ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้

ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง

“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง

ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ empowerment คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม


โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่

3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย

องค์ประกอบของความ พอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ

1. ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ

2. ต้องมีเหตุผลอธิบายได้

3. ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอก

ภายใน

องค์ประกอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ

เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปพอเพียง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและความรู้ ดังนี้

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้านจิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และในขั้นปฏิบัติ


ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ

ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที


การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ต้องคำนึงถึง 4 มิติ ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ

ลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอควร / คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ / มีภูมิคุ้มกัน / ไม่เสี่ยงเกินไป / การเผื่อทางเลือกสำรอง

ด้านสังคม

ช่วยเหลือเกื้อกูล / รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

ด้านวัฒนธรรม

รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น / รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่น ๆ


โรงเรียนโพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา อำเภอโพนสวรรค์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จังหวัดนครพนม

โทรศัพท์ 042-595027 โทรสาร. 042-595204 phonsawanraj@gmail.com