วัฒนธรรม


เพลงเป๋

เพลงเป๋ เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาว ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เพลงเป๋มีลักษณะ คล้ายเพลงอีแซว หรือเพลงฉ่อยของภาคกลาง แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว ทำนองและสำเนียงการร้องต่างออกไป ตามประวัติว่า ผู้เอาเพลงมาเผยแพร่เป็นคนขาเป๋ ชาวบ้านเลย เรียกกันว่า “เพลงเป๋”

การเล่นเพลงเป๋จะแบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ร้องเกี้ยวพาราสีกัน ไม่มีดนตรีประกอบ มีแต่เสียงปรบมือ ให้จังหวะ ต่างกายคล้ายลำตัด สถานที่เล่นอาจเป็นบนเวที หรือลานวัด หรือลานกลางหมู่บ้าน ก็ได้ การเล่นเพลงเป๋มีบทเล่น เช่น บทไหว้ครู บทชมโฉม. บทชวนหนี เป็นต้น

ปัจจุบันเพลงเป๋ขาดการสืบสานต่อ โอกาสที่จะเล่นเพลงเป๋ก็มีน้อยเต็มทีแล้ว วิถีชีวิตได้เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคม อุตสาหกรรม เพลงเป๋ จึงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เพียงแต่นำมาเล่นในบางโอกาส เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น

ตัวอย่างบทไหว้ครู

(หญิง) เอย.....    เอ่ย

มือของลูกสิบนิ้ว  ยกขึ้นหว่างคิ้วเหนือเกศ

จะไหว้พระพุทธพระสงฆ์   ที่ท่านได้ทรงปรา ....... ณี เอย ไว้

(ลูกคู่) จะไหว้พระพุทธพระสงฆ์

จะไหว้พระพุทธพระสงฆ์   ที่ท่านได้ทรง ปรา .....ณี เออ.....เออ เอ่ย ไว้

ชา..เอ่ ..ชา ทิ ...ฉ่า... ชา หน่อย น่อย น้อย นอย ละหน่อย นอด นอ...ละหน่อย

(ชาย) จะไหว้พระพุทธที่เลิศล้ำ จะไหว้พระธรรมที่เลิศ

จะไหว้คุณพระสงฆ์องค์ประเสริฐ    ที่เกิดอยู่ในศาสนา

จะไหว้พระภูมิเจ้าที่ไหว้คุณพระอัคคี.......คงคา .....เอย......ไว้

(ลูกคู่)   รับคำสุดท้ายทำนองเดียวกับบทแรก