ประวัติโรงเรียน

ชื่อโรงเรียน วัดไผ่สิงห์ ที่ตั้ง เลขที่ ๙๙ หมู่ ๒ ตำบล ไผ่สิงห์ อำเภอ ชุมแสงจังหวัด นครสวรรค์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1โทร……-…….โทรสาร…-…..e-mail…-………website…-………เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน เขตพื้นที่บริการ หมู่

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนวัดไผ่สิงห์(ประชาบูรณะ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๙โดยขุนนุกูลประชากร นายอำเภอชุมแสงเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกคือ นายจรูญ ณรงค์น้อย ต่อมาทางราชการได้ย้ายสับเปลี่ยนครูใหญ่ โดยนายทิม พุ่มบัว นายสุวิทย์ สุวรรณมนตรี นายสงวน อ้นอารีย์ และนายถนอม นาควิจิตร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ตามลำดับ

พ.ศ. ๒๔๙๕ นายทองหล่อ โพธิ์เต็ก มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ดำเนินการจัดทำโต๊ะนักเรียน ๒๕ ชุด โต๊ะครู ๓ ชุด

พ.ศ.๒๕๐๐ สร้างโรงเรียนเอกเทศ โดยซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๒ (ดัดแปลงของจังหวัด) แต่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

พ.ศ. ๒๕๐๐ นายทองหล่อ โพธิ์เต็ก ขอลาออกจากราชการ ทางราชการได้แต่งตั้ง นายบัณฑิตย์ คล้ายแก้ว มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. ๒๕๐๐ นายบัณฑิตย์ คล้ายแก้ว ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดโพธิ์หนองยาว ทางราชการจึงแต่งตั้ง นายสุชล คล้ายแจ้ง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่และได้ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๐๐๒ ซึ่งสร้างไว้ไม่สำเร็จ จนสำเร็จเรียบร้อย และจัดหาอุปกรณ์ กระดานดำ ตู้ใส่เอกสาร โต๊ะม้านั่งนักเรียนอย่างเพียงพอ

พ.ศ. 25๐6 นายบัณฑิตย์ คล้ายแก้ว ขอย้ายไปอยู่โรงเรียนวัดโพธิ์หนองยาว ทางราชการจึงแต่งตั้งให้ นายสุชล คล้ายแจ้ง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ในสมัยนี้ได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านไผ่สิงห์ และสภาตำบลไผ่สิงห์หาเงินซื้อ ไม้ฝา เพดาน บานประตู หน้าต่าง และอุปกรณ์ในการก่อสร้าง จนเสร็จเรียบร้อยดี จึงได้โรงเรียนเอกเทศสมบูรณ์แบบ ๐๐2 (ดัดแปลง) ซึ่งกว้าง 7 เมตร ยาว 27 เมตร ขนาด 3 ห้องเรียนและยังได้จัดทำป้ายชื่อโรงเรียนแบบลวดตาข่าย กระดานดำ 7 แผ่น ตู้ใส่เอกสาร โต๊ะม้านั่งครู และผู้เรียนจนพอเพียง

พ.ศ. 2514 ได้ขออนุญาตทางราชการเปิดเรียนชั้นประถมตอนปลาย ซึ่งขณะนี้เปิดสอนถึงชั้นประถมปีที่ 7 และจัดหาโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน จำนวน ๓๕ ชุด

พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง จากงบประมาณทางราชการ ๒๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๑๖ สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง จากงบประมาณทางราชการ ๒๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ. 2517 ได้ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการศึกษาชาวบ้านไผ่สิงห์ หาเงินได้ ๑๕,๐๐๐ บาท สมทบกับทางราชการ ๒๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๕๕,๐๐๐ บาท สร้างโรงเรียนเอกเทศ แบบ ๐๑๗ ได้สำเร็จและในปีนี้ยังได้ขอเงินจากองค์การสร้างบ้านพักครูอีก หลัง

พ.ศ. 2518 ได้ขอเงินจากองค์การสร้างบ้านพัก หลัง ราคา ๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำเนินการจัดทำป้ายชื่อโรงเรียน เป็นเงิน ๗๐๐ บาท ก่อสร้างส้วมซึม ๓ ที่ ที่สำหรับปัสสาวะ ๕ ที่ เป็นเงิน ๘,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๑ สร้างประตูเหล็กปิดบันไดขึ้นลงอาคารเรียน เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท ต่อเติมอาคารเรียนห้องล่าง ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๕ ขอเงิน ก.ส.ช ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อรื้ออาคารเรียน แบบ ๐๐๒ (ดัดแปลง) เพราะชำรุด มาแปรสภาพเป็นโรงฝึกงานขนาด ๖ x ๑๒ เมตร คิดเป็นมูลค่าหนึ่งแสนบาทเศษ

พ.ศ. ๒๕๒๖ ขอเงินจาก สส. นครสวรรค์ ต่อเติมโรงฝึกงานออกไปอีกให้ยาว ๖ เมตร เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท จึงได้โรงฝึกงานกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร

พ.ศ. ๒๕๒๘ จัดซื้อที่ดินให้โรงเรียน ๑ ไร่ ราคา ๑๘,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๐ นายบุญเรือง โสมพงษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. ๒๕๓๖ นายทวีป วงษ์แก้ว มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่และได้เสียชีวิตลงในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๐และนายไพบูลย์ คมขำ ได้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. ๒๕๔๐ นายประจักษ์ เย็นชื่น มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐

พ.ศ. ๒๕๔๐ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๐ ผู้ใหญ่อำนวย จันทร์ดวง ได้มอบถนนคอนกรีตให้โรงเรียน ซึ่งได้ทำการก่อสร้างด้วยงบประมาณทางราชการแล้วเสร็จ และมอบให้โรงเรียน ใช้ประโยชน์ร่วมกับประชาชน

๑๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ทาสีอาคารเรียน อาคารอเนกประสงค์ตามโครงการปรับปรุงโรงเรียน ให้เป็นปัจจุบันจนแล้วเสร็จ ดำเนินการถมดิน ทำป้ายโรงเรียน ทำสวนหย่อม

๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ นางสาวรัชชดา พิมพ์นพพันธ์โชติ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไผ่สิงห์

๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ปัจจุบันนายเมธี กุลศัตยาภิรมย์ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไผ่สิงห์

มีนาคม ๒๕๖๒ นายโยธิน พรมพิทักษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไผ่สิงห์

๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ปัจจุบันนายเมธี กุลศัตยาภิรมย์ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไผ่สิงห์