ผลการประเมินคุณภาพภายนอก

ผลการประเมินภายนอกรอบสาม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๓

๑) ด้านผลการจัดการศึกษา

๑. สถานศึกษามีการเก็บข้อมูลของผู้เรียน ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการเข้าร่วม

กิจกรรมของผู้เรียน ด้านสุนทรียภาพ เป็นรายบุคคลดีอยู่แล้ว แต่จะให้สมบูรณ์ควรมีการจัดเก็บให้ครบถ้วนทุกด้านและจัดทำเป็นสาระสนเทศสามารถนำไปใช้ได้

๒. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จัดได้ดีแล้ว แต่จะให้

สมบูรณ์และครบถ้วน ควรจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนมุ่งมั่นในการเรียนรวมทั้งมีการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา มีการประกวดเด็กดีระดับห้องเรียน ระดับชั้นเรียน และระดับสถานศึกษา เพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

๓. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น โดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้

ภายในสถานศึกษาให้หลากหลายมากขึ้น เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ ตะกร้าความรู้ ต้นไม้พูดได้ โดยเฉพาะกิจกรรมหน้าเสาธงควรเพิ่มกิจกรรมเล่าข่าว วิจารณ์ข่าว กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ ภาษาอังกฤษวันละคำ มีการประกวดนักอ่านยอดเยี่ยม ประกวดเรียงความ เรื่องสั้น คำขวัญ โต้วาที กิจกรรมเสียงตามสาย เป็นต้น

๔. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึก

ทักษะด้านการคิด ฝึกทำและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ฝึกการทำงานเป็นทีม ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการปรับตัวและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น

๕. ผู้เรียนควรได้รับคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน ครูแนะแนว เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้

เกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรียนอย่างมีเป้าหมาย และเห็นความสำคัญของการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผู้เรียนควรได้รับการฝึกทำแบบทดสอบดังกล่าวอย่างพอเพียง เพื่อให้เกิดทักษะในการทำแบบทดสอบดังกล่าว

๖. ผู้เรียนควรได้รับการคัดกรองพื้นฐานทุกรายวิชา ทุกระดับชั้น โดยเฉพาะทักษะการอ่าน

ทักษะการเขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การคิดเลขคล่อง การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสืบค้น และดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะต่าง ๆ อย่างเพียงพอ

๗. สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนจนเกิดอัตลักษณ์ “ลูกพัฒนานิคม รักสะอาดและ

อยู่อย่างพอเพียง” ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และควรมีกิจกรรมให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

๘. สถานศึกษาได้ดำเนินการตามจุดเน้นและจุดเด่นได้สำเร็จจนมีเอกลักษณ์ “โรงเรียน

ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ” ถ้าจะพัฒนาขึ้นไปอีก ควรมีกิจกรรมหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทนและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม และควรให้ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น

๙. สถานศึกษาได้ดำเนินการโครงการล้อมรั้วให้ลูกรัก เพื่อแก้ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ

โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ดีอยู่แล้ว แต่จะให้ดียิ่งขึ้นอีกควรมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาและยั่งยืน

๒) ด้านการบริหารจัดการศึกษา

๑. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่และบรรยากาศของ

สถานศึกษาโดย มีการแบ่งเขตรับผิดชอบให้แก่ผู้เรียนและจัดครูคอยดูแลเป็นที่ปรึกษา จัดประกวดความสวยงาม ความสะอาดของเขตพื้นที่รับผิดชอบ และจัดให้ผู้เรียนปลูกต้นไม้หรือเป็นเจ้าของต้นไม้ คอยดูแลต้นไม้ของตนให้เจริญงอกงามตลอดระยะเวลาที่ศึกษา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งต่อต้นไม้ให้รุ่นน้องดูแลต่อไป ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังความรู้สึกรักหวงแหนและภาคภูมิใจในสถานศึกษาของตนเองอย่างแท้จริง

๒. สถานศึกษาความให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรทุกคนในเรื่องการปฏิรูป

การศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) อย่างทั่วถึงและนำมาเป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป

๓) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑. สถานศึกษาควรนำผลการประเมินและปัญหาด้านความต้องการพัฒนาตนเองของครู

ด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน มาเป็นข้อมูลและเป้าหมายในการจัดทำแผนพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ

๒. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจนและ

ครอบคลุมในการพัฒนาผู้เรียนทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการและด้านคุณลักษณะ

๓. ครูยังจัดการเรียนการสอนยังไม่หลากหลาย เทคนิคและวิธีสอน ควรจัดการเรียนการสอน

ด้วยวิธีเหล่านี้ให้มากขึ้น ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยโครงงาน จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ สืบค้นความรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนโดยผังมโนทัศน์ การทดลองและการปฏิบัติจริง ตลอดจนการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและการเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน

๔) ด้านการประกันคุณภาพภายใน

๑. สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพ ถ้าจะพัฒนาขึ้นอีกควรมีการพัฒนาครูทุกคนให้

มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพให้มากขึ้น เพื่อให้ครูทุกคนมีความตระหนัก สำนึกถึงความจำเป็นในการทำงานและการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ ทำงานอย่างมีระบบ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และให้ครูทุกคนถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปรับปรุงการทำงานและการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

๒. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ควรมีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

และควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าและยืนยันการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด และจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา