ขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ปฏิทินพิจารณาขออนุมัติจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน

เรื่องราวคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คณะกรรมการจริยธรรมฯ เริ่มดำเนินการก่อตั้งประมาณปี 2543 ด้วยการดำริของหลายฝ่ายว่า โรงพยาบาลควรสนับสนุนการวิจัยและงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐานสากลรองรับงานวิจัยของบุคลากรในโรงพยาบาลนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมที่จัดโดย FERCIT ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเริ่มพิจารณาโครงการด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยการดำเนินงานจะจัดตั้งคณะกรรมการให้ครบองค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมฯตามหลักสากล มีเจ้าหน้าที่ดูแลจัดการด้านเอกสาร ธุรการมีหน่วยงานชัดเจน มีงานวิจัยจากภายนอกทั้งเอกชนและหน่วยงานราชการภายนอกและหน่วยงานจากภายในขอรับการพิจารณารับรองเพิ่มขึ้นทุกปี พบปัญหาเรื่องการจัดเก็บเอกสาร และไม่มี SOPs ในการปฏิบัติงาน ภาระงานทั้งของกรรมการและเจ้าหน้าที่มีเพิ่มมากขึ้น เจ้าหน้าที่ถูกดึงไปทำงานในหน่วยอื่น สำนักงานถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องการเรียนการสอนทำให้การทำงานของคณะกรรมการไม่ราบรื่น ภายหลังได้มีความพยายามจัดทำ SOPs ในปี 2557 โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวรป็น พี่เลี้ยง ทั้งนี้ได้เริ่มทดลองใช้เมื่อปี 2559 ในขณะเดียวกันได้ร่างระเบียบค่าธรรมเนียมการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ ปี 2558 เพื่อนำเงินเข้าบัญชีสนับสนุนการวิจัยในโรงพยาบาล และอยู่ระหว่างการขอรับรองจาก วช. นอกจากนี้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มีระบบ EC Moblie โดยเป็นการอำนวยความสะดวกกับผู้วิจัยที่เป็นบุคลากรภายในโรงพยาบาลท่ำวิจัยแล้วจะเชิญคณะกรรมการเข้าฟังการนำเสนอ ทั้งนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือพยาบาลวิชาชีพที่จะทำงานวิจัย R2R และการโทรซักถามผู้วิจัยในเรื่องที่คณะกรรมการสงสัยในโครงร่างวิจัย เหล่านี้เป็นต้น

หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

1. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาโครงการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์

2. พิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ เชิงจริยธรรมและเชิงวิทยาศาสตร์ตามหลักเกณฑ์สากล เพื่อมิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือป้องกันมิให้เกิดโทษต่อผู้เข้าร่วมในงานวิจัย

3. ออกเอกสารรับรองโครงการวิจัยที่ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

4. พิจารณาอนุมัติ ไม่อนุมัติ สั่งระงับ สั่งยุติหรือสั่งให้ผู้วิจัยแก้ไขงานวิจัย

5. ติดตามการดำเนินการวิจัย ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว

6. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่บุคลากรในโรงพยาบาล/ สาธารณชน เกี่ยวกับการศึกษา และการวิจัยในมนุษย์

7. การอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก