ผู้จัดทำข้อตกลง  นางสาวโฉมสุดา  ยงยืน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

 ๑. ชั่วโมงสอนตามตารางสอน  จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) ชั้นม.   ม.๒ กิจกรรมชุมนุม ม.๑-ม.๖               จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งสอน

๒. งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

     จำนวน ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์

    การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้          จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

    การวัดและประเมินผลการเรียนรู้         จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

    การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

                                                                จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

    การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ 

    ทางวิชาชีพ (PLC)                                จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC

แผนการจัดการเรียนรู้

1.1.ม.1 พีดีเอฟ.pdf

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC

 ๓. งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของ

      สถานศึกษา  จำนวน ๑๔ ชั่วโมง/สัปดาห์

     หัวหน้างานแนะแนว                               

     เวรประจำวันพฤหัสบดี

     เวรวันหยุด

5.คำสั่งเวรประจำวันภาคเรียนที่1 ปี 65โรงเรีย.pdf

 ๔. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น 

     จำนวน ๙ ชั่วโมง/สัปดาห์

     คณะกรรมการศูนย์แนะแนวประจำจังหวัดอุดรธานี

     บริการแนะแนว ๕ บริการ                              

     โครงการปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔

     โครงการมอบทุนการศึกษา

     โครงการสัปดาห์แนะแนว   โครงการอบรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษ

     งานด้านอื่นๆ ตามที่โรงเรียนมอบหมาย

อบรมเชิงปฎิบัติการ
โครงการ การพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC : Youth  Counselor) วิถีใหม่


อบรมโครงการพัฒนาครูแนะแนว แกนนำนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC : Youth  Counselor) วิถีใหม่


มอบทุนการศึกษาพี่เพื่อน้อง


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย


เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  

ฉันพอใจในสิ่งที่ฉันเป็น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ 

โรงเรียนสตรีราชินูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

เนื่องจากการจัดกิจกรรมแนะแนวตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ว่า กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี โดยสอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาการแนะแนวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๐) ที่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของการแนะแนว ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม มีสุขภาวะที่ดี มีทักษะชีวิต และทักษะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง โดยมีพันธกิจ ดังนี้ ๑) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพตนเอง โดยใช้กระบวนการแนะแนว การให้คำปรึกษา ให้มีสมรรถนะทางการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม เพื่อการศึกษาและการมีงานทำ ๒) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาวะที่ดี มีทักษะชีวิต มีทักษะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๓) พัฒนาระบบการแนะแนวในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน

๔) ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านการแนะแนว

เพื่อให้การจัดกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชากิจกรรมแนะแนว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการบูรณาการ  การเรียนการสอน  สอดคล้องกับความถนัดและศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา การสร้างสัมพันธภาพที่ดีและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

 ผู้สอนทำหน้าที่เป็นครูแนะแนว สอนกิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จำนวน ๑๗ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มาขอรับคำปรึกษา จำนวน ๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมทั้งการจัดงาน/โครงการต่างๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนป้องกัน และการช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมแนะแนว

ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ด้านสุขภาพจิต ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งมีผลต่อการจัดการเรียนการสอน ขาดแรงจูงใจในการเรียน บรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ทำให้นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้นักเรียนเกิดความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของนักเรียน

          ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้สอนมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดกิจกรรรมการเรียนรู้ แบบActive Learning  การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี มาใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชากิจกรรมแนะแนว และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น


2. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

๓.๑ เชิงปริมาณ

     ๓.๑.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จำนวนทั้งหมด ๕๔๗ คน

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ได้รับการพัฒนาตนเองโดยการใช้รูปแบบชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว

เรื่อง  การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม มีผลการประเมินผ่านร้อยละ ๘๐

     ๓.๑.๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จำนวนทั้งหมด ๕๔๗ คน

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบชุดการสอนกิจกรรม

แนะแนว เรื่อง การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้น

๓.๒ เชิงคุณภาพ

     ๓.๒.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ได้รับการพัฒนาตนเอง และมีความรู้ในเรื่อง การศึกษา อาชีพ ชีวิตและสังคม มากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

     ๓.๒.๒ มีชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว ในเรื่อง การศึกษา อาชีพ ชีวิตและสังคม และแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

                


3. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

          ๑ ศึกษาเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

              ๑.๑ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐)

ว่า กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

              ๑.๒ ศึกษาวิธีการ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการสร้างชุดการสอนกิจกรรม แบบประเมินชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว กระบวนการกลุ่ม การให้คำปรึกษา และการพัฒนากิจกรรมแนะแนว            

          ๒.๒ วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐)  

และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสตรีราชินูทิศ มาตรฐานการแนะแนว กิจกรรมแนะแนว

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เรื่องส่วนตัวและสังคม

          ๒.๓ สร้างชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว เรื่อง ฉันพอใจในสิ่งที่ฉันเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงาน โดยแต่ละฉบับมีจำนวน ผู้สอนได้กำหนดคะแนนใบงานของแต่ละชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว โดยให้คะแนนใบงานชุดละ ๑๐ คะแนน และได้ชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว ทั้งหมดจำนวน  ๖ ชุด ดังนี้

ชุดที่  ๑  เรื่อง  ฉันพอใจในสิ่งที่ฉันเป็น ชุดที่  ๒  เรื่อง  ฉันกับคนเกื้อกูล

ชุดที่  ๓  เรื่อง  รอบรู้เรื่องหลักสูตร     ชุดที่  ๔  เรื่อง  การวัดประเมินผล

ชุดที่  ๕  เรื่อง  สื่อสารดีมีเพื่อน         ชุดที่  ๖  เรื่อง  เป็นอยู่ อยู่ ดู ฟังเป็น      

         ๒.๔ นำชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว และแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว

และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนให้ครูในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) ร่วมกันตรวจสอบแก้ไข เพื่อความถูกต้องในเนื้อหา ภาษา การเฉลยใบงาน พร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

        ๒.๕ ผู้สอนนำชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว                 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนไปปรับปรุง                 ตามคำแนะนำของครูในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) โดยใช้กระบวนการ PLC ช่วยในการแก้ไขปัญหาร่วมกับคณะครู พัฒนาสื่อ และนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

        ๒.๖ นำชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว และแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ ๑

          ๒.๗ ให้นักเรียนได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน

          ๒.๘ ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเชิงบวก และการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข


4. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

๑ เชิงปริมาณ

    ๑.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จำนวนทั้งหมด ๕๔๗ คน

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ได้รับการพัฒนาตนเองโดยการใช้รูปแบบชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว เรื่อง  การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม มีผลการประเมินผ่านร้อยละ ๘๐

    ๑.๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จำนวนทั้งหมด ๕๔๗ คน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว เรื่อง การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้น

เชิงคุณภาพ 

๒. เชิงคุณภาพ

     ๒.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ได้รับการพัฒนาตนเอง และมีความรู้ในเรื่อง การศึกษา อาชีพ ชีวิตและสังคม มากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

     ๒.๒ มีชุดการสอนกิจกรรมแนะแนว 

ในเรื่อง การศึกษา อาชีพ ชีวิตและสังคม และแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑


ตัวชี้วัด (Indicators)

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online