หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาการเกษตร

(หลักสูตร 2 ปี)

ชื่อปริญญา

🔴🟠🟡🟢🔵

ชื่อเต็ม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร)

Master of Science (Agricultural Development)

ชื่อย่อ

วท.ม. (พัฒนาการเกษตร)

M.Sc. (Agricultural Development)

ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

          “บูรณาการความรู้ สู้ปัญหาชุมชน บนฐานพหุวัฒนธรรม นำการวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมสู่เกษตรยั่งยืน” โดยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ภายใต้ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ใช้องค์ความรู้หลักใน 3 ศาสตร์ คือ 1) การส่งเสริมและการสื่อสารทางการเกษตร 2) ระบบเกษตรและการจัดการทรัพยากรเกษตร และ 3) การจัดการทางธุรกิจเกษตร"


ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

🔴🟠🟡🟢🔵

          มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

          ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

          จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 (สำหรับนักศึกษารหัส 60-64106200xx)

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 38 หน่วยกิต 

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 21 หน่วยกิต

๐ วิชาบังคับ จำนวน 14 หน่วยกิต

๐ วิชาเลือก จำนวน 3 หน่วยกิต

สารนิพนธ์ จำนวน 6 หน่วยกิต

๐ วิชาบังคับ จำนวน 14 หน่วยกิต

๐ วิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต

หมายเหตุ : นักศึกษาแผน ก1 ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 520-597, 520-697 และ 520-698 โดยไม่นับหน่วยกิต (Audit)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร


หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (สำหรับนักศึกษารหัส 65106200xx เป็นต้นไป)

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต 

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 18 หน่วยกิต

๐ วิชา/ชุดวิชาบังคับ จำนวน 15 หน่วยกิต

๐ วิชาเลือก จำนวน 3 หน่วยกิต

๐ สารนิพนธ์ จำนวน 6 หน่วยกิต

๐ วิชา/ชุดวิชาบังคับ จำนวน 15 หน่วยกิต

๐ วิชาเลือก จำนวน 15 หน่วยกิต

หมายเหตุ : นักศึกษาแผน ก1 ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 520-530, 520-531 และ 520-632 โดยไม่นับหน่วยกิต (Audit)

เกณฑ์การรับเข้าศึกษา

🔴🟠🟡🟢🔵

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

🔴🟠🟡🟢🔵

แผน ก 1 



แผน ก 2



แผน ข

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵