ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน PA ของ ครูมะลิวัลย์ จ๊ะโด

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

  1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง /สัปดาห์ ดังนี้

                               รายวิชาภาษาไทย          จำนวน  14 คาบ/สัปดาห์

                               รายวิชาภาษาอังกฤษ           จำนวน  5 คาบ/สัปดาห์

                               รายวิชาสุขศึกษา                  จำนวน  2  คาบ/สัปดาห์

                  กิจกรรมลูกเสือ–ยุวกาชาด   จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

      กิจกรรมชุมนุม     จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

                       1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)       จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - การจัดทำแผนการเรียนรู้                                จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - สร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน             จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - การวัดผล ประเมินผล และพัฒนาผลการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา     จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา,                     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

            - หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                        1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง /สัปดาห์

            - กิจกรรมรักการอ่าน                 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

  1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 21 ชั่วโมง /สัปดาห์ ดังนี้

            รายวิชาภาษาไทย              จำนวน  5 คาบ/สัปดาห์

            รายวิชาคณิตศาสตร์                                            จำนวน  5  คาบ/สัปดาห์

            รายวิชาภาษาอังกฤษ                                           จำนวน  4 คาบ/สัปดาห์

            รายวิชาวิทยาศาสตร์                                            จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

            รายวิชาสังคมศึกษา                                              จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

            รายวิชาประวัติศาสตร์                                          จำนวน  2  คาบ/สัปดาห์

             กิจกรรมแนะแนว                                                 จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

          กิจกรรมลูกเสือ–ยุวกาชาด   จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

      กิจกรรมชุมนุม           จำนวน  1  คาบ/สัปดาห์

                         1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์

            1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห   

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง /สัปดาห์

                                                             รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

       ประเด็นท้าทาย เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกการอ่านและ การเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

การอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เพราะเมื่ออ่านออกเขียนได้ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ  นำไปสู่การสร้างความคิด  การตัดสินใจแก้ปัญหา  และก้าวทันต่อเหตุการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1โรงเรียนบ้านปวงคำ (ประชาอุทิศ) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่นักเรียนอ่านและเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากนักเรียนส่วนใหญ่ไม่รู้จักรูปสระและเสียงสระ ส่งผลให้นักเรียนอ่านเขียนไม่ถูกต้อง

จากปัญหาดังกล่าวในฐานะของครูผู้สอนจึงได้ศึกษาเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน  การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะสมกับวัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน  ไม่เบื่อหน่ายในการเรียน  ช่วยให้นักเรียนจดจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำและคงทนเป็นเวลานาน  ดังนั้นผู้สอนจึงได้นำนวัตกรรม  “การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย” มาใช้ประกอบการเรียนการสอน  เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระไทย  เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนบ้านปวงคำ (ประชาอุทิศ) เกิดการเรียนรู้และมีความเข้าใจในเรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระไทยได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้น  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง  

 

       2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                2.1  ศึกษาเอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   แนวคิดทฤษฏีการเรียนการสอน

                2.2  ศึกษาปัญหาของนักเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน

                2.3  ศึกษาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

                2.4  ศึกษาเทคนิคการใช้บทเพลงพัฒนาการอ่านและการเขียน เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน

               2.5  สร้างแบบประเมินผลการอ่านและการเขียน ก่อนเรียน -  หลังเรียน                               

             2.6  ประเมินผลการอ่าน การเขียน ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

            2.7 ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบ  ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

            2.8  ประเมินผลการอ่านและการเขียน  หลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

      3.1 เชิงปริมาณ

       ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 80 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3.2 เชิงคุณภาพ

          ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  สามารถอ่านออก เขียนได้  มีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระไทย  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 


ปกชุด1.pdf
ปกเล่ม2.pdf

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน.pdf
1แบบสรุปผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงปีงบ66..pdf

รูปการจัดการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย

ส่วนที่ 3 สรุปผลงานเชิงประจักษ์ หรือรางวัลที่ได้รับในระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ ฯลฯ