หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ
ชื่อปริญญา
🔴🟠🟡🟢🔵
ชื่อเต็ม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)
Bachelor of Science (Agricultural Innovation and Management)
ชื่อย่อ
วท.บ. (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)
B.Sc. (Agricultural Innovation and Management)
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
🔴🟠🟡🟢🔵
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางนวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ มีทักษะด้านการสื่อสารทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สาม และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อจัดการระบบฟาร์มเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรบนพื้นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-Circular-Green Economy) สามารถบูรณาการความรู้เพื่อแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรแบบครบวงจร มีความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นา และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่น ซื่อสัตย์ มีวินัย จิตสาธารณะ และคานึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต
หลักสูตรใช้กระบวนการจัดกิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทางาน (Work Integrated Learning: WIL) การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) กิจกรรมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน การจัดการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ จึงเป็นการจัดการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้เป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรที่เป็นกาลังหลักของภาคการเกษตรสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมทางการเกษตรทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
🔴🟠🟡🟢🔵
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
🔴🟠🟡🟢🔵
จำนวน 120 หน่วยกิต
๐ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
๐ หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 84 หน่วยกิต
๐ หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
🔴🟠🟡🟢🔵
เกณฑ์การรับเข้าศึกษา
🔴🟠🟡🟢🔵
1) ต้องสาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า และปวช
2) ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ
3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการต่าง ๆ ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และตามเกณฑ์การคัดเลือกอื่นๆ ที่คณะกำหนด
ภาพกิจกรรมของนักศึกษา
🔴🟠🟡🟢🔵