที่เป็นบ่อเกิดของงานช่าง และวิธีการปฏิบัติของวิถีชีวิตของชุมชนจะมีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ศิลปกรรมดังปัจจุบัน สังคมชาวบ้านเขาโบสถ์แต่โบราณดูแลอาคารโบราณสถานต่างๆด้วยแนวคิดพื้นฐานของชุมชน ด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนาศิลปกรรมต่างๆ มีคุณค่าในฐานะเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์(Instrument)ที่ชี้นำในการเผยแพร่ไปสู่สังคมภายนอกชุมชน ให้เข้าถึงความเป็นจริงของพุทธศาสนาและศิลปกรรม โดยเข้าใจธรรมชาติของวิถีชุมชน อันเป็นคนในสังคมที่ยังคงมีกิเลสอันยึดติดอยู่ในความงาม จึงได้ใช้ความงามของศิลปะเป็นอุบายในการโน้มนำใจให้คิดดี ทำดีตามหลักศาสนาด้วยแนวคิดที่ศิลปะอันเนื่องในพุทธศาสนามีหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใน

การอธิบายแนวคิดทางศาสนาและเป็นรูปสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายในทางศาสนา และสืบทอดอายุของพุทธศาสนา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เมื่อศาสนสถาน หรือศาสนวัตถุชำรุด ชาวบ้านในชุมชนก็ปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์จะไม่ปล่อยให้ชำรุดหักพัง เช่นอุโบสถหลังเก่าของวัดเขาโบสถ์ ถือว่าเป็นจุดขายที่จะสื่อให้เห็นถึงความมีศิลปะในจิตใจ ของคนในชุมชนเดิม ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงคุณค่าทางศิลปะเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้ เพราะสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ย่อมทำหน้าที่ในการเป็นรูปสัญลักษณ์ ที่สื่อสารความหมายทางศาสนาได้เป็นอย่างดีพร้อมกันนั้น ด้วยแนวคิด “ไตรลักษณ์” ที่สอนให้มองสรรพสิ่งว่าไม่เที่ยง โดยเฉพาะภิกษุซึ่งเกี่ยวข้องในการใช้ศาสนสถานโดยตรง ก็มีท่าทีต่อเสนาสนะที่ใช้สอย เมื่อเป็นดังนี้ “แม้แต่ความงามในเสนาสนะ และศิลปะทั้งปวงก็ล้วนเป็นอนัตตา” ที่ว่างเปล่าปราศจากตัวตน ทำให้เมื่อศาสนสถานชำรุดไปตามกาลเวลาจึงไม่มีความจำเป็นจะต้องฝืนความเป็นไตรลักษณ์ด้วยการพยายามรักษาศาสนสถานไว้ให้คงอยู่ถาวรตามสภาพเดิมจึงทำให้การบูรณปฏิสังขรณ์ในทางด้านศิลปกรรมที่อยู่ในวัดนอกจากนั้นแล้ว ด้วยแนวคิดเรื่องบุญกิริยาในทางพุทธศาสนา การดูแลซ่อมแซมศาสนสถานศาสนวัตถุให้คงรูปในสภาพที่สมบูรณ์ย่อมได้บุญกุศลกว่าการปล่อยให้อยู่ในสภาพปรักหักพังความเชื่อเช่นนี้ฝังรากลึกอย่างยาวนานในสังคมไทย เช่น จิตรกรรมฝาผนัง กล่าวว่า หากสร้างธรรมมาสน์ ผลบุญ คือ เมื่อตายแล้วจะได้จุติบนสวรรค์พร้อมวิมาน ส่วนการปิดทองพระพุทธรูปผลบุญชาติต่อไป คือ จะได้จุติเป็นกษัตริย์ หรือใน จันทเสนชาดก กล่าวว่าหากปฏิสังขรณ์และปิดทองพระพุทธรูปที่ชำรุด ผลบุญชาติต่อไป คือ จะได้จุติเป็นเทวดา และหากเป็นหญิงก็จะมีผิวงาม ไม่เคยปรากฏหลักฐานในคัมภีร์หรือจารึกใดๆว่า ผู้คนในสมัยโบราณสร้างหรือปฏิสังขรณ์ศิลปะ อันเนื่องในพระศาสนาเพื่อที่จะอนุรักษ์ศิลปะหรือสืบทอดฝีมือช่างให้แก่ลูกหลาน แม้ว่าการปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุโดยชนชั้นปกครองในสมัยโบราณจะแฝงไปด้วยวัตถุประสงค์หลักทางการเมือง แต่ก็เป็นการเมืองที่อิงเข้าหาพุทธศาสนาในการเสริมสร้างบารมีและความชอบธรรมในการปกครอง นอกจากเพื่อบุญกุศลการอนุรักษ์ปัญหาที่ยังไม่มีทางออกในขณะที่การอนุรักษ์ที่ดำเนินการบนพื้นฐานแนวคิดจากตะวันตกในปัจจุบัน สามารถรักษาศิลปกรรมหรืออาคารโบราณวัตถุสถานได้เพียงแค่ในเชิง“วัตถุ” หรือ “รูปธรรม” และมักได้ซากอาคารโบราณที่ไร้ชีวิต และปราศจากหน้าที่ที่เคยใช้สอย ดังตัวอย่าง อุทยานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของประเทศไทย แต่แนวคิดของพุทธศาสนาในสมัยโบราณนั้น กลับสามารถรักษาความหมายและคุณค่าในเชิง “นามธรรม” ที่เป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดงานช่างอันงดงามเหล่านั้น ได้แก่ การรักษา “ความเชื่อ” “ความศรัทธา” ในพระศาสนาอันเป็น “นามธรรม” ที่อยู่ในใจคนไว้ได้ เพราะความเชื่อเช่นนี้ที่ดำรงอยู่ในใจคนพุทธศาสนิกชนจึงสามารถสั่งสม สืบทอด และพัฒนาฝีมือช่างจนสามารถรังสรรค์ศาสนสถานศาสนวัตถุอันงดงาม

“ศิลปกรรมล้ำค่า ภูมิปัญญาก้าวไกล ใส่ใจธรรมชาติ

 

  แหล่งที่มา

Copyright © www.khaoboth.com

วัดเขาโบสถ์ หมู่ 7 ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000