หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์

ชื่อปริญญา

🔴🟠🟡🟢🔵

ชื่อเต็ม

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชศาสตร์)

Doctor of Philosophy (Plant Science)

ชื่อย่อ

ปร.ด. (พืชศาสตร์)

Ph.D. (Plant Science)

ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่สร้างองค์ความรู้เพื่อก้าวสู่การสร้างนวัตกรรมทางพืชศาสตร์อย่างเหมาะสม และยั่งยืน ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพืชศาสตร์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้จากการวิจัยระดับสูงและเป็นสากล เผยแพร่ พัฒนา และประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมและยั่งยืน มีคุณธรรม และจริยธรรม พัฒนาไปสู่การเป็นนักวิจัยในระดับแนวหน้า ผลิตงานวิจัยในเชิงลึก และเป็นประโยชน์กับระบบการเกษตรในภาพรวม หลักสูตรฯ มุ่งจัดการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตรและ ใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือ

การปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย เน้นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Research-Based Learning) การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) และกิจกรรมเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

  • แผน 1.1

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต

  • แผน 1.2

๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน 72 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

🔴🟠🟡🟢🔵

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

แผนศึกษา ปร.ด.พืช-65.pdf

เกณฑ์การรับเข้าศึกษา

🔴🟠🟡🟢🔵

  • แผน 1.1 (จากปริญญาโทไปต่อปริญญาเอก)

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาพืชศาสตร์ พืชไร่ พืชสวนหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

  2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก

  3. มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ หรือทำงานในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือสถานประกอบการของตนเอง

มีประสบการณ์วิจัยในหน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อย 1 ปี และมีความสามารถในการเขียนผลงานวิจัยในลักษณะบทความทางวิชาการได้ดี

  • แผน 1.2 (จากปริญญาตรีไปต่อปริญญาเอก)

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีผลการเรียนเกียรตินิยม ในสาขาวิชาพืชศาสตร์ พืชไร่ พืชสวนหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือหากไม่มีผลการเรียนข้างต้นแต่ผลการเรียนอยู่ในระดับดีมากต้องมีประสบการณ์ในสถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเป็นเชิงประจักษ์ และมีคำรับรองจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัด และ

  2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

🔴🟠🟡🟢🔵

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์

  2. สอบผ่านโครงร่าง วิทยานิพนธ์ โดยคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและนอกแขนงวิชาเอก และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

  3. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ

  4. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์

  • หลักสูตรแบบ 1.1 มีผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง ต้องเป็นการเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือนานาชาติ

  • หลักสูตรแบบ 1.2 มีผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 4 เรื่อง และอย่างน้อย 3 เรื่อง ต้องเป็นการเขียนภาษาอังกฤษ หรือนานาชาติ เรื่องโดยผลงานดังกล่าวที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

  1. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก