ศิลปะกับชุมชน

Add Headings and they will appear in your table of contents.

กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี ภายใต้โครงการ Pattani Heritage City (ภายใต้ Creative Economy) ปัตตานีเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม

ชื่อศิลปิน : ผศ.ศิริชัย พุ่มมาก

ชื่อชุดผลงาน : วิถี : ความงามในพหุวัฒนธรรมบนคาบสมุทรมลายู

รูปแบบผลงาน : จิตรกรรมผสม (เทคนิคเหล็กดัด)

แนวความคิด :

ต้องการนำเสนอเรื่องราวความงามของวิถีชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายูมาถ่ายทอดด้วยเทคนิคจิตรกรรมผสม เพื่อต้องการให้คนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวได้เห็นถึงความงดงามของวิถีชีวิตในชุมชนและสัมผัสถึงความงามเข้าใจแทนภาพลักษณ์ที่รุนแรงมากกว่า อยากให้ผลงานชุดนี้ได้เป็นผลงานที่ช่วยเสริมสร้างสุนทรียะของชุมชนให้มีความงาม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนผ่านภาพผลงานจิตรกรรมฝาผนัง เปรียบเสมือนเป็นแรงบันดาลใจที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้หยิบยกคนสามศาสนาในอดีตที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งมีทั้งไทยจีน พุทธและมุสลิมที่ดำเนินชีวิตร่วมกันบนสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างงดงามและมีความสุขบนพื้นที่แห่งนี้

หากเรามองภาพบนฝาผนัง จะเห็นเป็นรูปชาวบ้านทั้งสามศาสนา เหตุผลหลักๆก็คือต้องการสื่อให้เห็นถึงความเชื่อของคนทั้งสามศาสนาที่มีความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอาแปะคนจีน คน คนไทยพุทธ 1 คนและคนมุสลิมที่ทูนของบนหัวอีก 1 คน คนทั้งสามศาสนานี้ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันบนสังคมแห่งนี้ ลักษณะของคนทั้งสามคนจะมีความแตกต่างกัน โดยรูปอาแปะจะเป็นคนจีน กำลังถือคันเบ็ดเพื่อตกปลา เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนจีนในสมัยอดีตที่มีความอดทน ความพยายาม และส่วนรูปเมาะจิที่ทูนผักบนหัวเพื่อนำไปขายที่ตลาด ซึ่งนั่นเองก็เป็นท่าทางลักษณะของคนในสมัยอดีตที่กำลังจะเดินทางไปขายของที่ตลาดเทศวิวัฒน์ เนื่องจากในสมัยอดีตผู้คนจะเดินทางด้วยเท้า และสุดท้ายรูปคนพุทธตั้งไว้บริเวณริมน้ำมีท่าทางกำลังตกปลา มีเรื่องราววิถีชีวิตมากมาย ซึ่งรูปคนได้หันหน้าไปทางน้ำ จึงได้ทำรูปคนตกปลาไว้เพื่อที่จะได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กันมาในอดีต ส่วนเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้จะใช้เหล็กเส้น 3-4 หุน ทั่วไปมาปรับและดัดตามรูปทรงที่เราต้องการบนเหล็กแผ่น โดยมีวัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานคือเหล็กเส้น เหล็กแผ่นและสีน้ำมัน ผลงานบนฝาผนังสะท้อนให้เห็นถึงผลงานศิลปะ เพื่อที่จะให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เปิดโลกทัศน์จากการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นถึงรากเหง้าวิถีชีวิตของคนในสมัยอดีตผ่านผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้น

“อยากจะใช้ผลงานศิลปะที่เราได้ทำขึ้นมาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยว โดยมองผ่านความงามบนจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราววิถีชีวิต อีกทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของชุมชน”