ข้อมูลพื้นฐาน

๑. ข้อมูลทั่วไป

  ๑.๑ โรงเรียนบ้านเหล่าแขมทองตั้งอยู่ที่บ้านเหล่าแขมทอง หมู่ที่ ๘ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โทร ๐๖๑-๒๓๔๐๒๒๓ โทรสาร  - E-mail  laokham730@outlook.co.th  Website : https://cutly.icu/0jfCy0k

      ๑.๒ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ 

  ๑.๓ มีเขตพื้นที่บริการ  ๔  หมู่บ้าน  ได้แก่

¨    บ้านนาซิง  หมู่ที่  ๔  ตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

¨    บ้านท่าห้วยคำ  หมู่ที่  ๗  ตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

¨    บ้านเหล่าแขมทอง  หมู่ที่  ๘  ตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

¨    บ้านนาซิงศรีสมบูรณ์  หมู่ที่  ๑๐  ตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

 ๒. ประวัติโรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง

         โรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ โดยนายสุธรรม สุถานนท์ นายอำเภอดอนตาล            นายประดู่ สุวรรณไตรย์ หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอดอนตาลและนายจินดา สุกกรรม ศึกษาการอำเภอดอนตาล                 และมีนายนิคม  อินทรพรหมมา รักษาการผู้บริหารโรงเรียนคนแรก 

             โรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง เป็นโรงเรียนเรียนรวมกับโรงเรียนนสยามกลการ ๔ มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๐ ไร่ ๒ งาน ๖๕ ตารางวา และมีอาคารเรียนจำนวน ๓ หลัง โรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง บ้านพักครู จำนวน ๓ หลัง และห้องน้ำ ห้องส้วม จำนวน ๔ หลัง  โรงเรียนสยามกลการ ๔ และโรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง เปิดทำการเรียนการสอนอยู่ ๓ ระดับ คือ ระดับชั้นอนุบาล ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   

๓. ปรัชญาโรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง

  นัตถิ  ปัญญา  สมา   อาภา  

“แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ”

 ๔. คำขวัญโรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอ

เรียนดี   กีฬาเด่น   เน้นวินัย   ใฝ่คุณธรรม

 ๕. วิสัยทัศน์  

    โรงเรียนบ้านเหล่าแขมทอง มุ่งจัดการศึกษาที่สนองกับความต้องการของท้องถิ่น  พัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียน ส่งเสริมคุณลักษณะด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นำพาวิชาการ ก้าวทันเทคโนโลยี น้อมนำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 ๖. พันธกิจ  

 ๑) พัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

๒) ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

๓) ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำโครงงาน และสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และสังคมโลก

๔) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การผลิตสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์

๕) จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม  เป็นพลเมืองดีและรู้ในภาวการณ์ของ       โลก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคุ้มครองผู้บริโภค

๖) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยและตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีของ             นานาชาติ

๗) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล ให้ผู้เรียนเรียนรู้เต็มศักยภาพ

๘) ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองเป็นครูมืออาชีพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

๙) ส่งเสริมให้มีการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องและใช้ผลงานวิจัยยกระดับคุณภาพ

๑๐) พัฒนาระบบการบริหาร การจัดการให้มีมาตรฐาน มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรม

๑๑) พัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ

๑๒) ส่งเสริมจัดการศึกษาเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ

๑๓) ส่งเสริมสืบสานความเป็นไทยยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

 ๗. เป้าประสงค์  

๑) ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการประเมินระดับชาติอยู่ในระดับดีขึ้นไป

๒) ผู้เรียนใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓) ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำโครงงานเสนอแนวคิดเพื่อสาธารณะประโยชน์ร่วมกันกับนักเรียนในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายได้อย่างมีคุณภาพ

๔) ผู้เรียนนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ ผลิตสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่มีประโยชน์อย่างมีคุณภาพ

๕) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม เป็นพลเมืองดีและค่านิยมที่พึงประสงค์  ร้อยละ ๑๐๐

๖) ผู้เรียนมีความตระหนักชื่นชมในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีของนานาชาติ

๗) โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา

๘) โรงเรียนมีครูและบุคลากรมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อนวัตกรรม ICT เพื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ

๙) จัดตั้งกลุ่มงานส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการวิจัย

๑๐) มีระบบบริหารการจัดการและการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ 

๑๑) นำระบบ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการและระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑๒) ผู้เรียนมีความภาคภูมใจในความเป็นไทย ยึดหลักการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 ๘. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

๒) ซื่อสัตย์สุจริต

๓) มีวินัย

๔) ใฝ่เรียนรู้

๕) อยู่อย่างพอเพียง

๖) มุ่งมั่นในการทำงาน

๗) รักความเป็นไทย

๘) มีจิตสาธารณะ

 ๙. กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

 กลยุทธ์ที่  ๑  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน      

                      การศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชน

 กลยุทธ์ที่  ๒  ปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณธรรม 

                       น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่  ๓  ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

                      ตามมาตรฐานวิชาชีพและมีวิทยฐานะสูงขึ้น       

กลยุทธ์ที่  ๔  ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการ   

กลยุทธ์ที่  ๕  ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการให้มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่  ๖  ประสานสัมพันธ์ชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนอง

                      กับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

กลยุทธ์ที่  ๗  ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเสริมสร้างบรรยากาศ

                 ภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้