กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หมายเบื้องต้น

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

        กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1. ความมุ่งหมายและหลักการ

       การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

2. หลักการจัดการศึกษา

       2.1 เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

       2.2 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

       2.3 การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3. สิทธิทางการศึกษา

       3.1 บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

       3.2 บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาสจะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย

       3.3 บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษจะได้รับการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมตามความสามารถของบุคคลนั้น

       3.4 บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตร หรือบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว

4. ระบบการศึกษา

        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้จัดการศึกษา 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

       4.1 การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกาา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาอย่างแน่นอน

      4.2 การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบวิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญญาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

      4.3 การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้นักเรียนซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมย่อมได้รับการบริการจากรัฐเกี่ยวกับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงควรได้ศึกษาความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาซึ่งจัดได้ว่าเป็๋นส่วนหนึ่งของวิธีการประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน