ประเด็นท้าทาย 

ชื่อเรื่องประเด็นท้าทาย 

              การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ 5E เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ)


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

               หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนานักเรียน ทุกคนให้เป็นกำลังของชาติ เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่ดีต่อการศึกษาการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญและถือว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้มีความรู้มีทักษะมีเจตคติและกระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

                คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การแก้ปัญหาในด้านชีวิตประจำวันและด้านอื่นๆ  การใช้เหตุผลส่วนใหญ่จะต้องอาศัยคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้น  คณิตศาสตร์ย่อมมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์  ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผล  เป็นระบบระเบียบ  มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ  จึงทำให้สามารถคาดการณ์  วางแผน ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่ายังการจัดการเรียนการสอนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

           จากปัญหาดังกล่าว   ข้าพเจ้ายจึงมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดคำนวณ  โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยมีแนวคิดว่าธรรมชาติของเด็ก ๆ  ต้องได้รับการฝึกซ้ำๆ ย้ำๆ  และเรียนรู้จากง่ายไปหายาก  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้มีความสนใจที่จะนำเอากระบวนการ 5E  มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่อง  โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ)  เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  และมีพื้นฐานการเรียนรู้ดีขึ้นต่อไป

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

  2.1) การดำเนินการรวมกลุ่ม PLC (Professional Learning Community)  ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ   เป็นการรวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน สามารถวางแผน ออกแบบ กำหนดกิจกรรมการแก้ปัญหาหรือพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในที่เกิดขึ้นในโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยใดเข้ามา

เกี่ยวข้อง มีแนวโน้มของปัญหาอย่างไร และมีผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์และ

ผลการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ แล้วนำเสนอผลการระดมความคิด   เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้น ดำเนินการอภิปรายสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา นำวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการระดมความคิด ไปทดลองใช้ใน

การเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยร่วมกันสังเกตการสอนและเก็บข้อมูล หรือเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้ในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการ

ปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงสรุปผลวิธี การแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

     2.2  ศึกษาเอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิดทฤษฏีการเรียนการสอน

                 2.3  ศึกษาปัญหาของนักเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน

                 2.4  ศึกษาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

                 2.5  ศึกษาเทคนิคการจัดการเรียนเรียนด้วยกระบวนการ 5E

                 2.6  สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้ ก่อนเรียน -  หลังเรียน  

                

2.7  ประเมินผลการเรียนรู้ ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ด้วยกระบวนการ 5E เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                   2.8   ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบ  ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ด้วยกระบวนการ 5E เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                       2.9  ประเมินผลการเรียนรู้  หลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ด้วยกระบวนการ 5E เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้สรุปไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

                   ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนซึ่งอาจเกิดความสนใจ ความสงสัย จากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจใคร่รู้ นำไปสู่ประเด็นที่จะศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                       ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา(Exploration) เป็นการทำความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา                 วิธีการศึกษาอาจเป็นการตรวจสอบ การทดลอง การปฏิบัติ การสืบค้นความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างพอเพียงในการที่จะใช้ในขั้นต่อไป

                        ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นการนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอในรูปของภาพวาด ตาราง แผนภูมิ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นการสนับสนุนหรือโต้แย้งสมมติฐานก็ได้ ผลที่ได้สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้   

                       ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำข้อสรุปไปอธิบายสถานการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ที่กว้างขึ้น

  ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่ามีความรู้อะไรบ้าง รู้มากน้อยเพียงใดและนำไปประยุกต์ความรู้สู่เรื่องอื่น ๆ

                

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง                                                                     3.1 เชิงปริมาณ

      1.ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 70 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ด้วยกระบวนการ 5E เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         2.นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning      ด้วยกระบวนการ 5E เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม ในระดับมากขึ้นไป

3.1 เชิงคุณภาพ

       ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง โจทย์ปัญหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับปรับปรุง 2560


วิดีโอประกอบการเรียนการสอน

ผลลัพธ์ของการพัฒนางาน