ข้อมูลพื้นฐาน

ปรัชญาของโรงเรียน


การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม


คำขวัญของโรงเรียน


รักสะอาด มารยาทดี มีวินัย ตั้งใจเรียน

พันธกิจของโรงเรียน

ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์พื้นฐานความต้องการและศักยภาพของชุมชนเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องผู้มีส่วนร่วมของโรงเรียนในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนทุก ๆ ด้าน จัดทำปฏิบัติราชการ 4 ปี แผนปฏิบัติราชการประจำปี และดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ตลอดจนกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการศักยภาพพื้นฐานของบุคลากรเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนร่วมของโรงเรียนและผู้เรียน โดยให้สอดคล้องและสนองตอบตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา พัฒนาผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน พัฒนา ปรับปรุง อาคารสถานที่ อาคารประกอบ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการเรียนรู้แก่ผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา พัฒนา ปรับปรุง ผลิตและจัดหาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสม เพียงพอกับความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน จัดกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนโยบายจัดการศึกษาของโรงเรียน

พัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรในโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครู


พัฒนา ปรับปรุงโรงเรียนให้มีคุณภาพ มาตรฐานตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและอาชีพ มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 พัฒนาชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ความพร้อมและมีศักยภาพในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน พัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้สอดคล้องและสนองตอบนโยบายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนองสถานศึกษา พัฒนา ปรับปรุง กระบวนการบริหารและการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนา ปรับปรุง การบริหารงานภารกิจของโรงเรียน ทั้ง 4 แผนงาน คือ แผนงานด้านวิชาการ แผนงานด้านแผนและงบประมาณ แผนงานด้านบริหารบุคคล และแผนงานบริหารทั่วไป ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนา ปรับปรุง ข้อมูล สารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา ให้เหมาะสมเพียงพอกับความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา พัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ เป้าประสงค์ของแผน

ครูผู้สอนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู


โรงเรียนได้รับการพัฒนา ปรับปรุงทุก ๆ ด้านให้มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนร่วมทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อมและมีศักยภาพ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

การจัดการศึกษาของโรงเรียนสอดคล้องและสนองตอบนโยบายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรงเรียนสามารถบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและสามารถควบคุมคุณภาพการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรงเรียนสามารถบริหารงานตามงานภารกิจของโรงเรียนทั้ง 4 แผนงาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียนที่เรียนจบการศึกษาของโรงเรียนทุกคน เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาและอาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคมและประเทศชาติ โรงเรียนสามารถพัฒนา ปรับปรุง ข้อมูล สารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาได้เหมาะสม เพียงพอกับความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา โรงเรียนสามารถพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ และบรรลุเป้าหมายตามนโยบายการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรงเรียนสามารถพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์การจัดการศึกษาของโรงเรียนชลประทานผาแตก


กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนากระบวนการบริหาร จัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Based Management) โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ตลอดจนพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และนิเทศภายในแบบ PDCA

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีจิตสำนึกความมุ่งมั่นมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการพัฒนาการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกวิชาทุกสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และพัฒนาครูและบุคลากรให้สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนการเรียนรู้ การพัฒนาองค์การและการปฏิบัติของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม บรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่ดี สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพนักเรียน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ การประพฤติปฏิบัติดี มีความสุขและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตลอดจนการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคมและประเทศชาติ

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อการเรียนการสอนและการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยนักเรียน ครู ผู้บริหารได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบโดยการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ การสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ เพียงพอกับความต้องการความจำเป็นของนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 9 พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อสนับสนุนด้านวิชาการและส่งเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด

ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา

นโยบายประกันโอกาสทางการศึกษา


เร่งรัดการจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 4-15 ปี ทุกคนได้รับการศึกษาจนจบหลักสูตรอย่างทั่วถึง

1.1 วัตถุประสงค์


เพื่อให้เด็กวัยก่อนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 อนุบาล 2 ในโรงเรียนได้รับการพัฒนาความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อให้เด็กวัยการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนทุกคนได้เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาจนจบหลักสูตร เพื่อให้เด็กที่จบชั้นประถมศึกษาได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนทุกคนจนจบหลักสูตร


1.2 เป้าหมาย


เด็กวัยก่อนประถมศึกษาอายุ 4-5 ปี ทุกคนในเขตบริการของโรงเรียนได้รับการพัฒนาการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา เด็กวัยการศึกษาภาคบังคับในเขตบริการของโรงเรียนทุกคนได้เข้าเรียนรับประถมศึกษาในโรงเรียนจนจบหลักสูตร โดยเฉพาะการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนชั้น ป. 1 ครบ 100 % เด็กที่เรียนจนจบชั้น ป. 6 ของโรงเรียนได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนและเรียนจนจบหลักสูตร


1.3 กลยุทธ์


จัดทำแผนที่เขตบริการของโรงเรียนให้ชัดเจน จัดทำระบบข้อมูลนักเรียนอายุ 3-5 ปี ในเขตบริการของโรงเรียนไว้ล่วงหน้า 5 ปี เพื่อสะดวกต่อโครงการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนและการรับนักเรียนเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1 อนุบาล 2 ชั้น ป. 1- ป. 6 และชั้น ม.1- ม. 3 เร่งรัดการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ตลอดจนการสร้างศรัทธา ความเชื่อมั่นของโรงเรียนต่อผู้ปกครองและชุมชนให้จัดส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนทุกระดับให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ จัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาระดับตำบล เพื่อควบคุมกำกับติดตามนักเรียนให้เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และเรียนจนจบหลักสูตร สนับสนุน ส่งเสริมความร่วมมือคณะกรรมการโรงเรียนผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรของรัฐและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานจัดการศึกษา การติดตาม กำกับ ดูแล ช่วยเหลือให้เด็กในวัยเรียนทุกคนได้เข้าเรียนในทุกระดับการศึกษาและเรียนจนจบหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เช่น การจัดหาทุนการศึกษา อาหารกลางวัน เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องแบบนักเรียน ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดูแลช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ยาเสพติด เด็กที่ถูกทารุณ หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศให้ได้รับการศึกษาในทุกระดับจนจบหลักสูตร นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา เร่งรัดพัฒนานักรเยนและโรงเรียนทุกระดับให้มีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนดและตามเกณฑ์มาตรฐาน

2.1 วัตถุประสงค์


เพื่อให้เด็กก่อนประถมศึกษามีความพร้อมในการเรียนทุก ๆ ด้าน และพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้เด็กประถมศึกษามีคุณภาพการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด ทำให้ผู้ปกครองและชุมชนมีความศรัทธา เชื่อมั่น และจัดส่งนักเรียนเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

เพื่อให้เด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจ

เพื่อลดอัตราการซ้ำชั้นในระดับชั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้

เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขภาพที่ดี มีคุณลักษณะพึงประสงค์ของหลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตลอดจนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

เพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนและพัฒนาโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนด้านการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เช่น การปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้เด็กเป็นสำคัญ การจัดทำแฟ้มสะสมงาน จัดส่งครูเข้ารับการประชุม อบรม การทัศนศึกษาดูงานโรงเรียนและกิจกรรมตัวอย่าง เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน


2.2 เป้าหมาย


นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาทุกคนมีความพร้อมในการเรียนทุก ๆ ด้านและพร้อมที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 3) ทุกคนมีผลสัมฤทธิ์และมีคุณภาพการศึกษาที่ตามหลักสูตรกำหนดและเป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียนทุกระดับการศึกษาและระดับช่วงชั้นเป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาและตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ดี มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ศรัทธา ยอมรับและเชื่อมั่นจากผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น


2.3 กลยุทธ์การบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน


กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนากระบวนการบริหาร จัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Based Management) การกำกับ ติดตาม นิเทศภายใจและการตรวจสอบแบบ P D C A โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน


กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีจิตสำนึกความมุ่งมั่นมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการพัฒนาการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกวิชาทุกกลุ่มประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และพัฒนาครูและบุคลากรให้สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนการเรียนรู้ การพัฒนาองค์การและการปฏิบัติของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม บรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่ดี สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพนักเรียน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ การประพฤติปฏิบัติดี มีความสุขและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตลอดจนการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคมและประเทศชาติ

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อการเรียนการสอนและการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยนักเรียน ครู ผู้บริหารได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบโดยการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ การสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ เพียงพอกับความต้องการความจำเป็นของนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 9 พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อสนับสนุนด้านวิชาการและส่งเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด

นโยบายการประกันประสิทธิภาพการศึกษา

เร่งปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพทั้งการบริหารโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู พัฒนาครูและนักเรียนในโรงเรียน ตลอดจนการปฏิบัติงานตามภารกิจของโรงเรียนทั้ง 4 แผนงาน ให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรรัฐบาลและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.1 วัตถุประสงค์

เพื่อให้โรงเรียนได้รับการพัฒนา ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพทั้งการบริหาร การจัดการเรียนการสอนตลอดจนงานภารกิจของโรงเรียนทั้ง 4 แผนงาน ให้โรงเรียนได้เข้าสู่มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้

3.2 เป้าหมาย

พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนให้มีกระบวนการบริหารที่ชัดเจน เป็นระบบมีการจัดแบ่งสายงานหน้าที่ของบุคลากรที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน และสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จัดการปรับปรุงพัฒนาระบบงานธุรการ ข้อมูล สารสนเทศให้เป็นระบบระเบียบสามารค้นคว้า ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้สะดวกและรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ

พัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนา เข้าใจบทบาทหน้าที่และปฏิบัติงานให้ถูกต้องตรงตามความรู้ความสามารถ มีจรรยาบรรณในอาชีพ รู้จัดใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในงานหน้าที่ของตนเอง


3.3 กลยุทธ์

พัฒนาระบบบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการตรวจสอบควบคุมคุณภาพการบริหารและการจัดการ P D C A พัฒนาโรงเรียน ครู บุคลากรและนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน

พัฒนาระบบงานธุรการ สารบรรณ ข้อมูล สารสนเทศให้เป็นระบบระเบียบตามแบบแผนของทางราชการ จัดให้มีระบบการควบคุม กำกับ ติดตามและนิเทศงานทุก ๆ ด้านตามงานภารกิจของโรงเรียน 4 แผนงาน โดยเฉพาะจุดเน้นที่สำคัญ คือ การนิเทศภายในโรงเรียนจัดให้มีคณะกรรมการควบคุม กำกับ ติดตามและการนิเทศภายใน ให้สามารถนิเทศงานทุก ๆ ด้านอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการนำผลนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นโยบายการประกันความปลอดภัย ดำเนินการคุ้มครองนักเรียนให้ปลอดภัยและได้รับการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างศรัทธา ความเชื่อมั่นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนตลอดจนให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน

4.1 วัตถุประสงค์


เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชนมีความศรัทธาเชื่อมั่นต่อโรงเรียนและครูจัดส่งลูกหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียน

เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน

4.2 เป้าหมาย


นักเรียนในโรงเรียนทุกคนต้องอยู่ในโรงเรียนมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสวยงาม ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ นักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้รับการคุ้มครองสิทธิและปลอดภัยจากการล่วงละเมิดทั้งทางร่างกายและจิตใจ นักเรียนทุกคนได้รับการคุ้มครอง ป้องกันให้ปลอดภัยจากสิ่งเสพติดต่าง ๆ อบายมุข การถูกรังแกหรือทะเลาะวิวาทและสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4.3 กลยุทธ์


จัดโรงเรียนให้มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สวยงาม เอื้อต่อความปลอดภัยโดยให้คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วม การให้สนับสนุนช่วยเหลือในการให้ความรู้ ประสบการณ์ การเฝ้าระวังการป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อมี่ให้มีผลกระทบต่อเด็กทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

คุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน การถูกล่อลวงละเมิดสิทธิทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ควบคุม ปกป้อง คุ้มครอง ป้องกัน ดูแลนักเรียนให้ปลอดภัยจากสิ่งเสพติดต่าง ๆ อบายมุข การทะเลาะวิวาทและสิ่งที่ไม่เหมาะสมโดยให้ชุมชนองค์กรท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนควบคุม ป้องกันและดูแลนักเรียนทั้งภายในและนอกโรงเรียน จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายการดูแลช่วยเหลือนักเรียน