O42 : มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

036.pdf
034.docx.pdf
29 .1.pdf
38.pdf

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

1. การส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้โรงเรียนกำหนดมาตรการ กลไก หรือวางแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างในภาพรวมของหน่วยงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางการป้องกันผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา หรือการบริหารเงินโครงการต่าง ๆ ตลอดจนกลไกในการกำกับ ติดตาม กระบวนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงาน รวมถึงการกำหนดกลไกที่จะต้องมีลักษณะของการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานตามรูปแบบ PDCA ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานเป็นไปด้วยความโปร่งใสมีประสิทธิภาพและประสิทธิพล สามารถตรวจสอบได้ มีความคุ้มค่า และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงควรผลักดันให้มีการดำเนินการตามมาตราการดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในแต่ละปีงบประมาณ

2. การบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติต่ำ โดยกำหนดวิธีการ ขั้นตอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานต่ำให้ชัดเจน ตลอดจนมีการกำหนดกลไกลในการกำกับ ติดตามรูปแบบ PDCA ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมุ่งตอบสนองต่อผู้รับบริการหรือประชาชนอย่างเต็มที่

3. การตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยโรงเรียนบ้านใหม่เจริญสุขต้องมีวิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในแต่ละช่วงปีงบประมาณ

4. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนในโรงเรียน จะต้องดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการวิเคราะห์เชิงลึกในแต่ละประเด็นของแต่ละภารกิจให้ชัดเจน เช่น ภารกิจในการให้บริการอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ การจัดซื้อจัดจ้าง และการใช้อำนาจหน้าที่และตำแหน่ง เพราะผลการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจต้องนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือการกำหนดมาตราการเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในภาพรวมระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป

5. การเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชน หรือผู้รับบริการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของหน่วยงาน โดยโรงเรียนต้องมีการกำหนดมาตราการ กลไก หรือการวางระบบภาคประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจหลัก โดยเฉพาะการกำหนดกลไกที่จะต้องมีลักษณะของการขับเคลื่อนให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ